พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาษาที่ใช้ในการสิกขาธรรม

รูปแสดงที่มาของภาษาต่างๆ

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๙/ ๙๑ มหามกุฏราชวิทยาลัย จุลวรรค ทุติยภาค และอรรถกถา
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกัน เข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ตถาคตอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม.

บทความที่เกี่ยวข้อง

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

อนุปัสสนา ๓

อนุปัสสนา ๓ ประกอบด้วย
   ๑. อนิจจานุปัสสนา
   ๒. ทุกขานุปัสสนา
   ๓. อนัตตานุปัสสนา

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

อนุปัสสนาวิโมกข์ ๓

อนุปัสสนาวิโมกข์ ๓ ประกอบด้วย
   ๑. สุญญตานุปัสสนา
   ๒. อนิมิตตานุปัสสนา
   ๓. อัปปณิหิตานุปัสสนา

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

วิโมกข์ ๓

วิโมกข์ ๓ ประกอบด้วย
   ๑. สุญญตวิโมกข์
   ๒. อนิมิตตวิโมกข์
   ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

วิปัสสนาญาณ ๑๐

วิปัสสนาญาณ ๑๐ ประกอบด้วย
   ๑. สัมมสนญาณ
   ๒. อุทยัพพยญาณ
   ๓. ภังคญาณ
   ๔. ภยญาณ
   ๕. อาทีนวญาณ
   ๖. นิพพิทาญาณ
   ๗. มุญจิตุกัมยตาญาณ
   ๘. ปฏิสังขาญาณ
   ๙. สังขารุเปกขาญาณ
   ๑๐. อนุโลมญาณ

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

สามัญลักษณะ ๓

สามัญลักษณะ ๓ ประกอบด้วย
   ๑. อนิจจลักษณะ
   ๒. ทุกขลักษณะ
   ๓. อนัตตลักษณะ

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

วิสุทธิ ๗

วิสุทธิ ๗ ประกอบด้วย
   ๑. สีลวิสุทธิ
   ๒.  จิตตวิสุทธิ
   ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ
   ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ
   ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
   ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
   ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔ ประกอบด้วย
   ๑. ทุกขอริยสัจจ์
   ๒. ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์
   ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจจ์
   ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

ปฏิจจสมุปปาท ๑๒

ปฏิจจสมุปปาท ๑๒ ประกอบด้วย
   ๑. อวิชชา
   ๒. สังขาร
   ๓. วิญญาณ
   ๔. นามรูป
   ๕. สฬายตนะ
   ๖. ผัสสะ
   ๗. เวทนา
   ๘. ตัณหา
   ๙. อุปาทาน
   ๑๐. ภพ
   ๑๑. ชาติ
   ๑๒. ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ)

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

อินทรีย์ ๒๒

อินทรีย์ ๒๒ ประกอบด้วย
   ๑. จักขุนทรีย์
   ๒. โสตินทรีย์
   ๓. ฆานินทรีย์
   ๔. ชิวหินทรีย์
   ๕. กายินทรีย์
   ๖. มนินทรีย์
   ๗. อิตถินทรีย์
   ๘. ปุริสินทรีย์
   ๙. ชีวิตินทรีย์
   ๑๐. สุขินทรีย์
   ๑๑. ทุกขินทรีย์
   ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
   ๑๓. โทมนัสสินทรีย์
   ๑๔. อุเปกขินทรีย์
   ๑๕. สัทธินทรีย์
   ๑๖. วิริยินทรีย์
   ๑๗. สตินทรีย์
   ๑๘. สมาธินทรีย์
   ๑๙. ปัญญินทรีย์
   ๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
   ๒๑. อัญญินทรีย์
   ๒๒. อัญญตาวินทรีย์

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

อายตนะ ๑๒

อายตนะ ๑๒ ประกอบด้วย
   ๑. จักขวายตนะ
   ๒. โสตายตนะ
   ๓. ฆานายตนะ
   ๔. ชิวหายตนะ
   ๕. กายายตนะ
   ๖. มนายตนะ
   ๗. รูปายตนะ
   ๘. สัททายตนะ
   ๙. ฆานายตนะ
   ๑๐. รสายตนะ
   ๑๑. โผฏฐัพพายตนะ
   ๑๒. ธัมมายตนะ

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

ขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ ประกอบด้วย
   ๑. รูปขันธ์
   ๒. เวทนาขันธ์
   ๓. สัญญาขันธ์
   ๔. สังขารขันธ์
   ๕. วิญญาณขันธ์

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิปัสสนา

   เมื่อพูดถึงคำว่า "วิปัสสนา" หากเราเข้าใจว่าหมายถึง ความเห็นแจ้ง, การรู้แจ้ง นั่นเป็นความเข้าใจคำว่า "วิปัสสนา" ในภาษาโลก มิใช่ภาษาธรรม มิใช่คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   ในภาษาธรรมนั้น เบื้องต้นสามารถอธิบายได้ดังนี้


   วิปัสสนา แบ่งออกเป็น ๒ คือ วิปัสสนาภูมิ และวิปัสสนาธรรม
  
   วิปัสสนาภูมิ ประกอบด้วย
      - ขันธ์ ๕ (รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์)
      - อายตนะ ๑๒ (จักขวายตนะ, โสตายตนะ, ฆานายตนะ, ชิวหายตนะ, กายายตนะ, มนายตนะ, รูปายตนะ, สัททายตนะ, ฆานายตนะ, รสายตนะ, โผฏฐัพพายตนะ, ธัมมายตนะ)
      - ธาตุ ๑๘ (จักขุธาตุ, โสตธาตุ, ฆานธาตุ, ชิวหาธาตุ, กายธาตุ, มโนธาตุ, รูปธาตุ, สัททธาตุ, คันธธาตุ, รสธาตุ, โผฏฐัพพธาตุ, ธัมมธาตุ, จักขุวิญญาณธาตุ, โสตวิญญาณธาตุ, ฆานวิญญาณธาตุ, ชิวหาวิญญาณธาตุ, กายวิญญาณธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ)
      - อินทรีย์ ๒๒ (จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์, มนินทรีย์, อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, สุขินทรีย์, ทุกขินทรีย์, โสมนัสสินทรีย์, โทมนัสสินทรีย์, อุเปกขินทรีย์, สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สตินทรีย์, สมาธินทรีย์, ปัญญินทรีย์, อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์, อัญญินทรีย์, อัญญตาวินทรีย์)
      - ปฏิจจสมุปปาท ๑๒ (อวิชชา, สังขาร, วิญญาณ, นามรูป, สฬายตนะ, ผัสสะ, เวทนา, ตัณหา, อุปาทาน, ภพ, ชาติ, ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ))
      - อริยสัจ ๔ (ทุกขอริยสัจจ์, ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์, ทุกขนิโรธอริยสัจจ์, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์)

   วิปัสสนาธรรม ประกอบด้วย
      - วิสุทธิ ๗ (สีลวิสุทธิ, จิตตวิสุทธิ, ทิฏฐิวิสุทธิ, กังขาวิตรณวิสุทธิ, มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ, ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ, ญาณทัสสนวิสุทธิ)
      - สามัญลักษณะ ๓ (อนิจจลักษณะ, ทุกขลักษณะ, อนัตตลักษณะ)
      - อนุปัสสนา ๓ (อนิจจานุปัสสนา, ทุกขานุปัสสนา, อนัตตานุปัสสนา)
      - วิปัสสนาญาณ ๑๐ (สัมมสนญาณ, อุทยัพพยญาณ, ภังคญาณ, ภยญาณ, อาทีนวญาณ, นิพพิทาญาณ, มุญจิตุกัมยตาญาณ, ปฏิสังขาญาณ, สังขารุเปกขาญาณ, อนุโลมญาณ)
      - วิโมกข์ ๓ (สุญญตวิโมกข์, อนิมิตตวิโมกข์, อัปปณิหิตวิโมกข์)
      - อนุปัสสนาวิโมกข์ ๓ (สุญญตานุปัสสนา, อนิมิตตานุปัสสนา, อัปปณิหิตานุปัสสนา)

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๐๐๖๒๓๒๔๐๑๘๐๑๘

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน

   “ใจของเรา” นั้น ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงว่า “มโนปุพพังคมาธัมมา มโนเสฏฐา มโนมายา” ตรงกับภาษาโลกว่า “จิต” เป็นใหญ่ “จิต” เป็นประธาน “จิต” เป็นหัวหน้า เราก็ไม่รู้ว่า “จิตอะไร” เป็นใหญ่ “จิตอะไร” เป็นประธาน “จิตอะไร” เป็นหัวหน้า ไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้ว่า อะไรเป็นใหญ่จริง ๆ อะไรเป็นประธานจริงๆ เราก็ “แปล” คือ “จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน จิตเป็นหัวหน้า” เราก็รู้แค่นั้น แต่เราไม่รู้ว่า จิตคืออะไร จิตเป็นใหญ่คืออะไร

   ถ้าเราไม่รู้จัก “จิต ๑๒๑” เราก็ไม่รู้จัก “ความเป็นใหญ่” เพราะ “จิตแต่ละจิต” เขาใหญ่ทุกจิตเลย เรียกว่า “จิตเป็นใหญ่”

   - “โลภะ ๘ จิต” ทุกจิตใน ๘ นี้ “ใหญ่” ทั้งสิ้น

   - “โทสะ ๒ จิต” เท่านั้น แต่ ๒ จิตก็ใหญ่ที่สุด ก็ใหญ่ของ ๒ จิต แต่อย่ามาใหญ่กับ “โลภะ” “โลภะ” เขาไม่ยอม ฉะนั้น “โทสะ” ใหญ่ก็ใหญ่ไป

   - “โมหะ” มีอยู่แค่ ๒ จิต ก็ใหญ่อีก แต่ใหญ่เฉพาะ “โมหะ” เขา “โทสะ” เขาก็บอกเขาก็ใหญ่ “โลภะ” เขาก็ใหญ่ นี่เรียกว่า จิตเป็นประธาน จิตเป็นหัวหน้า

   - ถ้าเป็น “อเหตุกจิต ๑๘” เขาก็บอกว่า “จิต” ของเขานี้เป็น “อเหตุก” ใหญ่ที่สุดแล้ว “ตาเราเห็น” นี้ “ใหญ่” แล้ว เราเห็นอะไรก็เห็น แต่ “โลภะ” ไม่เห็น ไม่เห็นตัวตน แต่เราอยากได้ “เราเห็น” แต่เราไม่เห็น “ตัวโลภะจริง ๆ” เพราะมันคำสั่งออกมาจากภายใน แต่เรามองไม่เห็น

   ฉะนั้น “โลภะ” ก็ใหญ่ “โทสะ” ก็ใหญ่ “โมหะ” ก็ใหญ่ “อเหตุก ทั้ง ๑๘” ก็ใหญ่อีก บังเอิญใน “อเหตุก ๑๘” เห็นอยู่แค่ ๕ อย่างที่ใหญ่ก็คือ เห็น ทางตา ทางหู นี้คือทาง จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท อย่างนี้เรารู้กันหมดเลย เราก็รู้ว่านี่คือใหญ่ที่สุด

