พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เส้นทางเบื้องต้นจากภาษาโลก(ภาษาสื่อสาร) สู่ภาษาธรรม(พระพุทธวจนะ)

ระหว่างที่ผู้สนใจเริ่มศึกษาธรรมกำลังพยายามจดจำ “จิต เจตสิก รูป” อยู่นั้น มีอยู่เรื่องหนึ่งที่อยากเล่าให้ฟังก่อนเพื่อจะได้เห็นภาพเบื้องต้นว่าที่เรากำลังจะเดินทางกันจากภาษาโลก(ภาษาสื่อสาร) ไปสู่พระพุทธวจนะ(ภาษาธรรม) นั้นจะเป็นอย่างไร

คนเราไม่ว่าชาติไหนก็มีภาษาสื่อสารของชาติตนเองเช่น คนไทย ใช้ภาษาไทย คนลาวใช้ภาษาลาว คนอังกฤษใช้ภาษาอังกฤษ คนฝรั่งเศษใช้ภาษาฝรั่งเศษ คนอเมริกันใช้ภาษาอังกฤษ คนจีนใช้ภาษาจีน คนรัสเซียใช้ภาษารัสเซีย คนอินเดียใช้ภาษาฮินดี คนพม่าใช้ภาษาพม่า คนสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ กับภาษาจีน ฯลฯ ที่เหลือนึกเอาเองต่อนะ มีอีกตั้งหลายชาติ หลายภาษา เคยสงสัยไหมว่าแล้วจะใช้ภาษาไหนเป็นหลักในการศึกษาธรรมละ? แต่ละชาติก็อาจบอกว่าใช้ภาษาของชาติตัวเองซิ อย่างคนไทยก็พยายามแปลข้อธรรมทุกอย่างให้เป็นภาษาไทย คนจีนก็พยายามแปลข้อธรรมให้เป็นภาษาจีน ฯลฯ แล้วตกลงแต่ละชาติก็จะแปลข้อธรรมต่างๆเป็นภาษาตัวเองหมดเลยหรือ? อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อชาวพุทธชาติต่างๆมาเจอกัน จะคุยกันรู้เรื่องไหมนี่ เข่น โทสะ

ภาษาไทย แปลว่า โกรธ

ภาษาอังกฤษ แปลว่า Angry

ภาษาจีน แปลว่า  

ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า 怒って  

ภาษาฝรั่งเศษ แปลว่า colère

ภาษารัสเซีย แปลว่า сердитый

ภาษาฮินดี แปลว่า नाराज

ฯลฯ

แล้วแต่ละคนใช้ภาษาของชาติตัวเองเมื่อมาเจอกันจะรู้ไหมว่าพูดเรื่องเดียวกันอยู่ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสสำหรับกรณีภาษาที่ใช้ในการศึกษาธรรมใว้ว่าดังนี้ (ต่อไปนี้เป็นคำแปลที่ยังไม่สุขุมคัมภีระตามคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า)

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๙/ ๙๑ มหามกุฏราชวิทยาลัย จุลวรรค ทุติยภาค และอรรถกถา

[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ตถาคตอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม.

                ดังนั้นไม่ว่าแต่ละชาติ แต่ละภาษาจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาสื่อสาร ทุกชาติต้องแปลกลับมาที่ภาษามคธเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่พระพุทธพจน์(ภาษาธรรม) ซึ่งแสดงให้เห็นได้ดังภาพต่อไปนี้




ขั้นตอนเบื้องต้นของการเดินทางจากภาษาโลกเข้าสู่ภาษาธรรม

ขั้นที่ ๑. แปลจากภาษาสื่อสารของแต่ละชาติกลับเข้าสู่ภาษามคธ เช่น

ภาษาไทย โกรธ แปลเป็นภาษามคธว่า โทสะ(มคธอักษรไทย) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาอังกฤษ Angry แปลเป็นภาษามคธว่า Dosa (มคธอักษรอังกฤษ) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาจีน แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรจีน) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาญี่ปุ่น 怒ってแปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรญี่ปุ่น) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาฝรั่งเศษ colère แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรฝรั่งเศษ) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษารัสเซีย сердитый แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรรัสเซีย) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาฮินดี नाराज แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรฮินดี) ออกเสียงว่า โท-สะ

ฯลฯ

ขั้นที่ ๒. จากภาษามคธเดินทางเข้าสู่พระพุทธพจน์

                ภาษามคธที่ออกเสียงว่า “โท-สะ” (“โทสะ” มคธอักษรไทย) เบื้องต้นภาษาธรรมหมายถึง โทสะมูลจิต ๒ ประกอบด้วย

                ๑. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง

๒. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง

ดังนั้นเมื่อชาวพุทธทั้งโลกมาพบกันทุกท่านจะออกเสียง “โท-สะ” ซึ่งภาษาธรรมเบื้องต้นหมายถึง โทสะมูลจิต ๒ เหมือนกัน