พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

บัว ๔ เหล่า

   “ทุคติอเหตุกบุคคล” เราก็รู้แล้วว่าบัวใต้น้ำ บัวเป็นอาหารของเต่า ปู ปลา คือบัวที่เป็น “ปทปรม (อ่านว่า ปะ-ทะ-ปะ-ระ-มะ)” นี้ พอนึกถึงบัว “ปทปรม” คนทั่วไปก็ต้องนึกถึง เต่า ปู ปลา เพราะเต่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน ปูก็เป็นสัตว์เดรัจฉาน “เป็นอาหารของเต่า ปู ปลา” ก็คิดแค่นั้น แล้วเราไม่เคยรู้เลยว่า “เต่า ปู ปลา ก็คืออบายภูมิ” ก็คือ “อกุสลจิต ๑๒” นี่เอง จะเห็นว่าถ้าเราสิกขาธรรมเราจึงจะรู้ว่า “เต่า ปู ปลา” ก็คือ “อกุสลจิต ๑๒” นี้ ฉะนั้น เราพูดว่า “บัวใต้น้ำ” หรือเป็นอาหาร เต่า ปู ปลา” ก็เป็นเพียงภาษาโลกเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

   “สุคติอเหตุกบุคคล” เรียกว่า “เนยฺยบุคคล (อ่านว่า เนย-ยะ-บุก-คน)” เราพูดว่า “บัวปริ่มน้ำ” ก็เป็นเพียงภาษาโลกเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

   “ทวิเหตุกบุคคล” เป็น “วิปปจิตัญญู” เราก็เรียกว่า “บัวปริ่มน้ำ” ก็เป็นเพียงภาษาโลกเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

   “อุคฆฏิตัญญู” เป็น “ติเหตุกบุคคล” เราพูดแบบนี้เราก็นึกว่าบัวพ้นน้ำ พอพูด “บัวพ้นน้ำ” เพราะอ่าน “พระสูตร” ว่า “บัวพ้นน้ำ” ก็เป็นเพียงภาษาโลกเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

   ฉะนั้นเราไม่เคยรู้ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เราไม่เคยรู้เราก็แปล การที่เราเรียนแปลนี้ทำให้เราไม่รู้อะไร

   ทีนี้ - “อุคฆฏิตัญญู” ที่บอก “บัวพ้นน้ำ” ที่พระพุทธองค์ทรงพุทธรำพึง บัวพ้นน้ำนี้เป็นเรื่องของ “ติเหตุกบุคคล”

   - “วิปปจิตัญญู” เป็นเรื่องของ “ทวิเหตุกบุคคล”

   - “เนยฺย” เป็นเรื่องของ “สุคติอเหตุกบุคคล”

   - “ปทปรม” เป็นเรื่องของ “ทุคติอเหตุกบุคคล”


   เป็นกลุ่มอย่างนี้ ฉะนั้นเวลาที่เราจัดลำดับของเรานี้ เราทุกคนเกิดมา ทุกท่านคงคิดว่าออกว่าเราอยู่ในกลุ่มไหน มีใครรู้เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” บ้าง เมื่อไม่รู้แล้วนี้ ต้องจัดอยู่ในกลุ่ม “สุคติ อเหตุกบุคคล” อยู่ในกลุ่ม “เนยฺย” เพราะเราเป็น “คน” ถ้าเป็น เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก ต้องเป็น “ปทปรม”

บทความที่เกี่ยวข้อง

   "แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๒๐๑๑๗๑๘๐๔๐๕