เมื่อไม่เข้าสู่ “ระบบของจิต” เราก็ไม่รู้จัก “จิต” เลย เพราะเหตุที่ “เราไม่รู้คำสอนพระพุทธองค์” ฉะนั้นเราก็ “รู้ผิด จากคำสอนพระพุทธเจ้า” (นี่แค่เบื้องต้น) แต่ “เรารู้ถูกตามถูกของเรา” แต่ “ผิดของพระพุทธเจ้า” พอเอา “ธรรมะของเรา” ไปเทียบกับ “ของพระพุทธองค์” พระพุทธองค์ก็บอก “นี่ไม่ใช่เลย ที่พูดนั้นไม่ใช่พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น”
ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ทำให้เรานั้น พอไปอ่านไม่เข้าใจ เราก็อยู่ ในภาค “ความรู้ถูก” ฟังอะไรก็ถูกหมดเลย ใครพูดอย่างไรก็ใช่ ใช่ ใช่ หมดเลย เพราะเรามีพื้นฐานจาก “ความรู้ผิด” ใครจะบอกอะไร ก็ดี ก็เห็นเขาทำดี ไม่เห็นไปอะไรเลย เพราะเราไม่มีพื้นฐานจากคำสอนพระพุทธองค์
เราไม่มีพื้นฐานจากคำสอนพระพุทธเจ้า ฉะนั้นใครพูดอะไร ถูกหมด ใช้ได้หมด ดีหมดทุกอย่าง ใครไปกล่าวตำหนิ ไปเจอจุดไต้ตำตอของตัวเองเข้า ก็จะโกรธ นี่ “รู้ถูก” อีกแล้ว เวลาเราพูดว่า “นี่ ผิดหมด” พอเราฟังก็ “เขาว่าเราอีกแล้ว” นี่ “เรารู้ถูก” เพราะ “โกรธแล้ว” ถ้าเรารู้ว่า “รู้ผิด” ก็จะไม่โกรธ ก็คือ ถ้าเรารู้ผิดจาก “คำสอนพระพุทธเจ้า” เราก็ “รู้ถูก” ใครว่า “เราโกรธ”, ใครว่า “เราไม่พอใจ”, ใครชม “ดีใจ”, เพราะ “เรารู้ถูก” ใครบอกว่า “ผิด” ก็เดือด เพราะ “เรารู้ถูก”
ถ้าเรารู้ว่า “ผิด” เราจะไม่โกรธ พอเขาบอกว่า “ผิด” เราก็จะ “เอ้อ! น่าจะผิด” บังเอิญ “เรารู้ถูก” มันก็เลย “ถูกหมด” เรียกว่า “ถูกอารมณ์” ก็คือ
- “ถูกอารมณ์โกรธ” เข้าไปแล้ว
- “ถูกอารมณ์โลภ” เข้าไปแล้ว
- “ถูกอารมณ์หลง” เข้าไปแล้ว
ฉะนั้น เรามีแต่ “ถูก” อย่างเดียว แล้วถ้าเราไม่ถูก ก็คือ “ไม่ถูกใจเรา” เท่านั้นเอง รู้ถูกเหมือนกันแต่ไม่ถูกใจ เราก็มี “รู้” ของเราอยู่แค่นี้
แต่ทำไมเราไม่ได้กลับไปหา “พระพุทธองค์” พระพุทธองค์นั้นทรงมอบไว้ให้ “บริษัททั้ง ๔” ถ้าขัดข้องอย่างไร ให้กลับไปหา “พุทธธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า” คือ “ภิกษุ” ก็ไปถาม “ภิกษุณี” ก็ไปถาม “อุบาสก” ก็ไปถาม “อุบาสิกา” ก็ไปถาม แต่ทำไม “รุ่นนี้” ไม่ต้องไปถาม “พระพุทธเจ้า” มันแปลกดี
พอไปอ่านนิดหน่อย ก็ไม่อยากอ่านแล้ว อยากรู้ไว ฉะนั้น เราก็เป็น “คนรู้ถูก” กันหมดเลย แล้ว “วิเคราะห์” นี้ ไปวิเคราะห์ “พระพุทธเจ้า” แล้วเดี๋ยว “กาลามสูตร” “อย่าไปเชื่อพระพุทธเจ้า” อีกแล้ว
บางคนอาจบอกว่า “สัตว์เดรัจฉานก็นิพพานได้ คือ ถ้าสัตว์ป่าดุร้าย มาฝึกให้เชื่อง พอฝึกเชื่องแล้วนี้ เรียกว่า สัตว์นิพพาน” นี่ก็เพราะ “คนนี้” รู้ถูก ก็คือ “ถูกของตัวเอง” แต่ “รู้ผิด” จากคำสอนพระพุทธองค์ อย่างนี้ “คิดเอาเอง”
ฉะนั้น นักวิเคราะห์พระพุทธศาสนาจึงมีเยอะ แล้วเรียนศาสนาเปรียบเทียบบ้าง พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญาบ้าง เราล้วนแต่ “รู้ถูก” ทั้งนั้น แต่ “ผิด” จากคำสอน
ถ้าอ่าน “วินัย” “ความรู้ที่คิดว่าถูกของเราเอง” จะได้ข้อ “ปาราชิก” หรือ “อวดอุตริ” ทันที
บางคนอาจบอกว่าอ่านธรรมะ เดี๋ยวเอาธรรมะมาวิเคราะห์ เดี๋ยวไปจำคำสอนพระพุทธเจ้าซะ แล้วก็จะไปติด “เดี๋ยวเกิดอุปาทาน เพราะไปจำคำสอนพระพุทธเจ้า ต้องเกิดจากการรู้จริง ต้องรู้จากการปฏิบัติของเราจริง ๆ เลย” “อย่าไปจำภาษามคธ(บาลี)เลย ภาษามคธ(บาลี)อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ไปท่องทำอะไร อ่านแล้วต้องรู้เรื่อง” ก็เราไม่เคยอ่าน ไม่เคยสิกขาคำสอนพระพุทธองค์ก็เป็นแบบนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- พระพุทธรำพึง
- พระพุทธดำรัส
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑
- รูป ๒๘
"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"
๒๕๕๐๐๖๒๓๒๔๐๒๓๐๒๕