   แต่ที่ใหญ่กว่า แต่ต่างก็ไม่ยอม ต้องใหญ่ เพราะ “จิตแต่ละจิต” เขาใหญ่ เขาจึงเป็น “ประธาน” แล้วก็เป็น “หัวหน้า” ด้วย

   จากนั้นมา

      - “จิต” ประเภท “กามาวจรโสภณจิต” อีก ๒๔ เขาก็ใหญ่

      - “รูปาวจรจิต” อีก ๑๕ ก็ใหญ่อีก

      - “อรูปวจรจิต” อีก ๑๒ ก็ใหญ่อีก

      - แล้ว “โลกุตตรจิต ๔๐” ก็ใหญ่อีก

   จะเห็นว่า “จิตแต่ละจิต” นั้น เรียกว่า “จิตเป็นประธาน”

   แล้ว “เจตสิก” อีก “เจตสิก” นี้เขาประเภทที่ว่า เข้าไหนเข้าด้วย “เจตสิกแต่ละเจตสิก” เขาก็ “ใหญ่” อีก เพราะเขาเป็นตัวเชื่อมโยงไป นำเรื่องราวมาไว้ที่ “จิต” ฉะนั้น ถ้า “เจตสิก” ไม่ร่วมมือกับ “จิต” รับรอง “จิต” นั้นต้องเฉา ฉะนั้น ถ้า “เจตสิก” ปฏิเสธกับสิ่งนี้ คือ

   - อย่างสมมุติว่า “เจตสิก ฝ่ายกุสล” นี้ เขาก็ปฏิเสธ “เจตสิกอกุสล” เขาไม่ใช่มาร่วมแรงร่วมใจ

   - แล้วพอ “เจตสิกอกุสล” เขาทำงาน “เจตสิกฝ่ายกุสล” เขาก็เฉาไป พวก “อกุสล” นี้ก็จะเจริญรุ่งเรือง

   - ฉะนั้น “เจตสิก” ที่ เป็น “กุสล” ก็ดี เป็น “อกุสล” ก็ดี หรือเป็น “ไม่เข้าข้างไหนออกข้างไหน” คือเข้าได้ทุกอย่าง ที่เรียกว่า “อัญญสมานเจตสิก ๑๓” ฉะนั้น “อัญญสมานเจตสิก ๑๓” นี้ เขาเป็นใหญ่ “แต่ละอย่าง” เป็นใหญ่หมด

   รวมแล้ว “เจตสิก ๕๒” นี้ใหญ่หมดเลย คือ จากนั้น จะมีพวก “โสภณเจตสิก” อีก ๒๕ เขาก็ใหญ่อีก “ทุกเจตสิก”

   เราก็ไม่รู้ว่า อะไรใหญ่กันจริง ๆ เราไม่รู้อะไรเป็นประธาน อะไรเป็นหัวหน้า เราก็แปลสวยๆ ว่า “จิตเต สังกสิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา = เวลา “จิตของเรา” นี้จะไป กุสล อกุสล นี้

   “จิต จะเป็นตัวนำ” ฉะนั้นเวลาที่เราไม่เคยทราบ เราก็ไม่รู้ เพราะ “เรื่องจิต” มีคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงตรัส แต่ “คนยุคนั้นที่มีบุญ” เขาเข้าใจ พอมาถึง “เรา” เราไม่เข้าใจ เรา “เรียนแปล”

   แล้วนอกจาก “เจตสิก เป็นใหญ่” ยังมี “รูป เป็นใหญ่” อีก คือ “รูปเรา” นี้ “เป็นใหญ่” พอ “รูปเป็นใหญ่” นี้ เราจะมอง “จิต” ไม่ออก เพราะเราจะดูแต่ “รูปเรา”

   แล้วพอเป็น “รูปเรา” ใส่ “ชื่อ” เข้าไป ก็เป็น “ของเรา” เราก็ไม่รู้ที่มาที่ไปว่า “เป็น ของเรา” ได้อย่างไร แล้วทำอย่างไรนี้ จึงจะรอด เราจึงจะอายุยืนยาวมากที่สุด นี่ก็คือ เรื่องที่จะทำอย่างไรให้ “รูปนี้ยืนยาว” แล้วก็อยู่ใน “วัยเยาว์” ด้วย ก็คือ ทำอย่างไรไม่ให้แก่ เราก็จะต้องไปหายานานาชนิด เรียกว่า ชะลอความแก่ “อย่างไรก็แก่” เพราะเขาไม่รู้ว่า “ตัวแก่จริง ๆ” อยู่ที่ไหน เราก็ไม่เคยมองเห็น เราดูกระจกทุกวันนี้ เราก็จะเห็นว่าเหมือนเดิม เหมือนเดิม แต่ดูไป ดูไป นี้ มันก็ค่อย ๆ “เอ้อ ! ชรา” เราก็ไม่รู้ที่มาที่ไปอีกว่า เพราะอะไร ฉะนั้น พอเกิดมาแล้วนี้ เราจึงต้องพึ่งพาอาศัย “ยา” ฉะนั้น “คน” ก็ขวนขวายกันมากเลย ยิ่งมีอำนาจ มีกำลังเท่าไร นี้ ก็แสวงหาสิ่งที่จำเป็น “ยาชะลอความแก่ได้” นี้ ฉะนั้นผู้ที่หาหนักหนานี้ก็คือ “ฮ่องเต้จีน” ของจีนนี้จะหาแต่ “ยา” ทั้งนั้นเลย หายาอายุวัฒนะทั้งหมดเลย ฉะนั้นเวลาเขาบอกยาอายุวัฒนะว่า กินมันสมองลิง ก็ต้องไปหามันสมองลิงมากิน ถ้าบอกว่า กินอุ้งตีนหมี ก็ต้องกินอุ้งตีนหมี คือสารพัดไปหมดเลย ทั้งหมดนั้นเพื่อ “อายุวัฒนะ” เพื่อให้อายุยืนยาว แล้วในที่สุดก็ไม่รู้ตามความเป็นจริง เราก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นใหญ่

   พระพุทธองค์ไม่ได้บอกว่า “รูป” เป็นหัวหน้า “รูป” เป็นใหญ่ “รูป” เป็นประธาน “ไม่มีเลย” มีแต่ “จิต” เป็น หัวหน้า “จิต” เป็น ประธาน “จิต” เป็น ใหญ่ ไม่บอก “รูป” เลย เพราะพระพุทธองค์ก็ทรงเห็นแล้วเมื่อ “รูปเรา” นี้ เดี๋ยวก็ “แก่” ก็ “ตาย” มันง่าย ๆ สอนอย่างนี้ ใครก็สอนได้ ไม่รู้จริงๆเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑
- เจตสิก ๕๒
รูป ๒๘

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๐๐๖๒๓๒๔๐๓๑๐๓๔

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่เรารู้ และเข้าใจ ถูกแล้วหรือ?


   เราคิด เราพูด “เป็น รูป” ทั้งหมด “การเดินของเรา” ก็ “เป็นรูป” หมด ไม่ใช่ “ไปสู่ระบบของจิต” เลย

   เมื่อไม่เข้าสู่ “ระบบของจิต” เราก็ไม่รู้จัก “จิต” เลย เพราะเหตุที่ “เราไม่รู้คำสอนพระพุทธองค์” ฉะนั้นเราก็ “รู้ผิด จากคำสอนพระพุทธเจ้า” (นี่แค่เบื้องต้น) แต่ “เรารู้ถูกตามถูกของเรา” แต่ “ผิดของพระพุทธเจ้า” พอเอา “ธรรมะของเรา” ไปเทียบกับ “ของพระพุทธองค์” พระพุทธองค์ก็บอก “นี่ไม่ใช่เลย ที่พูดนั้นไม่ใช่พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น”

   ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ทำให้เรานั้น พอไปอ่านไม่เข้าใจ เราก็อยู่ ในภาค “ความรู้ถูก” ฟังอะไรก็ถูกหมดเลย ใครพูดอย่างไรก็ใช่ ใช่ ใช่ หมดเลย เพราะเรามีพื้นฐานจาก “ความรู้ผิด” ใครจะบอกอะไร ก็ดี ก็เห็นเขาทำดี ไม่เห็นไปอะไรเลย เพราะเราไม่มีพื้นฐานจากคำสอนพระพุทธองค์

   เราไม่มีพื้นฐานจากคำสอนพระพุทธเจ้า ฉะนั้นใครพูดอะไร ถูกหมด ใช้ได้หมด ดีหมดทุกอย่าง ใครไปกล่าวตำหนิ ไปเจอจุดไต้ตำตอของตัวเองเข้า ก็จะโกรธ นี่ “รู้ถูก” อีกแล้ว เวลาเราพูดว่า “นี่ ผิดหมด” พอเราฟังก็ “เขาว่าเราอีกแล้ว” นี่ “เรารู้ถูก” เพราะ “โกรธแล้ว” ถ้าเรารู้ว่า “รู้ผิด” ก็จะไม่โกรธ ก็คือ ถ้าเรารู้ผิดจาก “คำสอนพระพุทธเจ้า” เราก็ “รู้ถูก” ใครว่า “เราโกรธ”, ใครว่า “เราไม่พอใจ”, ใครชม “ดีใจ”, เพราะ “เรารู้ถูก” ใครบอกว่า “ผิด” ก็เดือด เพราะ “เรารู้ถูก”

   ถ้าเรารู้ว่า “ผิด” เราจะไม่โกรธ พอเขาบอกว่า “ผิด” เราก็จะ “เอ้อ! น่าจะผิด” บังเอิญ “เรารู้ถูก” มันก็เลย “ถูกหมด” เรียกว่า “ถูกอารมณ์” ก็คือ
   - “ถูกอารมณ์โกรธ” เข้าไปแล้ว
   - “ถูกอารมณ์โลภ” เข้าไปแล้ว
   - “ถูกอารมณ์หลง” เข้าไปแล้ว

   ฉะนั้น เรามีแต่ “ถูก” อย่างเดียว แล้วถ้าเราไม่ถูก ก็คือ “ไม่ถูกใจเรา” เท่านั้นเอง รู้ถูกเหมือนกันแต่ไม่ถูกใจ เราก็มี “รู้” ของเราอยู่แค่นี้

   แต่ทำไมเราไม่ได้กลับไปหา “พระพุทธองค์” พระพุทธองค์นั้นทรงมอบไว้ให้ “บริษัททั้ง ๔” ถ้าขัดข้องอย่างไร ให้กลับไปหา “พุทธธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า” คือ “ภิกษุ” ก็ไปถาม “ภิกษุณี” ก็ไปถาม “อุบาสก” ก็ไปถาม “อุบาสิกา” ก็ไปถาม แต่ทำไม “รุ่นนี้” ไม่ต้องไปถาม “พระพุทธเจ้า” มันแปลกดี

