พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๘

อุตุสุทธัฏฐกกลาป (อ่านว่า อุ-ตุ-สุ-ทัด-ถะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๑ กลาป ประกอบด้วย รูป ๘ รูป ได้แก่

   - อวินิพโภครูป ๘ ประกอบด้วย
         ปฐวีมหาภูตรูป
         อาโปมหาภูตรูป
         เตโชมหาภูตรูป
         วาโยมหาภูตรูป
         รูปวิสยรูป (อ่านว่า รู-ปะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         คันธวิสยรูป (อ่านว่า คัน-ทะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         รสวิสยรูป (อ่านว่า ระ-สะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         อาหารรูป (อ่านว่า อา-หา-ระ-รูป)

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"