พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ฌาน

   ถ้าเราพูดถึง “ฌาน” “ฌาน” มี ๖๗ ถ้าภาษาไทย “ฌาน” แปลว่าเพ่ง ถ้าเป็นของพระพุทธองค์เป็น “ฌาน ๖๗” ถ้าเป็นภาษาไทย “ฌาน แปลว่าเพ่ง” เป็นภาษาโลก หรือภาษาสื่อสาร แต่ไม่ใช่ภาษาธรรม

   “ฌาน” ของพระพุทธองค์ “มี ๖๗” แยกออกเป็น รูปฌาน ๑๕ อรูปฌาน ๑๒ โลกุตตรฌาน ๔๐ จะเห็นว่า “โลกุตตร” ต้อง “ได้ฌาน” ถ้า “ไม่ได้ฌาน” ไม่ได้ “โลกุตตร” อยู่ในกลุ่มเดียวกันระหว่าง รูปพรหม อรูปพรหม แล้วก็ “โลกุตตรบุคคล”

   จะเห็นได้ว่า “ฌาน” มีเท่านี้ ฉะนั้น

   - “โสตาปัตติมัคค” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “โสตาปัตติผล” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “สกิทาคามิมัคค” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “สกิทาคามิผล” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “อนาคามิมัคค” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “อนาคามิผล” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “อรหัตตมัคค” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   - “อรหัตตผล” มี “ฌาน ๕” คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน

   จะเห็นว่าไม่มี “อรูปพรหม” ที่มี
      - อากาสานัญจายตน(อรูปฌาน)
      - วิญญานัญจายตน(อรูปฌาน)
      - อากิญจัญญายตน(อรูปฌาน)
      - เนวสัญญานาสัญญายตน(อรูปฌาน)

   จะเห็นว่าเวลาพูดถึง “ฌาน” ถ้ามีใน “อรูปพรหม” นี้จะต้องเพิ่ม “พระโสดาบัน” ไปอีก แต่นี่มี (แค่) “ปัญจมฌาน” แต่ในขณะเดียวกัน “ปัญจมฌาน” เป็น “ฌานขั้นสุดท้ายของอรูปฌาน” ที่มีองค์ธรรมเหมือนกันกับ “อรูปฌาน” ฉะนั้น “ปัญจมฌาน” = “อรูปฌาน”

   (ฉะนั้น) พอพูดถึง “ปฐมฌาน” นึกถึง ๑๑ ไม่ใช่พูด “ปฐมฌาน” ฌานที่ได้ฌานเป็นแท่งเป็นอะไร ต้องนึกถึง ๑๑ คือ

   - มี “ปฐมฌาน” นี้จะแบ่งเป็น ๓ คือ
      ปฐมฌานกุสล ๑
      ปฐมฌานวิปาก ๑
      ปฐมฌานกิริยา ๑ 

   - แล้วเป็น “โลกุตตร” อีก ๘ ก็คือ
      ปฐมฌานโสตาปัตติมัคค
      ปฐมฌานโสตาปัตติผล
      ปฐมฌานสกิทาคามิมัคค
      ปฐมฌานสกิทาคามิผล
      ปฐมฌานอนาคามิมัคค
      ปฐมฌานอนาคามิผล
      ปฐมฌานอรหัตตมัคค
      ปฐมฌานอรหัตตผล

   ฉะนั้นพอพูดถึง “ปฐมฌาน” ต้องนึกถึง “๑๑” อย่านึก ปฐมฌานเพ่ง ฌานเป็นแท่ง เป็นแท่งใส อะไรอย่างนั้น ไม่ได้ ต้องนึกถึง ๑๑

   เช่นเดียวกันกับ "ทุติยฌาน" ต้องนึกถึง “๑๑” "ตติยฌาน" ต้องนึกถึง “๑๑” "จตุตถฌาน" ต้องนึกถึง “๑๑”

   "ปัญจมฌาน" ต้องนึกถึง ๑๑+๑๒=๒๓ เนื่องจากรวมอรูปฌาน ๑๒ ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑

"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๒๐๑๐๐๘๐๑๐