   พอไปอ่านนิดหน่อย ก็ไม่อยากอ่านแล้ว อยากรู้ไว ฉะนั้น เราก็เป็น “คนรู้ถูก” กันหมดเลย แล้ว “วิเคราะห์” นี้ ไปวิเคราะห์ “พระพุทธเจ้า” แล้วเดี๋ยว “กาลามสูตร” “อย่าไปเชื่อพระพุทธเจ้า” อีกแล้ว

   บางคนอาจบอกว่า “สัตว์เดรัจฉานก็นิพพานได้ คือ ถ้าสัตว์ป่าดุร้าย มาฝึกให้เชื่อง พอฝึกเชื่องแล้วนี้ เรียกว่า สัตว์นิพพาน” นี่ก็เพราะ “คนนี้” รู้ถูก ก็คือ “ถูกของตัวเอง” แต่ “รู้ผิด” จากคำสอนพระพุทธองค์ อย่างนี้ “คิดเอาเอง”

   ฉะนั้น นักวิเคราะห์พระพุทธศาสนาจึงมีเยอะ แล้วเรียนศาสนาเปรียบเทียบบ้าง พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญาบ้าง เราล้วนแต่ “รู้ถูก” ทั้งนั้น แต่ “ผิด” จากคำสอน

   ถ้าอ่าน “วินัย” “ความรู้ที่คิดว่าถูกของเราเอง” จะได้ข้อ “ปาราชิก” หรือ “อวดอุตริ” ทันที

   บางคนอาจบอกว่าอ่านธรรมะ เดี๋ยวเอาธรรมะมาวิเคราะห์ เดี๋ยวไปจำคำสอนพระพุทธเจ้าซะ แล้วก็จะไปติด “เดี๋ยวเกิดอุปาทาน เพราะไปจำคำสอนพระพุทธเจ้า ต้องเกิดจากการรู้จริง ต้องรู้จากการปฏิบัติของเราจริง ๆ เลย” “อย่าไปจำภาษามคธ(บาลี)เลย ภาษามคธ(บาลี)อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ไปท่องทำอะไร อ่านแล้วต้องรู้เรื่อง” ก็เราไม่เคยอ่าน ไม่เคยสิกขาคำสอนพระพุทธองค์ก็เป็นแบบนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง
- พระพุทธรำพึง
- พระพุทธดำรัส
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑
- รูป ๒๘

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๐๐๖๒๓๒๔๐๒๓๐๒๕

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ฌาน

   ถ้าเราพูดถึง “ฌาน” “ฌาน” มี ๖๗ ถ้าภาษาไทย “ฌาน” แปลว่าเพ่ง ถ้าเป็นของพระพุทธองค์เป็น “ฌาน ๖๗” ถ้าเป็นภาษาไทย “ฌาน แปลว่าเพ่ง” เป็นภาษาโลก หรือภาษาสื่อสาร แต่ไม่ใช่ภาษาธรรม

   “ฌาน” ของพระพุทธองค์ “มี ๖๗” แยกออกเป็น รูปฌาน ๑๕ อรูปฌาน ๑๒ โลกุตตรฌาน ๔๐ จะเห็นว่า “โลกุตตร” ต้อง “ได้ฌาน” ถ้า “ไม่ได้ฌาน” ไม่ได้ “โลกุตตร” อยู่ในกลุ่มเดียวกันระหว่าง รูปพรหม อรูปพรหม แล้วก็ “โลกุตตรบุคคล”

   จะเห็นได้ว่า “ฌาน” มีเท่านี้ ฉะนั้น

   - “โสตาปัตติมัคค” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “โสตาปัตติผล” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “สกิทาคามิมัคค” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “สกิทาคามิผล” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “อนาคามิมัคค” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “อนาคามิผล” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “อรหัตตมัคค” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “อรหัตตผล” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   จะเห็นว่าไม่มี “อรูปพรหม” ที่มี
      - อากาสานัญจายตน(อรูปฌาน)
      - วิญญานัญจายตน(อรูปฌาน)
      - อากิญจัญญายตน(อรูปฌาน)
      - เนวสัญญานาสัญญายตน(อรูปฌาน)

   จะเห็นว่าเวลาพูดถึง “ฌาน” ถ้ามีใน “อรูปพรหม” นี้จะต้องเพิ่ม “พระโสดาบัน” ไปอีก แต่นี่มี (แค่) “ปัญจมฌาน” แต่ในขณะเดียวกัน “ปัญจมฌาน” เป็น “ฌานขั้นสุดท้ายของอรูปฌาน” ที่มีองค์ธรรมเหมือนกันกับ “อรูปฌาน” ฉะนั้น “ปัญจมฌาน” = “อรูปฌาน”

   (ฉะนั้น) พอพูดถึง “ปฐมฌาน” นึกถึง ๑๑ ไม่ใช่พูด “ปฐมฌาน” ฌานที่ได้ฌานเป็นแท่งเป็นอะไร ต้องนึกถึง ๑๑ คือ

   - มี “ปฐมฌาน” นี้จะแบ่งเป็น ๓ คือ
      ปฐมฌานกุสล ๑
      ปฐมฌานวิปาก ๑
      ปฐมฌานกิริยา ๑ 

   - แล้วเป็น “โลกุตตร” อีก ๘ ก็คือ
      ปฐมฌานโสตาปัตติมัคค
      ปฐมฌานโสตาปัตติผล
      ปฐมฌานสกิทาคามิมัคค
      ปฐมฌานสกิทาคามิผล
      ปฐมฌานอนาคามิมัคค
      ปฐมฌานอนาคามิผล
      ปฐมฌานอรหัตตมัคค
      ปฐมฌานอรหัตตผล

   ฉะนั้นพอพูดถึง “ปฐมฌาน” ต้องนึกถึง “๑๑” อย่านึก ปฐมฌานเพ่ง ฌานเป็นแท่ง เป็นแท่งใส อะไรอย่างนั้น ไม่ได้ ต้องนึกถึง ๑๑

   เช่นเดียวกันกับ "ทุติยฌาน" ต้องนึกถึง “๑๑” "ตติยฌาน" ต้องนึกถึง “๑๑” "จตุตถฌาน" ต้องนึกถึง “๑๑”

   "ปัญจมฌาน" ต้องนึกถึง ๑๑+๑๒=๒๓ เนื่องจากรวมอรูปฌาน ๑๒ ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๒๐๑๐๐๘๐๑๐

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

ธาตุ ๑๘

ในทางวิทยาศาสตร์ (ภาษาโลก) ธาตุ หมายถึง สารซึ่งประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน มีธาตุที่ค้นพบแล้ว ๑๐๙ ธาตุ เป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติ ๘๙ ธาตุ นอกจากนี้เป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น มีธาตุบางชนิดที่ไม่ค่อยจะทำปฏิกิริยา เช่นทองคำที่เกิดจากธาตุบริสุทธิ์ แต่ธาตุส่วนมากมักเกิดกับรูปสารประกอบกับธาตุอื่นๆ

ตารางธาตุ

ในพระพุทธศาสนา ธาตุ ๑๘ ได้แก่
   ๑. จักขุธาตุ
   ๒. โสตธาตุ
   ๓. ฆานธาตุ
   ๔. ชิวหาธาตุ
   ๕. กายธาตุ
   ๖. มโนธาตุ
   ๗. รูปธาตุ
   ๘. สัททธาตุ
   ๙. คันธธาตุ
   ๑๐. รสธาตุ
   ๑๑. โผฏฐัพพธาตุ
   ๑๒. ธัมมธาตุ
   ๑๓. จักขุวิญญาณธาตุ
   ๑๔. โสตวิญญาณธาตุ
   ๑๕. ฆานวิญญาณธาตุ
   ๑๖. ชิวหาวิญญาณธาตุ
   ๑๗. กายวิญญาณธาตุ
   ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้องแต่งชุดขาว?

   การใส่เสื้อผ้ามาจาก “จิต” เรียกว่า “กายวิญญัติ” ก็คือ

   ๑. “พระพุทธองค์” มีผ้ากาสายะ “กาสายะ” คือ ผ้าไตรจีวร

   และ ๒. บุคคลที่ก่อนจะบวช เรียกว่า ชุดนาค “นาค หรือ นาคะ” แปลว่า ประเสริฐ หรือเรียกว่า “ปัณฑระ” แปลว่า ชุดขาว “ชุดขาว” นี้เตรียมเป็น สามเณร สามเณรี สิกขมานา แล้วก็ภิกษุ(ภิกขุ) ภิกษุณี(ภิกขุณี) นี่จะพัฒนา เตรียมไปสู่ความเป็น สามเณร สามเณรี สิกขมานา ภิกขุ ภิกขุณี และท้ายที่สุดก็คือ อุปาสก อุปาสิกา ก็จะดำรงไว้

   ส่วนมาก “ไปวัด” นี้ สมัยก่อนเรียกว่า เตรียมความพร้อมจากภายในสู่ภายนอกคือ “จิตสั่ง” “จิตสั่ง” ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงชี้ว่า “เป็นนาค” มีใครแต่งชุดดำไปบวชบ้าง เคยเห็นไหม มีชุดดำแล้วบวช แต่เนื่องจาก “จิต” ที่พระพุทธองค์ทรงชี้นี้ ต้องมาจากภายในของเราเองว่า “นี่ชุดขาว” แล้วก็พอถึงเวลา “เราใส่ชุดดำ” เคยเห็นไหมว่า “พระพุทธเจ้าบอก ทรงชุดดำเพื่อไปบวชเป็น สามเณร สามเณรี สิกขมานา” เคยเห็นไหมก็ไม่เคยเห็น เพราะคำสั่งทุกคำสั่งออกมาจาก “จิต” จาก “จิตของเรา” นี้ ที่เรา “แต่งชุดขาว” นี้แสดงว่า จิตที่เป็นกุสล “จิตเชื้อสายพระพุทธเจ้า” นี้ มีอยู่ใน “จิตเรา” จึงแต่งชุดขาว

   ทีนี้ ถ้าเรา “แต่งชุดดำ” มันมีเชื้อสายพระพุทธองค์ไหม “ไม่มี” ฉะนั้นเราแต่งชุดดำได้ไหม ทำไมจะแต่งไม่ได้ เพราะ “ชุดดำ” สั่งมาจาก “จิต” ถ้าจาก “จิต” ต้อง “ชุดดำ” ชุดดำคือชุดแห่งความมืด แล้วเราชอบมืดไหม ก็ไม่ชอบ ความมืดคือความเศร้า

   ฉะนั้น สิ่งที่เราจะทำอะไรขึ้นมานี้ มันจะออกมาจาก “จิตเรา”

