เวลาที่พระพุทธเจ้าทรงมาตรัสรู้ พระพุทธเจ้าก็จะมี ๓ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ “วิริยาธิกะ” อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้า “ประเภทวิริยาธิกะ” นี้ กว่าจะมาเป็นพระพุทธเจ้านี้ ใช้เวลา ๘๐ อสงไขย ฉะนั้นต้องสอนตั้งแต่เบื้องต้นไป เรียกว่า พระพุทธเจ้าฝ่าย “วิริยาธิกะ” เริ่มสอนตั้งแต่ “สุคติอเหตุกบุคคล”
ประเภทที่ ๒ พระพุทธเจ้าฝ่าย “สัทธาธิกะ” เริ่มสอนตั้งแต่ “ทวิเหตุกบุคคล”
ประเภทที่ ๓ พระพุทธเจ้าฝ่าย “ปัญญาธิกะ” พระพุทธองค์ของเราอยู่ในฝ่าย “ปัญญาธิกะ” มาสอน “ติเหตุกบุคคล” แล้ว “เรา” จะฟังรู้เรื่องไหม คนในโลกนี้ฟังไม่รู้เรื่อง แล้วเรียนแปลหมด
คนที่เกิดในสมัยพุทธกาลเขาเป็นกลุ่ม “ติเหตุกบุคคล” ฉะนั้น พระพุทธเจ้าที่เรียกว่า “ปัญญาธิกะ” นี้ ไม่ได้สอนบุคคลธรรมดา ไม่เช่นนั้นพระพุทธองค์ไม่ทรงพุทธรำพึงมาเพื่อบอกว่า “ธรรมที่ตถาคตบรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง” เรียกว่า “คัมภีระ” ฉะนั้นเมื่อ “ลึกซึ้ง” แล้วคนธรรมดาย่อมไม่รู้ แค่พระพุทธองค์ปรินิพพานเป็นพันปีล่วงมานี้ จบแล้ว ๒๕๐๐ ปีนี้ ต่างคนต่างนึกว่าตัวเองเป็น “ติเหตุกบุคคล” เพราะ “ติเหตุกบุคคล” มีแต่ “ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔” แล้ว แล้ว ไม่มี “โลภะ” ไม่มี “โทสะ” ไม่มี “โมหะ” ฉะนั้น บุคคลนี้ต้องรู้จัก “จิต” ท่านรู้จัก “จิต” ท่านจึงจะรู้ว่าท่านอยู่ใน กลุ่มติเหตุกบุคคล หรือกลุ่มทวิเหตุกบุคคล หรือกลุ่มสุคติอเหตุกบุคคล
จะเห็นว่า "ติเหตุกบุคคล" มี ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ นี้ ในกลุ่มติเหตุกบุคคล นี้ยังมีกลุ่มที่เรียกว่า “อริยบุคคล” อีก แต่เลยเรียกรวมไปหมด จริงๆ แล้ว
- ประเภทที่เป็น “ติเหตุกบุคคล” ก็จะมี ญาณสัมปยุต(มหากุสล)จิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒
- แล้วก็ “โลกุตตรบุคคล” ถ้าเราจะเรียกอีกอย่างโดยเราตัดออกไปนี้ ก็จะเรียกว่า “โลกุตตรบุคคล” นี้ ก็จะมี มัคคจิต ๒๐ แล้วก็ “ผลจิต ๒๐”
มัคคจิต ๒๐ แยกเป็น โสตาปัตติมัคคจิต ๕ สกิทาคามิมัคคจิต ๕ อนาคามิมัคคจิต ๕ อรหัตตมัคคจิต ๕
ผลจิต ๒๐ แยกเป็น โสตาปัตติผลจิต ๕ สกิทาคามิผลจิต ๕ อนาคามิผลจิต ๕ อรหัตตผลจิต ๕
แต่เวลาเราเอ่ยถึง “พระสูตร” เราเรียกชื่อเดียวย่อๆ ว่า
- โสตาปัตติมัคค ๑
- สกิทาคามิมัคค ๑
- อนาคามิมัคค ๑
- อรหัตตมัคค ๑
อย่างละ ๑ “๑” นี้ย่อมาจาก “๕” คือ “๕” เป็น “พระอภิธรรม” ถ้าเรียกโดยทั่วๆไปเราก็เรียกว่า พระโสตาปัตติมัคค พระสกิทาคามิมัคค พระอนาคามิมัคค พระอรหัตตมัคค มี ๔ แต่ละ ๑ ใน ๔ นี้ย่อมาจาก ๕ ถ้า “๔” นี้เรียกว่า “ผลสำเร็จ”
ผลสำเร็จที่เรียกว่า “สุตตันตะ” หรือ “พระสูตร” ย่อมาจาก ๕ นั่นคือ
- ถ้าพูด “พระโสตาปัตติมัคค” นึกถึง “ฌาน ๕”
- “พระสกิทาคามิมัคค” นึกถึง “ฌาน ๕”
- “พระอนาคามิมัคค” นึกถึง “ฌาน ๕”
- “พระอรหัตตมัค” นึกถึง “ฌาน ๕”
แล้ว “ฌาน ๕”ก็คือ
ปฐมฌาน
ทุติยฌาน
ตติยฌาน
จตุตถฌาน
ปัญจมฌาน
แต่เวลาเราเรียกคนทั่วไปว่า (พระ) โสตาปัตติมัคค (พระ) สกิทาคามิมัคค (พระ) อนาคามิมัคค (พระ) อรหัตตมัคค ทั้ง ๔ นี้ ทั้งหมดที่เรียกว่า “๔” นี้เป็นเรื่องของ “พระสูตร” แต่ “ปรมัตถ” หรือ “พระอภิธรรม” ซ่อนอยู่ข้างใน ถ้าใครเรียกว่า “พระโสตาปัตติมัคค” แล้วไม่รู้จัก “ฌานทั้ง ๕” ท่านจึงอ่าน “พระไตรปิฎก” ไม่เข้าใจ เลยบอกว่า “เวลาเป็นพระโสดาบันไม่ต้องได้ฌาน” เพราะเขาไม่รู้ว่าซ่อนไว้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- พระพุทธเจ้าประเภท วิริยาธิกะ
- พระพุทธเจ้าประเภท สัททาธิกะ
- พระพุทธเจ้าประเภท ปัญญาธิกะ
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑
"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"
๒๕๕๒๐๑๑๗๑๘๐๐๕๐๐๗
"การได้เกิดเป็นมนุษย์ หาได้ยาก การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก พระสัทธัมม หาได้ยากยิ่ง การถึงพร้อมด้วยสัทธา หาได้ยาก การบวช หาได้ยาก การได้ฟังพระสัทธัมม หาได้ยากยิ่ง"
พระพุทธรำพึง
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้
อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”
อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”