พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาษาโลก/ ภาษาธรรม


การใช้ภาษาโลก(ภาษาสื่อสาร)ในการแปลข้อธัมมทำให้ไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนา

การใช้ภาษาธัมม(พระพุทธพจน์)ในการทำความเข้าใจในพระพุทธศาสนา และอธิบายความรู้ทางโลก เพื่อไปสู่มัคค ผล นิพพาน

ในการสิกขาในพระพุทธศาสนา ต้องอาศัยความอดทน ไม่เฉพาะชาตินี้ แต่ต้องทนไปตลอด ไม่เหมือนการเรียนทางโลก ไม่กี่ปีก็จบ มีอาชีพการงาน แต่การสิกขาพระพุทธศาสนา อาจต้องใช้เวลาแสนล้านชาติจึงจะบรรลุธรรม เนื่องจากการจะรู้เรื่องพระพุทธศาสนาทำได้ยากเพราะปัจจุบันนี้มีสิ่งชวนเชื่อมากมาย ซึ่งเป็นอันตรายกับเราท่านอย่างยิ่ง ทำให้เราไม่สามารถจะเข้าใจหลักพระพุทธศาสนาได้ โดยเฉพาะต้องรู้จัก “ภาษาโลก ภาษาธรรม” เนื่องจากนำมาใช้จนใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะคนไทย โชคร้ายที่บังเอิญภาษาโลกหลายคำที่นำมาใช้ เป็นคำที่ใช้อยู่ในพระไตรปิฎก ดังนั้น การสิกขาพระพุทธศาสนาต้องคำนึงถึง “ภาษาโลก และภาษาธรรม” ดังต่อไปนี้ อยู่ตลอดเวลา

ภาษาโลก = ภาษาบัญญัติ = ภาษาปุถุชน
(อปายภูมิ)

ภาษาโลก หรือ ภาษาบัญญัติ หรือ ภาษาปุถุชน คือภาษาที่ใช้กันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ แม้ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านก็ใช้ภาษาโลก หรือภาษาปุถุชน

ทุกภาษาในโลก รวมทั้งภาษามคธ ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาปุถุชนทั้งสิ้น เป็นภาษาที่ใช้เป็นความเข้าใจเฉพาะปุถุชน ไม่สามารถนำไปสู่ความลุ่มลึกได้ ทุกภาษาถ้าเป็นเพียง “บัญญัติ” ไม่พาไปอปายภูมิ แต่เนื่องจากใน “บัญญัติ” มี “ปรมัตถ” อยู่ด้วย เช่น เมื่อได้ยินเสียงด่าเรา เสียงที่ได้ยินเป็น “สัทท” และ “อัตถ” ที่เป็น “ปรมัตถ” อยู่ด้วย เราจึงโกรธ โดยแสดงออกทางจิต แล้วออกมาทางกาย จึงพาไป อปายภูมินั่นคือ ถ้าเกิดกระบวนการทำงานของ (อกุสล)จิต (อกุสล)เจตสิก รูป ขึ้นมาเมื่อใด เมื่อนั้นจึงพาไป อปายภูมิ

เมื่อเราได้ยินเสียงเรียกชื่อ “ดอกมะลิ” ไม่เป็นกุสล ไม่เป็น อกุสล แต่ตัวของเขาที่อยู่ที่เราเป็นดอกมะลิ เป็น “อัตถ” ที่เป็น “ปรมัตถ” หรือเมื่อได้ยินเรียกว่า “ปากกา” เสียงที่ได้ยิน ก็ไม่เป็นกุสล ไม่เป็นอกุสล แต่ตัวของเขาที่เป็นปากกา เป็น “อัตถ” ที่เป็น “ปรมัตถ” เป็นต้น

“ภาษาคน” ก็คือ ภาษาที่ใช้ใน ๒๖ ภูมิ (เว้น อสัญญสัตตาพรหม ๑ และอรูปพรหม ๔) ก็คือ “ภาษาปุถุชน” เพราะคนมาจาก บุคคล บุคคล มาจาก สัตต (=สัตว) จะเห็นว่า วัวชนิดเดียวกัน ในประเทศใดใด ก็มีเสียงร้องเหมือนกัน เพราะเป็นวัวชนิดเดียวกัน และนั่นเป็นภาษาของเขา จิ้งหรีดชนิดเดียวกัน ในประเทศใดใด ก็ร้องเสียงเหมือนกันเพราะเป็นจิ้งหรีดชนิดเดียวกัน และนั่นเป็นภาษาของเขา เป็นต้น

ภาษาธรรม = พุทธพจน์
(เป็นผลให้ “ผู้รู้ตาม” บรรลุพระอรหันต์ได้)

ภาษาธรรม หรือ พุทธพจน์ คือ ภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงดำรัส ทรงตรัส หรือทรงเทสนา นับตั้งแต่ ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นธรรมกัณฑ์แรก และเป็นธรรมที่จะทำให้เป็นพระอรหันต์
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ได้ทรงยืมภาษาโลกที่เป็นภาษาปุถุชน ที่ใช้อยู่ในยุคนั้นนำมาใช้ในพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ฉะนั้น ปุถุชน จะตามพระพุทธองค์ได้ ต้องตามตั้งแต่หลักธรรมบัญญัติ โดยตามตั้งแต่ภาษาธรรม นั่นคือ ไม่ใช่หน้าที่เรา แต่เป็นเรื่องของพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เข้าไปในจิตเราเท่านั้น จึงจะพัฒนาจิตเราไปตามหลักธรรมคำสอนได้

ปัจจุบันเราถูกปกปิดหลักธรรมคำสอน โดยกลุ่มที่นำภาษาพุทธพจน์มาเป็นภาษาโลก เราจึงหาทางบรรลุหลุดพ้นไม่ได้ จะเห็นว่าถ้าเราไม่สามารถแยกภาษาโลก ภาษาธรรมได้ การสิกขาพระพุทธศาสนาก็คือความล้มเหลว และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาจิตของเราไม่ก้าวหน้า

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ว่าจะตั้งหัวข้อหนึ่งหัวข้อใดขึ้นมา ต้องเข้าใจว่าในปัจจุบันได้มีการนำหลักพระพุทธศาสนา หรือนำคำสอนของพระพุทธศาสนามาบางส่วน แล้วใส่ความคิดของตนเองเข้าไปแทนฉะนั้นเราจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เช่น จากการอ่านหนังสือก็ดี เราจะต้องทำความเข้าใจ ต้องตรึกให้คัมภีระลึกซึ้งอย่างไรจึงจะเข้าสู่ภาษาธรรม(พุทธพจน์) ได้

ตัวอย่างภาษาโลก ภาษาธรรมเบื้องต้น
        - สติ
        - สมาธิ
        - อารมณ์

บทความที่เกี่ยวข้อง
        - ภาษาที่ใช้ในการสิกขาธรรม

"แม้ ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป เรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"