   ทีนี้เวลาไปงานศพถ้าไม่ทำตามนี้มันรู้สึกอย่างไรอยู่ เขาแต่งกันชุดดำ แล้วเรามาชุดขาว มันจะเป็นกาขาวหรือไง” ชุดขาวคือกาขาวไหม “ไม่” เพราะกาขาวคือ สัตว์เดรัจฉาน ถ้าเรานึกว่าเราแต่งชุดกาขาว ก็คือ ชุดสัตว์เดรัจฉาน ฉะนั้นเราไม่แต่ง “ชุดกาขาว” แต่เราใช้สีขาว เสื้อขาว “ปัณฑระ” นี้ออกมาจากความสว่างเบิกบานของเราที่บังเกิดขึ้น พอเราแต่งชุดขาว ในนั้นเขา ๑,๐๐๐ คน เขาแต่งดำหมด เหลือเรา ๑ คน อย่างน้อย ๑ คนของเรานี้มาจาก “ปัณฑระ”

   ในต่างประเทศ ในยุโรปหรือที่ไหนๆ เขา “แต่งชุดดำ” ไปงานศพทั้งนั้น เพราะ เขาไม่รู้ธรรม แต่นี่เราเป็นชาวพุทธ เรื่องอะไรไปเลียนแบบเขา เราเลียนแบบต่างชาติ เพิ่งจะมี เมื่อก่อนไม่มี ฝรั่งต่างชาติเขาแต่งชุดดำ ก็เพราะมัน “สั่งจาก จิต” คือ “จิตสั่ง” ไม่ใช่ “เสื้อสั่ง” ทีนี้จิตสั่งว่า “เออ! คนนี้ต้องชุดดำ” สั่ง “ชุดดำ” บอก “ไว้ทุกข์” แสดงว่าคนไป “ทุกข์” คือว่าเพราะเขาไปทุกข์

   คือ ในพระพุทธศาสนานี้ไม่บอกสีเลย สีอะไรก็ได้สำหรับงานศพ ฉะนั้น อย่างของ “พระภิกษุ” ทำไมถึงต้องสีเหลือง สีแก่นขนุน สีกลัก สีพระราชนิยม สีอะไรก็ตาม แต่สีไม่มาก แล้วก็เป็นสีตั้งแต่พุทธกาลมา ที่จริงเวลาพระมหาโพธิสัตว์อยู่ในมหานคร เครื่องทรงอลงกรณ์ เพชรนิลจินดา เต็มไปหมด เพราะว่าเครื่องทรงที่ออกมหาภิเนษกรมณ์ต้องแต่งครบเลย มีทั้งเพชรนิลจินดา เพราะ รวยไม่รู้จะรวยแบบไหนแล้ว

   พระโพธิสัตว์พระมหาสิทธัตถะนี้ ประสูติมาพร้อมกับสมบัติ ๔ ทิศ ฉะนั้น รวยมหาศาล รวยยิ่งกว่ารวย การเสวยนี้ด้วยช้อนทองทั้งนั้น ถ้วยทอง อะไรทอง หมดเลย ในฐานะวงศ์กษัตริย์ แล้วในฐานะต้องติดเป็นจักรพรรดิ คำว่า “จักรพรรดิ์” คือ ต้องสมบูรณ์ที่สุดเลย มีทุกอย่างเลย เครื่องทรง เพชรนิลจินดา มีปราสาท ๓ ฤดู ปราสาททุกอย่าง อุปกรณ์พร้อมหมด เมื่อออกมหาภิเนษกรมณ์ไปอย่างนี้

   ฉะนั้น เวลาคนบวชนาค จะเลียนแบบ ก็คือทำตามพระพุทธองค์ โดยผู้บวชจะแต่งเครื่องทรงหนักอึ้งไปหมด เรียกว่าเศรษฐีจริงๆ พอเข้าพิธีบวชจะสละหมดทีละอย่าง ทีละอย่าง

   พระมหาโพธิสัตว์นี้ พอออกมหาภิเนษกรมณ์ไปถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ที่แต่งทั้งหมดค่อยๆเอาออก เอาออกหมดเลย ว่านี่คืออะไร พอเอาออกจากพระวรกายจะหมดแล้ว ท่านฆฏิการพรหมซึ่งเป็นพระอนาคามี สำเร็จในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ แสดงว่ามี “พระอริยะ” ก่อนที่จะตรัสรู้ มีชั้นสุทธาวาสอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อมีชั้นสุทธาวาสอยู่แล้วนี้ ท่านก็ลงมาพร้อม “ผ้ากาสายะ” แล้วก็ “บาตร” ทำไมไม่เอาชุดอื่นมาให้ ก็เพราะเป็นพุทธประเพณีของพระมหาโพธิสัตว์ เวลาจะออกมหาภิเนษกรมณ์ ต้อง “ท่านฆฏิการพรหม” ชาวบ้านจะมีใครรู้ไหมว่าต้องออก(มหาภิเนษกรมณ์)โดย “ผ้ากาสายะ” ฉะนั้นเวลาที่มา “ฆฏิการพรหม” นี้ท่านทราบ เพราะท่านรู้ว่าตอนที่ท่านจะสำเร็จนี้ ยังเป็น “พระโพธิสัตว์” ปรารถนาพุทธภูมิ แต่ท่านไปคอย ท่านเป็นสหายกับพระมหาสิทธัตถะ ท่านเป็นพระอนาคามีอยู่ข้างบน รู้เลยว่า วันนี้พระมหาโพธิสัตว์จะลงมา เพื่อประกาศความเป็นเอก(อ่านว่า เอ-กะ) เอกราช “เอก” คือเป็นหนึ่งเดียวในโลก

   ฉะนั้น ท่านก็นำ “ผ้าไตรมาพร้อมบาตร” ไม่ได้นำผ้าไตรมาพร้อมกับอาหารใส่ถ้วยทองมา ทั้งหมดนั้น “สละแล้ว” “พระ” จึงจำเป็นต้อง “ฉันในบาตร” พอ “ฉันนอกบาตร” ปั๊บไปเลย ลงนรกหมกไหม้ ฉะนั้นเวลาฉันต้องฉันในบาตร ขนาดเป็น “พระโพธิสัตว์” ยัง “ฉันในบาตร” มีบาตรหนึ่งกับผ้ากาสายะ คือผ้าไตรจีวรนี้ เป็น “ผ้าไตรจีวร” แต่เรียกว่า “ผ้ากาสายะ”

   เสร็จแล้วก็บำเพ็ญมาตั้งแต่นั้นถึง ๖ พรรษา ใน ๖ พรรษานั้น เดี๋ยวก็เป็น “เชน” อีก เพราะสมัยนั้นเชนอวดอ้างว่า “สละกิเลสแล้ว ไม่ต้องสวมใส่เสื้อผ้า” ไม่มีผ้าจีวร เพราะเชนไม่มีผ้าจีวร พระพุทธองค์ตอนบำเพ็ญนั้นก็ไม่สวมเสื้อผ้าเหมือนกัน แต่เอา “ผ้ากาสายะ” เก็บไว้เลย แล้วก็นุ่งลมห่มฟ้าเหมือนกับเชน แล้วทำได้ดีกว่าเชนอีก เชนบางทีนุ่งขาวบ้าง บางเวลานุ่งขาว บางเวลาก็ไม่นุ่ง บางเวลาก็เอาเสื่อคลุมเวลาหนาวขึ้นมา เพราะแถวนั้น สมัยพุทธกาล ที่พุทธคยามีหิมะตก แล้วพวกเชนเอาเสื่อลำแพนมาคลุมตัวป้องกันความหนาว แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็น “พระโพธิสัตว์” นี้ไม่มีอะไรเลย อยู่กลางแจ้งคือถ้าร้อนก็มาอยู่กลางแจ้ง ถ้าหนาวก็จะไปอยู่ในป่า ก็ต้องไปอยู่ในป่าให้มันหนาวถึงที่สุด คือทนทรมานอย่างนั้น

   แล้วเสร็จแล้วก็เป็น “ผ้ากาสายะ” มา เวลาพระภิกษุมา ไม่ได้เอาผ้าอะไรมามีแต่ “ไตรจีวร”

   นั่นแสดงว่า “สัญญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา” ก็คือ ๑. ผ้าไตรจีวร ๒. ผ้าสีขาว นี่แหละ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง “สั่งออกมาจากจิต” ฉะนั้นเวลาที่ “ห่มจีวร” ปุ๊บเป็น “พระอรหันต์” เลย จะเห็นว่า “พระอริยะ” พอท่านเอา “ผ้าจีวร” มาคลี่จะห่มเป็น “พระโสดาบัน” “เรา” ก็ใส่เสื้อดูแล้วดูอีกจะใส่อะไรประดับอีก ก็ “เหตุ” อย่างนี้ที่เรามาเกิดนี้ แล้วเราก็ไม่ทราบว่า “พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร”

   ฉะนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ยึดถือในเรื่องเครื่องแต่งกาย แต่งกายอะไรก็ได้ แต่ว่านี่คือสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ต้อง “ทรงผ้ากาสายะ” “อุบาสก อุบาสิกา” ก็สีขาว เพราะ “เตรียมตัวจะบวช” ฉะนั้น เวลาที่ชฎิลตอนที่เป็นพระกุมาร เมื่อจะไปบวชรักษาสีล ๑๐ ไปวัด ท่านต้อง “สีขาว”

   “ไปงานศพ” นี่คือ “งานกุสล” ฉะนั้น เวลาที่เราไปนี้ดีที่สุด คือ “อเหตุก” นี้เขาสอนเราว่า “เป็นคนหรือเปล่า” คือไปดู “คน” ไม่ว่าจะเป็น คนตาย, คนเป็น คนอยู่, คนแขนขาขาด, คนตาบอด, คนหูหนวก, คนง่อยเปลี้ยเสียขา, ฯลฯ นี้ ถามว่า “เราจะเป็นแบบนี้ไหม แล้วเรานี้ยังเป็นคนอีกไหม เราอยากจะเป็นแบบนั้นไหม” (“คน” นี้ความหมายยังไม่ได้อธิบาย จะอธิบายในโอกาสต่อไป) ฉะนั้น เวลาที่พอมองไปปั๊บนี้เขาสอนเราว่า “เป็นคนหรือเปล่า” เพราะ ทุกอย่าง “สั่งจากจิต”

   - เราใส่เสื้อผ้า ไม่ได้ใส่เสื้อเพราะ “กายต้องการ” แต่ “จิต” เขาต้องการ มิฉะนั้นเราไม่เลือกเสื้อผ้า ในตู้เสื้อผ้าเยอะๆ เปิดตู้มา จับมาวาง จับมาแขวน จับมาแขวน กว่าจะเลือกได้สักตัวหนึ่ง

   - แล้วก็ใส่อัญญมณีทั้งหลาย ก็ไปเลือก เปิดกล่องมา “วันนี้จะใส่สีไหนดี” เลือกไปเลือกมาให้มันเข้ากับเสื้อ

   - รองเท้าก็มากมายเลย เปิดมามีทุกสีเลย แล้วอยากจะใส่ชุดไหน รองเท้าคู่ไหนให้มันเข้ากัน

   - หรือต้องไปซื้อชุดดำเตรียมสำหรับคนตาย ทั้งที่ยังไม่ตาย “สั่งตาย” แล้ว นั่นคือ เวลาที่เราไม่เคยรู้

   เราไปงานศพ ไม่ต้องแต่ง “ชุดขาว” ก็ได้ ยกเว้น “สีดำ” เท่านั้นเอง เราก็เศร้าอยู่แล้ว ไม่ไปก็เศร้าอยู่แล้ว เพราะ “จิตทุกคน” มันดีที่ไหน ถามว่า “ที่ไปนั้น สัญลักษณ์เสื้อนี้ แล้วจะบ่งบอกว่าเสื้อนี่พาคนไปดีได้หรือ” แต่เราไม่เคยศึกษาว่า “การที่เราจะใส่อะไรขึ้นมานี้ สั่งมาจากจิต” แสดงว่า “จิตส่วนดีของเรา” มีแว็บๆๆเป็น “สีขาว” นี้ ก็เลยไปด้วย “ชุดสีขาว”

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑

   "แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๑๐๑๑๙๒๐๐๕๑๐๕๘

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ

เส้นผม

ขน, ผิวหนัง

เล็บ

 
ฟัน

   ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า “นี่ เกสา” จะเห็นว่าพอบอก “เกสา” บรรลุธรรม เพราะ “เกสา” เป็น “พระพุทธเจ้า” เพราะ “พระพุทธเจ้า” ทรงสอน

   ฉะนั้น เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เรายังเข้าใจว่าเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอามานึกเห็นผมหงอก ผมดำ ผมไม่มี ผมหาย ล้วนเป็นภาษาโลกไม่ใช่คำสอนพระพุทธองค์

   ในพระพุทธศาสนา “เกสา” เบื้องต้นมี “รูป ๔๔” โลมา เบื้องต้นมี “รูป ๔๔” นขา เบื้องต้นมี “รูป ๔๔” ทันตา เบื้องต้นมี “รูป ๔๔” ตโจ เบื้องต้นมี “รูป ๔๔”

   “เกสา” มี “รูป ๔๔” แล้วใครมองเห็น “เกสามี (รูป) ๔๔” บ้าง พระพุทธองค์บอกว่า (เกสา) มีรูป ๔๔ “เกสา ๔๔” แล้วเราเห็น “เกสา” แค่ผมดำ ผมขาว ใครจะไปมองออก นักวิทยาศาสตร์ก็มองไม่เห็น นักวิทยาศาสตร์มองไม่เห็นว่า “เกสา” ของเรานี้มีอะไรบ้าง นักวิทยาศาสตร์ก็ค้นได้แค่ DNA (ดี เอ็น เอ) กับ RNA (อาร์ เอ็น เอ) ไปไม่ถึง แต่ “พระพุทธเจ้า” จับผมมาเส้นหนึ่งปรากฏว่า

   - ใน “เกสา ๔๔” มี “กายทสกกลาป ๑๐

   - ใน “เกสา” ยังมี “ภาวทสกกลาป” อีก ๑๐ เป็นเรื่องของ เพศหญิง เพศชาย

   - ใน “ผมเรา” ยังมี “จิตตสุทธัฏฐกกลาป” อีก ๘

   - ใน “เกสา” ยังมี “อุตุสุทธัฏฐกกลาป” อีก ๘

   - ใน “เกสา” ยังมี “อาหารสุทธัฏฐกกลาป” อีก ๘

   ฉะนั้นเราก็เลยไม่รู้ว่ามีอะไรบ้าง ใน ๘ เรายังไม่รู้ พระพุทธเจ้ายังแยกใน ๘ อีก ยังประกอบด้วย ปฐวี อาโป เตโช วาโย รูปวิสยรูป คันธวิสยรูป รสวิสยรูป อาหารรูป ในแต่ละอย่างก็มีเหมือนกันหมดอย่างนี้ ที่เวลาให้ “มูลกรรมฐาน” แล้วพระผู้บวชไม่บรรลุธรรมก็เพราะว่า “เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา” รู้แค่นี้ ก็เป็นเพียงภาษาโลก ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารไม่ใช่สิ่งที่สอนในพระพุทธศาสนา

   เราเข้าใจผิดทุกอย่าง ในทางโลกที่ว่าอะไรใช่ เมื่อไปถึงพระพุทธองค์แล้วนี้ แล้วใครจะแยกได้ว่า “ผม” นี้สร้างมาจาก “จิตในอดีต” จะเห็นว่าไม่มีใครพบได้นอกจาก “พระพุทธองค์” นักวิทยาศาสตร์ค้นไปเถอะ ให้ค้นตายแล้วตายอีก นักวิทยาศาสตร์ ค้นไปถึง RNA, DNA ก็เป็นภาษาโลก ค้นไปค้นมาได้ “อกุสล” เพราะไม่รู้ แล้วใครจะรู้ว่าเส้นผมเส้นหนึ่งประกอบด้วย “รูป ๔๔” นี้ แล้วถ้าทั้งเส้นจะขนาดไหน นี่แค่จุดเดียวจุดที่มองไม่เห็น เรียกว่า “จุดปรมัตถ” นี้ ถ้า “เกสา” เรียกว่า ปกติ หรือ สมมติ คนทั่วโลก ชาวมคธ เรียกว่า “เกสา” ภาษาอังกฤษเรียกว่า hair (อ่านว่า แฮร์) เขาก็รู้แค่ hair ก็ถูกทั้งหมดทุกชาติทุกภาษาที่ “เรียกผม” นี้ ของไทยเรียกว่า “ผม” ฉะนั้น อะไรก็ได้ถ้าเราไม่รู้คำสอนพระพุทธเจ้าก็เหมือนกันหมด ไม่ต้องมาศึกษาพระพุทธศาสนา ทุกคนก็รู้ว่า “เกสา คือ ผม” เหมือนกันหมด

บทความที่เกี่ยวข้อง

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๒๐๑๑๗๑๘๐๔๒๐๔๓

รูป ๔๔

รูป ๔๔ ประกอบด้วย
  
   กายทสกกลาป (อ่านว่า กา-ยะ-ทะ-สะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๑๐

   ภาวทสกกลาป (อ่านว่า พา-วะ-ทะ-สะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๑๐

   จิตตสุทธัฏฐกกลาป (อ่านว่า จิด-ตะ-สุ-ทัด-ถะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๘

   อุตุสุทธัฏฐกกลาป (อ่านว่า อุ-ตุ-สุ-ทัด-ถะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๘

   อาหารสุทธัฏฐกกลาป (อ่านว่า อา-หา-ระ-สุ-ทัด-ทะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๘

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๘

อุตุสุทธัฏฐกกลาป (อ่านว่า อุ-ตุ-สุ-ทัด-ถะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๑ กลาป ประกอบด้วย รูป ๘ รูป ได้แก่

   - อวินิพโภครูป ๘ ประกอบด้วย
         ปฐวีมหาภูตรูป
         อาโปมหาภูตรูป
         เตโชมหาภูตรูป
         วาโยมหาภูตรูป
         รูปวิสยรูป (อ่านว่า รู-ปะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         คันธวิสยรูป (อ่านว่า คัน-ทะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         รสวิสยรูป (อ่านว่า ระ-สะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         อาหารรูป (อ่านว่า อา-หา-ระ-รูป)

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

อาหารสุทธัฏฐกกลาป ๘

อาหารสุทธัฏฐกกลาป (อ่านว่า อา-หา-ระ-สุ-ทัด-ทะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๑ กลาป ประกอบด้วย รูป ๘ รูป ได้แก่

   - อวินิพโภครูป ๘ ประกอบด้วย
         ปฐวีมหาภูตรูป
         อาโปมหาภูตรูป
         เตโชมหาภูตรูป
         วาโยมหาภูตรูป
         รูปวิสยรูป (อ่านว่า รู-ปะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         คันธวิสยรูป (อ่านว่า คัน-ทะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         รสวิสยรูป (อ่านว่า ระ-สะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         อาหารรูป (อ่านว่า อา-หา-ระ-รูป)

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๘

จิตตสุทธัฏฐกกลาป (อ่านว่า จิด-ตะ-สุ-ทัด-ถะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๑ กลาป มี รูป ๘ รูป ประกอบด้วย

   - อวินิพโภครูป ๘ ประกอบด้วย
         ปฐวีมหาภูตรูป
         อาโปมหาภูตรูป
         เตโชมหาภูตรูป
         วาโยมหาภูตรูป
         รูปวิสยรูป (อ่านว่า รู-ปะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         คันธวิสยรูป (อ่านว่า คัน-ทะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         รสวิสยรูป (อ่านว่า ระ-สะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         อาหารรูป (อ่านว่า อา-หา-ระ-รูป)

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

ภาวทสกกลาป ๑๐

ภาวทสกกลาป (อ่านว่า พา-วะ-ทะ-สะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๑ กลาป มี รูป ๑๐ รูป ได้แก่

   - อวินิพโภครูป ๘ ประกอบด้วย
         ปฐวีมหาภูตรูป
         อาโปมหาภูตรูป
         เตโชมหาภูตรูป
         วาโยมหาภูตรูป
         รูปวิสยรูป (อ่านว่า รู-ปะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         คันธวิสยรูป (อ่านว่า คัน-ทะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         รสวิสยรูป (อ่านว่า ระ-สะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         อาหารรูป (อ่านว่า อา-หา-ระ-รูป)

   - ภาวรูป ๑
         อิตถินนภาวรูป
         ปุริสภาวรูป

   - ชีวิตรูป ๑

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

กายทสกกลาป ๑๐

กายทสกกลาป (อ่านว่า กา-ยะ-ทะ-สะ-กะ-กะ-ลา-ปะ) ๑ กลาป มี รูป ๑๐ รูป ได้แก่

   - อวินิพโภครูป ๘ ประกอบด้วย
         ปฐวีมหาภูตรูป
         อาโปมหาภูตรูป
         เตโชมหาภูตรูป
         วาโยมหาภูตรูป
         รูปวิสยรูป (อ่านว่า รู-ปะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         คันธวิสยรูป (อ่านว่า คัน-ทะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         รสวิสยรูป (อ่านว่า ระ-สะ-วิ-สะ-ยะ-รูป)
         อาหารรูป (อ่านว่า อา-หา-ระ-รูป)
  
   - กายปสาทรูป

   - ชีวิตรูป ๑

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ธรรมะ ไม่ใช่ธรรมชาติ

"ธรรมชาติ" ตามภาษาโลกทั่วไป ธรรมชาติ หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทางกายภาพ และกล่าวถึงชีวิตโดยรวม ซึ่งเป็นขอบเขตของการศึกษาตั้งแต่ระดับภายในอะตอมไปจนถึงระดับจักรวาล เช่น เกิด แก่ ตาย หิว กระหาย การเกิดขึ้นของโลก ดวงอาทิตย์ จักรวาลต่างๆ การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ฯลฯ


จักรวาล

โลก

ปรากฏการธรรมชาติ

สิ่งมีชีวิต

เซล

ยีน

อะตอม

เมื่ออธิบายคำว่า "ธรรมชาติ" โดยใช้ ธรรมะที่เกิดจากการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพบว่าธรรมชาติ(ภาษาโลก)ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงความเข้าใจเรื่องเหตุ และผลทางวิทยาศาสตร์ ล้วนแต่จัดว่าเป็น "ผล" ในทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

พระพุทธเจ้าทรงมาตรัสรู้เรื่องเหตุ


   “ธรรมะ” ไม่แปลว่า “ธรรมชาติ” ถ้าใครแปลว่า “ธรรมชาติ” ก็เป็นเพียงการแปลภาษาโลก ไม่ได้เป็นภาษาธรรม

   ในภาษาธรรม เบื้องต้น “ธรรมะ = ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์” “ธรรมะ” แบ่งออกเป็น ๒ เรียกว่า ปรมัตถธรรม และ บัญญัติธรรม

   ถ้าเราแยก “ปรมัตถธรรม” ก็ = “ปรม + อัตถ + ธรรมะ” นี่เป็นภาษาแยกสนธิ สมาส นี้ นั่นคือ “ปรมัตถธรรม” ซึ่งเป็นภาษาโลก แต่เวลาเราศึกษาพระพุทธศาสนา เราก็ต้องมองให้ละเอียด ลึกซึ้ง หากเรายังหาความหมายของคำว่า “ปรมัตถธรรม” ในพระพุทธศาสนาโดยการเปิดพจนานุกรม แปลเมื่อไรก็เป็น “อกุสล” ไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

   แต่ “ปรมัตถธรรม” คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จะเห็นว่าไม่มี “แปล” “ปรมัตถธรรม” ไม่ต้องนึกคำแปลตามภาษาโลกที่ว่า “ปรมัตถธรรม” เป็น ธรรมที่ละเอียด ธรรมที่ลึกซึ้ง ธรรมอะไร แต่ให้รู้ว่า “ปรมัตถธรรม” แยกเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน

   ส่วน “บัญญัติธรรม” เป็น สัทท กับ อัตถ “สัทท” ที่เราแปลว่า “เสียง” นั้น เปล่าเลย เพราะอย่าลืมว่า “ธรรมะ มี ๒ อย่าง” “บัญญัติ” นี้การที่จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ได้นี้เราต้องละอัตตาไปเป็น “บัญญัติ” ก่อน “บัญญัติ” นี้เป็นเรื่องสมมุติ ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีรูป ไม่มีนาม แต่เป็น “บัญญัติ” เป็นไม่มี ลักขณะ ไม่มี รสะ เพราะสุดท้ายของ “บัญญัติ” นี้คือจะหลุดพ้น

   ฉะนั้น “บัญญัติธรรม” มี สัททบัญญัติ และอัตถบัญญัติ อย่าลืมว่า “อัตถ” นี้คือผล และ “สัทท” นี้คือผลก็คือ สัทท, อัตถ นี้ เป็นตัวกำหนดว่าสรรพสิ่งใดๆไม่มีทั้ง สามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ เมื่อไม่มี ทั้งหมดนี้ ก็พร้อมที่จะไปสู่ “มัคค ผล นิพพาน” แล้ว “บัญญัติธรรม” นี้จะไปปรากฏที่ “ฌาน” ไปถึงฌาน “บัญญัติ” จึงจะเกิด ตอนนี้เรา “สมมุติบัญญัติ” เราเรียกเป็น ภาษาไทย แต่ “บัญญัติธรรม” นี้คู่กับ “ปรมัตถธรรม” นี้ไปอยู่ใน จิต เจตสิก รูป นี้ แต่เดี๋ยวเราจะรู้ว่าไม่มีสิ่งที่มาปรุงแต่งก่อให้เกิดผล เพราะอะไรที่ไม่มีลักษณะที่ปรุงแต่งให้เกิดผล เมื่อนั้นจะเป็น “บัญญัติ” เช่น

   - “ปฐวีกสิณัง” “ปฐวี” เรานึกถึง “นิมิต” นึกถึง “กสิณ” ปฐวี อาโป เตโช วาโย เราดู “กสิณ ๑๐” นี้ “กสิณ ๑๐” เมื่ออยู่ใน “ฌาน” กสิณ ๑๐ นี้จะเป็น “บัญญัติ” ไม่ใช่เป็น “นิมิต” ที่เรามาฝึกกันอยู่นี้ ดูดิน ดูน้ำ ดูลม ดูไฟ เราไม่รู้เลยว่า “กสิณ ทั้ง ๑๐” นี้เป็น “บัญญัติ”

   - “อสุภะ ๑๐” เราก็ไปดูของบูด ของเน่า ซึ่งเราไม่รู้เลยว่านี่คือการละลายพฤติกรรมของเรา ก็เป็น “บัญญัติ” “อสุภะ ๑๐” เราไปดู “อสุภะ” จะเห็นว่า ตายวันแรก วันต่อมา เขียวอืดขึ้น เป็นท่อนๆ เราก็นึกว่าเวลาจะแก้ “กามฉันทะ” ต้องดู “อสุภะ” บังเอิญ “อสุภะ” เป็น “บัญญติ”

   - “อาณาปานสติ” ที่ลมหายใจเข้า-ออกเป็น “บัญญัติ” อีกแล้ว แล้วเราไปดู กำหนดรู้ขึ้นมาอีก ดูลมหายใจเป็นรูป เป็นนาม ขึ้นมาอีก จะเห็นว่าเป็น “บัญญัติ”

   - “กายคตาสติ” การเคลื่อนไหวการอริยปัพพะทางกาย “กายคตาสติ” ก็เป็น “บัญญัติ” อีกแล้ว เป็น “บัญญัติ” ที่ “ไม่มีกาย” มันต้องทำให้สูญสลายไปซึ่งอัตตาตัวตน

   - “พรหมวิหาร ๔” คือ เมตตา กรุณา มุทุตา อุเปกขา ต้องให้เป็น “บัญญัติ”

   รวมแล้ว “บัญญัติ” มี ๒๖ จะเห็นว่า “บัญญัติ” อย่างนี้เป็น ๒๖ แล้ว แล้วส่วนมากอรูปฌาน “อรูปบัญญัติ” ก็จะมีต่อไป ให้เห็นว่าคำว่า “บัญญัติ” จริงๆ ไปอยู่ใน “ระบบฌาน” “กสิณ ๒๐, ๓๐” ที่เขาพูดกันนี้ปรากฏว่าเป็น “บัญญัติ” แต่เรามาเพ่ง “ฌานแปลว่าเพ่ง” ก็เลยไปเพ่งนิมิต ดูอะไรก็เป็น “นิมิต” ไปหมด พอเป็น “นิมิต” ไปเพ่งอะไรทั้งหลายทั้งปวง พอเราเพ่งไปเพ่งมาก็ปรากฏว่าเราเป็น “นิมิต” เป็น “รูป” หมดเลย

   ฉะนั้นเวลาเรามาดูลมหายใจ “อัสสาสะ ปัสสาสะ” กลายว่าเป็น “บัญญัติธรรม” ฉะนั้น คนที่ทำ “กสิณ” ก็คือ “คนได้ฌานแล้ว” ได้ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจมฌานจึงจะทำ “บัญญัติ” ได้ ก็คือสิ่งที่เป็น “รูปาวจรจิต ๑๕” นี้ ฉะนั้นจะทำได้เมื่อ “ได้ฌานแล้ว” พอ “ได้ฌานแล้ว” จึงจะถึง “บัญญัติธรรม” นี่ก็พูดให้ฟังเพราะเดี๋ยวไปอ่านหนังสือจะเจอ “ฌานบัญญัติ” ขึ้นมา แล้วไปเจอ “ฌานบัญญัติ” ไม่รู้ว่า “อะไรบัญญัติ จะเป็นไปได้อย่างไร” ให้รู้ไว้เถอะว่าเมื่อเป็น “บัญญัติ” จะละทำลายแล้วซึ่ง “รูป” จะเห็นว่านี่ “บัญญัติ” ต้อง “ไม่มีรูป” แล้ว วิธีที่จะ “ละลายรูป” ได้ต้องมี “กสิณบัญญัติ” นี้ แล้วจึงจะถึง “นิพพาน” ส่วนมากเราก็ “อยู่ในรูป” ละยาก นี่ให้เห็น ฉะนั้นพอมาดู “บัญญัติธรรม” คุณสมบัติก็มี

   ทีนี้พูดถึง “ปรมัตถธรรม” “ปรมัตถธรรม” เป็น จิต เจตสิก รูป แล้วก็ “นิพพาน” ถ้า ไม่มี “จิต” ไม่มี “เจตสิก” ไม่มี “รูป” ไม่ถึง “นิพพาน” แล้วไม่ใช่ท่องแค่ “จิต” เฉยๆ นั่นคือ เบื้องต้น เบื้องต้น “จิต” ต้องมี “๑๒๑” ฉะนั้น “จิต ๑๒๑” ต้องจำ “เจตสิก ๕๒” ต้องจำ “รูป ๒๘” ก็ต้องจำ ต้องเริ่มรู้ คือเราก็ต้องจำหมดไม่มีใครไม่จำ เรียน ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูกใครไม่จำ เรียน A ถึง Z เรียนแล้วเรียนจำหมด รับ จำ คิด รู้ ต้องรับทุกอย่างรับมาก่อน รับแล้วเริ่มจำ เราเห็นดอกไม้เห็นอะไรก็ตามมีแต่จำทั้งนั้น แล้วบอกว่า “อย่าจำ” คนสอนว่า “อย่าจำ” ก็โกหกแล้ว “อย่าไปจำ อย่าไปติดสมมุติ” ทั้งที่ตัวเองก็ติดสมมุติอยู่ เขายังไม่รู้จัก “สมมุติ” เดี๋ยวจะรู้ “สมมุติ” ในโอกาสต่อไป

   ฉะนั้น “ต้องจำ” รู้แล้ว นี่รู้เบื้องต้น นั่นคือพื้นฐานของ “ปรมัตถธรรม” จะเห็นว่า “ปรมัตถธรรม” ทำให้เราบรรลุธรรมไปถึง “พระพุทธองค์” ถ้าเรามี จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็น “ปรมัตถธรรม” เป็น “ธรรม” เป็น “อภิธรรม” เป็น “ธรรมะ” เป็น “วินัย” เป็น “๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์” แล้วถึง “พระพุทธองค์” เราก็ต้องจำ ไม่จำคำสอนพระพุทธองค์แล้วไปจำอะไร อย่างอื่นเรายังจำ เราก็อย่าไปจำน้อยใจ เสียใจ ใครว่า อย่างนี้ไม่ควรจำแต่จำ พูดอะไรนี้โต้กันไปโต้กันมา จะเห็นว่า “จำ” ไปสร้างภพ เดี๋ยวจะรู้ว่าการพูดไปนี้เป็น “อติมหันตารมณ์” จะสร้าง “อบายภูมิ” ให้

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑
- เจตสิก ๕๒
- รูป ๒๘

   "แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๑๑๐๒๕๒๖๐๑๖๐๑๙

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระพุทธเจ้า ๓ ประเภท

เวลาที่พระพุทธเจ้าทรงมาตรัสรู้ พระพุทธเจ้าก็จะมี ๓ ประเภท คือ

   ประเภทที่ ๑ “วิริยาธิกะ” อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้า “ประเภทวิริยาธิกะ” นี้ กว่าจะมาเป็นพระพุทธเจ้านี้ ใช้เวลา ๘๐ อสงไขย ฉะนั้นต้องสอนตั้งแต่เบื้องต้นไป เรียกว่า พระพุทธเจ้าฝ่าย “วิริยาธิกะ” เริ่มสอนตั้งแต่ “สุคติอเหตุกบุคคล”

   ประเภทที่ ๒ พระพุทธเจ้าฝ่าย “สัทธาธิกะ” เริ่มสอนตั้งแต่ “ทวิเหตุกบุคคล”

   ประเภทที่ ๓ พระพุทธเจ้าฝ่าย “ปัญญาธิกะ” พระพุทธองค์ของเราอยู่ในฝ่าย “ปัญญาธิกะ” มาสอน “ติเหตุกบุคคล” แล้ว “เรา” จะฟังรู้เรื่องไหม คนในโลกนี้ฟังไม่รู้เรื่อง แล้วเรียนแปลหมด

   คนที่เกิดในสมัยพุทธกาลเขาเป็นกลุ่ม “ติเหตุกบุคคล” ฉะนั้น พระพุทธเจ้าที่เรียกว่า “ปัญญาธิกะ” นี้ ไม่ได้สอนบุคคลธรรมดา ไม่เช่นนั้นพระพุทธองค์ไม่ทรงพุทธรำพึงมาเพื่อบอกว่า “ธรรมที่ตถาคตบรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง” เรียกว่า “คัมภีระ” ฉะนั้นเมื่อ “ลึกซึ้ง” แล้วคนธรรมดาย่อมไม่รู้ แค่พระพุทธองค์ปรินิพพานเป็นพันปีล่วงมานี้ จบแล้ว ๒๕๐๐ ปีนี้ ต่างคนต่างนึกว่าตัวเองเป็น “ติเหตุกบุคคล” เพราะ “ติเหตุกบุคคล” มีแต่ “ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔” แล้ว แล้ว ไม่มี “โลภะ” ไม่มี “โทสะ” ไม่มี “โมหะ” ฉะนั้น บุคคลนี้ต้องรู้จัก “จิต” ท่านรู้จัก “จิต” ท่านจึงจะรู้ว่าท่านอยู่ใน กลุ่มติเหตุกบุคคล หรือกลุ่มทวิเหตุกบุคคล หรือกลุ่มสุคติอเหตุกบุคคล

   จะเห็นว่า "ติเหตุกบุคคล" มี ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ นี้ ในกลุ่มติเหตุกบุคคล นี้ยังมีกลุ่มที่เรียกว่า “อริยบุคคล” อีก แต่เลยเรียกรวมไปหมด จริงๆ แล้ว

   - ประเภทที่เป็น “ติเหตุกบุคคล” ก็จะมี ญาณสัมปยุต(มหากุสล)จิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒

   - แล้วก็ “โลกุตตรบุคคล” ถ้าเราจะเรียกอีกอย่างโดยเราตัดออกไปนี้ ก็จะเรียกว่า “โลกุตตรบุคคล” นี้ ก็จะมี มัคคจิต ๒๐ แล้วก็ “ผลจิต ๒๐

      มัคคจิต ๒๐ แยกเป็น โสตาปัตติมัคคจิต ๕ สกิทาคามิมัคคจิต ๕ อนาคามิมัคคจิต ๕ อรหัตตมัคคจิต ๕

      ผลจิต ๒๐ แยกเป็น โสตาปัตติผลจิต ๕ สกิทาคามิผลจิต ๕ อนาคามิผลจิต ๕ อรหัตตผลจิต ๕

   แต่เวลาเราเอ่ยถึง “พระสูตร” เราเรียกชื่อเดียวย่อๆ ว่า
      - โสตาปัตติมัคค ๑
      - สกิทาคามิมัคค ๑
      - อนาคามิมัคค ๑
      - อรหัตตมัคค ๑

   อย่างละ ๑ “๑” นี้ย่อมาจาก “๕” คือ “๕” เป็น “พระอภิธรรม” ถ้าเรียกโดยทั่วๆไปเราก็เรียกว่า พระโสตาปัตติมัคค พระสกิทาคามิมัคค พระอนาคามิมัคค พระอรหัตตมัคค มี ๔ แต่ละ ๑ ใน ๔ นี้ย่อมาจาก ๕ ถ้า “๔” นี้เรียกว่า “ผลสำเร็จ”

   ผลสำเร็จที่เรียกว่า “สุตตันตะ” หรือ “พระสูตร” ย่อมาจาก ๕ นั่นคือ
      - ถ้าพูด “พระโสตาปัตติมัคค” นึกถึง “ฌาน ๕”
      - “พระสกิทาคามิมัคค” นึกถึง “ฌาน ๕” 
      - “พระอนาคามิมัคค” นึกถึง “ฌาน ๕”
      - “พระอรหัตตมัค” นึกถึง “ฌาน ๕”
  
   แล้ว “ฌาน ๕”ก็คือ
      ปฐมฌาน
      ทุติยฌาน
      ตติยฌาน
      จตุตถฌาน
      ปัญจมฌาน

   แต่เวลาเราเรียกคนทั่วไปว่า (พระ) โสตาปัตติมัคค (พระ) สกิทาคามิมัคค (พระ) อนาคามิมัคค (พระ) อรหัตตมัคค ทั้ง ๔ นี้ ทั้งหมดที่เรียกว่า “๔” นี้เป็นเรื่องของ “พระสูตร” แต่ “ปรมัตถ” หรือ “พระอภิธรรม” ซ่อนอยู่ข้างใน ถ้าใครเรียกว่า “พระโสตาปัตติมัคค” แล้วไม่รู้จัก “ฌานทั้ง ๕” ท่านจึงอ่าน “พระไตรปิฎก” ไม่เข้าใจ เลยบอกว่า “เวลาเป็นพระโสดาบันไม่ต้องได้ฌาน” เพราะเขาไม่รู้ว่าซ่อนไว้

บทความที่เกี่ยวข้อง
- พระพุทธเจ้าประเภท วิริยาธิกะ
- พระพุทธเจ้าประเภท สัททาธิกะ
- พระพุทธเจ้าประเภท ปัญญาธิกะ
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๒๐๑๑๗๑๘๐๐๕๐๐๗

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

บัว ๔ เหล่า

   “ทุคติอเหตุกบุคคล” เราก็รู้แล้วว่าบัวใต้น้ำ บัวเป็นอาหารของเต่า ปู ปลา คือบัวที่เป็น “ปทปรม (อ่านว่า ปะ-ทะ-ปะ-ระ-มะ)” นี้ พอนึกถึงบัว “ปทปรม” คนทั่วไปก็ต้องนึกถึง เต่า ปู ปลา เพราะเต่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน ปูก็เป็นสัตว์เดรัจฉาน “เป็นอาหารของเต่า ปู ปลา” ก็คิดแค่นั้น แล้วเราไม่เคยรู้เลยว่า “เต่า ปู ปลา ก็คืออบายภูมิ” ก็คือ “อกุสลจิต ๑๒” นี่เอง จะเห็นว่าถ้าเราสิกขาธรรมเราจึงจะรู้ว่า “เต่า ปู ปลา” ก็คือ “อกุสลจิต ๑๒” นี้ ฉะนั้น เราพูดว่า “บัวใต้น้ำ” หรือเป็นอาหาร เต่า ปู ปลา” ก็เป็นเพียงภาษาโลกเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

   “สุคติอเหตุกบุคคล” เรียกว่า “เนยฺยบุคคล (อ่านว่า เนย-ยะ-บุก-คน)” เราพูดว่า “บัวปริ่มน้ำ” ก็เป็นเพียงภาษาโลกเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

   “ทวิเหตุกบุคคล” เป็น “วิปปจิตัญญู” เราก็เรียกว่า “บัวปริ่มน้ำ” ก็เป็นเพียงภาษาโลกเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

   “อุคฆฏิตัญญู” เป็น “ติเหตุกบุคคล” เราพูดแบบนี้เราก็นึกว่าบัวพ้นน้ำ พอพูด “บัวพ้นน้ำ” เพราะอ่าน “พระสูตร” ว่า “บัวพ้นน้ำ” ก็เป็นเพียงภาษาโลกเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

   ฉะนั้นเราไม่เคยรู้ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เราไม่เคยรู้เราก็แปล การที่เราเรียนแปลนี้ทำให้เราไม่รู้อะไร

   ทีนี้ - “อุคฆฏิตัญญู” ที่บอก “บัวพ้นน้ำ” ที่พระพุทธองค์ทรงพุทธรำพึง บัวพ้นน้ำนี้เป็นเรื่องของ “ติเหตุกบุคคล”

   - “วิปปจิตัญญู” เป็นเรื่องของ “ทวิเหตุกบุคคล”

   - “เนยฺย” เป็นเรื่องของ “สุคติอเหตุกบุคคล”

   - “ปทปรม” เป็นเรื่องของ “ทุคติอเหตุกบุคคล”


   เป็นกลุ่มอย่างนี้ ฉะนั้นเวลาที่เราจัดลำดับของเรานี้ เราทุกคนเกิดมา ทุกท่านคงคิดว่าออกว่าเราอยู่ในกลุ่มไหน มีใครรู้เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” บ้าง เมื่อไม่รู้แล้วนี้ ต้องจัดอยู่ในกลุ่ม “สุคติ อเหตุกบุคคล” อยู่ในกลุ่ม “เนยฺย” เพราะเราเป็น “คน” ถ้าเป็น เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก ต้องเป็น “ปทปรม”

บทความที่เกี่ยวข้อง

   "แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๒๐๑๑๗๑๘๐๔๐๕

ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔

ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔ ได้แก่จิตที่อยู่ใน กามาวจรมหากุสลจิต ๘ ในส่วนที่เป็น ญาณะสัมปะยุต ซึ่งมีทั้งหมด ๔ จิต ได้แก่

๑. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๒. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๔. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๕. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๘. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง

บทความพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
- กามาวจรโสภณจิต ๒๔

ญาณวิปปยุตมหากุสลจิต ๔

ญาณวิปปยุตมหากุสลจิต ๔ ได้แก่จิตที่อยู่ใน กามาวจรมหากุสลจิต ๘ ในส่วนที่เป็น ญาณะวิปปะยุต ซึ่งมีทั้งหมด ๔ จิต ได้แก่

๑. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๒. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๔. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๕. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
๘. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง

บทความพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
   - กามาวจรโสภณจิต ๒๔

สัตว ๓๑ ภูมิ (สัตตะวะ ๓๑ ภูมิ)

   การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ 
   
   ลำดับขั้นสูง (อังกฤษ:Major Taxa) หมายถึง ลำดับขั้นที่พิจารณาได้จากลักษณะของสิ่งมีชีวิตโดยสังเขป สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นสูงเดียวกัน มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกันหรือมีลักษณะร่วมกันอย่างกว้างขวาง ลำดับดับขั้นสูงที่เล็กลงมาแสดงความคล้ายคลึงกัน หรือมีลักษณะร่วมกันแคบลงมาตามลำดับ ลำดับขั้นสูงทั้งหมดสามารถจัดเรียงลำดับ จากลำดับขั้นที่สูงที่สุดลงมาได้

   ลำดับขั้นต่ำ (อังกฤษ:Minor Taxa) หมายถึง ลำดับขั้นที่สิ่งมีชีวิตแสดงความคล้ายคลึงกันมากขึ้น หรือมีลักษณะร่วมกัน แคบลงมากกว่าลำดับขั้นสูง นับเป็นลำดับขั้นที่สำคัญมากและใช้สำหรับชื่อทั่วไปของสิ่งมีชีวิต นักจัดจำพวกจะทำงานกับลำดับขั้นต่ำมากกว่าลำดับขั้นสูง ลำดับขั้นต่ำทั้งหมดสามารถจัดเรียง ลำดับจากลำดับขั้นที่สูงที่สุดลงมาได้


   ซึ่งการจำแนกชั้นทางชีววิทยานั้นครอบคลุมเพียง "มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน" แต่ใน "พระพุทธศาสนา" นั้น แบ่งสัตว (อ่านว่า สัด-ตะ-วะ) ออกเป็น ๓๑ ภูมิ ตามการทำงานของ "จิต" ได้แก่

            กามภูมิ ๑๑ ประกอบด้วย
                 อบายภูมิ ๔ ได้แก่
                         - นรก
                         - สัตว์เดรัจฉาน
                         - เปรต
                         - อสุรกาย
                 กามสุคติภูมิ ๗ ได้แก่
                        มนุสสภูมิ ๑ ได้แก่
                                - มนุษย์
                        เทวภูมิ ๖ ได้แก่
                                - จาตุมมหาราชิกา
                                - ตาวะติงสา
                                - ยามา
                                - ตุสิตา
                                - นิมมานะระตี
                                - ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี

               รูปพรหมภูมิ ๑๖ ประกอบด้วย
                    ปฐมฌานภูมิ ๓ ได้แก่
                            - ปาริสัชชา
                            - ปะโรหิตา
                            - มหาพรหมมา
                    ทุติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่
                            - ปะริตตาภา
                            - อัปปะมาณาภา
                            - อาภัสรา
                    ตติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่ 
                            - ปะริตตะสุภา
                            - อัปปะมาณะสุภา
                            - สุภะกิณณะหะกา
                     จตุตถฌานภูมิ ๒ ได้แก่
                            - เวหัปผลา
                            - อสัญญสัตตา
                     สุทธาวาสภูมิ ๕ ได้แก่
                            - อวิหา
                            - อะตัปปา
                            - สุทัสสา
                            - สุทัสสี
                            - อะกะนิฏฐะกา

               อรูปพรหมภูมิ ๔ ประกอบด้วย
                            - อากาสานัญจายะตะนะ
                            - วิญญานัญจายะตะนะ
                            - อากิญจัญญายะตะนะ
                            - เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ

                           
   กลุ่มที่เป็น “อปายภูมิ ๔” นี้ ก็จะมี “อกุสลจิต ๑๒” อย่างเดียว เรียกกลุ่มนี้ว่า “ทุคติอเหตุกบุคคล”
           
   “มนุษย์ กับเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา” มี อกุสลจิต ๑๒ สันตีรณอเหตุกกุสลวิปากจิต ๑ (หมายถึง อุเปกขาสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง อยู่ใน อเหตุกกุสลวิปากจิต ๘) รวมแล้ว ๑๓ เรียกว่า “สุคติอเหตุกบุคคล”

   “เทวดาชั้นดาวติงสาจนถึงชั้นปรนิมมิตตวัสสวตี” จะมี โลภะจิต ๘ โทสะจิต ๒ ญาณวิปปยุตมหากุสลจิต ๔ นั่นก็คือเป็นเครื่องบ่งบอกว่า บุคคลที่เป็น “ชั้นตาวติงสา ถึงปรนิมมิตตวัสสวตี” มีจิตรวมแล้ว ๑๔ เรียกว่า “ทวิเหตุกบุคคล”

   ส่วน “พรหม ๑๕ ชั้น” (นี่คิดคร่าวๆ) มี ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ เรียกว่า “ติเหตุกบุคคล”

   “อรูปพรหม ๔” มี ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๓๕ (เว้น โสตาปัตติมัคคจิต ๕) เป็น “ติเหตุกบุคคล”

   ส่วน “อสัญญสัตตาพรหม” มีแต่ “รูป” อย่างเดียว มี จิต เจตสิก แต่ไม่ทำงาน เรียก “อสัญญสัตตาพรหม” ว่า “สุคติอเหตุกบุคคล”
            
   ทั้งหมดนี้ เราจะจัดตัวเราได้ว่าเราอยู่ในกลุ่มไหน ส่วนมากเราจะไม่รู้ เราก็จัดบุคคลอยู่ในกลุ่มอย่างนี้ เราจะได้รู้ว่าเราอยู่กลุ่มไหน

   ถ้าเรายังไม่รู้จัก “ปฏิจจสมุปบาท” นี้ เรายังไม่รู้จัก “ธรรม ๘ ประการ” คือ

              - ยังไม่รู้จัก พระพุทธเจ้า
              - ยังไม่รู้จัก พระธรรม
              - ยังไม่รู้จัก พระสงฆ์
              - ยังไม่รู้จัก สีล สมาธิ ปัญญา
              - ยังไม่รู้จัก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในอดีต
              - ยังไม่รู้จัก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในอนาคต
              - ยังไม่รู้จัก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งอดีตและอนาคต
              - รวมทั้งยังไม่รู้จัก ปฏิจจสมุปบาท

   นี้ เราก็ยังอยู่ขั้น “สุคติอเหตุกบุคคล”

   คนที่อยู่ที่ “ทวิเหตุกบุคคล” จะเห็นว่าสามารถควบคุม “โมหะจิต” ได้ ส่วน “สุคติอเหตุกบุคคล” จะมี “อกุสลจิต ๑๒” ทั้ง โลภะจิต ๘ โทสะจิต ๒ และโมหะจิต ๒ ที่เรายังฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆยังฟุ้งซ่านไปเรื่องนั้น เรื่องนี้ มีความกระทบกระเทือนในเรื่องต่างๆ เราก็ยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย กลุ่มนี้แหละที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย คือกลุ่มที่เป็นมนุษย์ กับ เทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา

   ส่วนที่เป็น “เทวดาชั้นดาวดึงส์ถึง ปรนิมมิตตวัสสวตี” นี้ กลุ่มนี้รู้เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” แล้ว รู้เรื่อง “อวิชชา” แล้ว จึงสามารถควบคุม “โมหะ” ได้ จึงเหลือเป็นประเภท “ทวิเหตุกบุคคล”

   ส่วน “พรหม” นั้นจะมี ญาณสัมปยุตตมหากุสลจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ คือมี “อริยบุคคล” อยู่ในนี้

   จะเห็นว่า ไม่มี “อริยบุคคล” อยู่ใน มนุษย์ กับ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา นี้ไม่มีเป็น “สุคติอเหตุกบุคคล” เดี๋ยวจะมีคนถามว่า “อ้าว! แล้วพระพุทธเจ้าเกิดเป็นมนุษย์ อยู่ที่ไหน” เดี๋ยวจะบอก (ที่บอก) นี่ “มาตรฐานของบุคคล” อย่าง “มาตรฐานอยู่ชั้นดาวดึงส์” นี้ บางคนนึกว่าเราตายแล้วจะไปอยู่ชั้นดาวดึงส์ง่ายๆ เรานึกว่าเรานี้สามารถขึ้นชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต คนที่ยังน้อยใจ เสียใจ โกรธ เกลียด อาฆาต พยาบาท จองเวร ฯลฯ อย่างนี้อยู่ใน “กลุ่มอกุสลจิต ๑๒” นี้มีทั้ง “โมหะ(จิต)” เพราะยังไม่สามารถรู้ได้ว่าที่ทำนั้นเป็นอะไร

   ฉะนั้น มนุษย์ และเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา เป็น “สุคติอเหตุกบุคคล”

   ส่วน “เทวดา ชั้นตาวติงสา ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรตี ชั้นปรนิมมิตตวัสสวตี กลุ่มนี้ต้องกำจัด “โมหะจิต” ออกได้แล้ว แสดงว่ากลุ่มนี้สิกขาธรรมคำสอนพระพุทธองค์ จึงจะตัด “โมหะ(จิต)” ได้ ไม่ใช่วันดีคืนดีเราอยากจะตัด เรายังไม่รู้จัก “ปฏิจสมุปบาท” ทั้ง
            
             - ไม่รู้จัก อวิชชา
             - ไม่รู้จัก สังขาร
             - ไม่รู้จัก วิญญาณ
             - ไม่รู้จัก นามรูป
             - ไม่รู้จัก สฬายตนะ
             - ไม่รู้จัก ผัสสะ
             - ไม่รู้จัก เวทนา
             - ไม่รู้จัก ตัณหา
             - ไม่รู้จัก อุปาทาน
             - ไม่รู้จัก ภพ
             - ไม่รู้จัก ชาติ
             - ไม่รู้จัก ชรามรณะ โสกปริเทวะฯ

   ทั้งหมดนี้ รับรองเลยในโลกนี้ไม่มีใครรู้เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” เมื่อไม่รู้แล้วคนไม่รู้ก็คิดเอาเอง เดาเอาเอง โดยไม่สิกขา ทำความเข้าใจในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นกลุ่ม(พวก)นี้ก็อยู่ในกลุ่ม(สุคติอเหตุกบุคคล) นี้ แล้วเดี๋ยวจะพัฒนากลับไปสู่ “ทุคติอเหตุกบุคคล” คือ “อบายภูมิ” ใครก็ตามในโลกนี้ เราจะได้รู้ว่าตัวเราอยู่ในฐานะอะไร

บทความพื้นฐานที่ควรอ่าน
   - ภาษาโลก ภาษาธรรม
   - ทำไมต้องจดจำ และเข้าใจ จิต เจตสิก รูป และลักขณาทิจตุกกะ
   - จิต ๑๒๑


   "แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"
  
๒๕๕๒๐๑๑๗๑๘๐๐๑๐๐๔:๒๕๕๓๐๑๓๐๓๑๒๔๑๒๔๑