พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ธรรมะ ไม่ใช่ธรรมชาติ

"ธรรมชาติ" ตามภาษาโลกทั่วไป ธรรมชาติ หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทางกายภาพ และกล่าวถึงชีวิตโดยรวม ซึ่งเป็นขอบเขตของการศึกษาตั้งแต่ระดับภายในอะตอมไปจนถึงระดับจักรวาล เช่น เกิด แก่ ตาย หิว กระหาย การเกิดขึ้นของโลก ดวงอาทิตย์ จักรวาลต่างๆ การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ฯลฯ


จักรวาล

โลก

ปรากฏการธรรมชาติ

สิ่งมีชีวิต

เซล

ยีน

อะตอม

เมื่ออธิบายคำว่า "ธรรมชาติ" โดยใช้ ธรรมะที่เกิดจากการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพบว่าธรรมชาติ(ภาษาโลก)ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงความเข้าใจเรื่องเหตุ และผลทางวิทยาศาสตร์ ล้วนแต่จัดว่าเป็น "ผล" ในทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

พระพุทธเจ้าทรงมาตรัสรู้เรื่องเหตุ


   “ธรรมะ” ไม่แปลว่า “ธรรมชาติ” ถ้าใครแปลว่า “ธรรมชาติ” ก็เป็นเพียงการแปลภาษาโลก ไม่ได้เป็นภาษาธรรม

   ในภาษาธรรม เบื้องต้น “ธรรมะ = ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์” “ธรรมะ” แบ่งออกเป็น ๒ เรียกว่า ปรมัตถธรรม และ บัญญัติธรรม

   ถ้าเราแยก “ปรมัตถธรรม” ก็ = “ปรม + อัตถ + ธรรมะ” นี่เป็นภาษาแยกสนธิ สมาส นี้ นั่นคือ “ปรมัตถธรรม” ซึ่งเป็นภาษาโลก แต่เวลาเราศึกษาพระพุทธศาสนา เราก็ต้องมองให้ละเอียด ลึกซึ้ง หากเรายังหาความหมายของคำว่า “ปรมัตถธรรม” ในพระพุทธศาสนาโดยการเปิดพจนานุกรม แปลเมื่อไรก็เป็น “อกุสล” ไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

   แต่ “ปรมัตถธรรม” คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จะเห็นว่าไม่มี “แปล” “ปรมัตถธรรม” ไม่ต้องนึกคำแปลตามภาษาโลกที่ว่า “ปรมัตถธรรม” เป็น ธรรมที่ละเอียด ธรรมที่ลึกซึ้ง ธรรมอะไร แต่ให้รู้ว่า “ปรมัตถธรรม” แยกเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน

   ส่วน “บัญญัติธรรม” เป็น สัทท กับ อัตถ “สัทท” ที่เราแปลว่า “เสียง” นั้น เปล่าเลย เพราะอย่าลืมว่า “ธรรมะ มี ๒ อย่าง” “บัญญัติ” นี้การที่จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ได้นี้เราต้องละอัตตาไปเป็น “บัญญัติ” ก่อน “บัญญัติ” นี้เป็นเรื่องสมมุติ ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีรูป ไม่มีนาม แต่เป็น “บัญญัติ” เป็นไม่มี ลักขณะ ไม่มี รสะ เพราะสุดท้ายของ “บัญญัติ” นี้คือจะหลุดพ้น

   ฉะนั้น “บัญญัติธรรม” มี สัททบัญญัติ และอัตถบัญญัติ อย่าลืมว่า “อัตถ” นี้คือผล และ “สัทท” นี้คือผลก็คือ สัทท, อัตถ นี้ เป็นตัวกำหนดว่าสรรพสิ่งใดๆไม่มีทั้ง สามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ เมื่อไม่มี ทั้งหมดนี้ ก็พร้อมที่จะไปสู่ “มัคค ผล นิพพาน” แล้ว “บัญญัติธรรม” นี้จะไปปรากฏที่ “ฌาน” ไปถึงฌาน “บัญญัติ” จึงจะเกิด ตอนนี้เรา “สมมุติบัญญัติ” เราเรียกเป็น ภาษาไทย แต่ “บัญญัติธรรม” นี้คู่กับ “ปรมัตถธรรม” นี้ไปอยู่ใน จิต เจตสิก รูป นี้ แต่เดี๋ยวเราจะรู้ว่าไม่มีสิ่งที่มาปรุงแต่งก่อให้เกิดผล เพราะอะไรที่ไม่มีลักษณะที่ปรุงแต่งให้เกิดผล เมื่อนั้นจะเป็น “บัญญัติ” เช่น

   - “ปฐวีกสิณัง” “ปฐวี” เรานึกถึง “นิมิต” นึกถึง “กสิณ” ปฐวี อาโป เตโช วาโย เราดู “กสิณ ๑๐” นี้ “กสิณ ๑๐” เมื่ออยู่ใน “ฌาน” กสิณ ๑๐ นี้จะเป็น “บัญญัติ” ไม่ใช่เป็น “นิมิต” ที่เรามาฝึกกันอยู่นี้ ดูดิน ดูน้ำ ดูลม ดูไฟ เราไม่รู้เลยว่า “กสิณ ทั้ง ๑๐” นี้เป็น “บัญญัติ”

   - “อสุภะ ๑๐” เราก็ไปดูของบูด ของเน่า ซึ่งเราไม่รู้เลยว่านี่คือการละลายพฤติกรรมของเรา ก็เป็น “บัญญัติ” “อสุภะ ๑๐” เราไปดู “อสุภะ” จะเห็นว่า ตายวันแรก วันต่อมา เขียวอืดขึ้น เป็นท่อนๆ เราก็นึกว่าเวลาจะแก้ “กามฉันทะ” ต้องดู “อสุภะ” บังเอิญ “อสุภะ” เป็น “บัญญติ”

   - “อาณาปานสติ” ที่ลมหายใจเข้า-ออกเป็น “บัญญัติ” อีกแล้ว แล้วเราไปดู กำหนดรู้ขึ้นมาอีก ดูลมหายใจเป็นรูป เป็นนาม ขึ้นมาอีก จะเห็นว่าเป็น “บัญญัติ”

   - “กายคตาสติ” การเคลื่อนไหวการอริยปัพพะทางกาย “กายคตาสติ” ก็เป็น “บัญญัติ” อีกแล้ว เป็น “บัญญัติ” ที่ “ไม่มีกาย” มันต้องทำให้สูญสลายไปซึ่งอัตตาตัวตน

   - “พรหมวิหาร ๔” คือ เมตตา กรุณา มุทุตา อุเปกขา ต้องให้เป็น “บัญญัติ”

   รวมแล้ว “บัญญัติ” มี ๒๖ จะเห็นว่า “บัญญัติ” อย่างนี้เป็น ๒๖ แล้ว แล้วส่วนมากอรูปฌาน “อรูปบัญญัติ” ก็จะมีต่อไป ให้เห็นว่าคำว่า “บัญญัติ” จริงๆ ไปอยู่ใน “ระบบฌาน” “กสิณ ๒๐, ๓๐” ที่เขาพูดกันนี้ปรากฏว่าเป็น “บัญญัติ” แต่เรามาเพ่ง “ฌานแปลว่าเพ่ง” ก็เลยไปเพ่งนิมิต ดูอะไรก็เป็น “นิมิต” ไปหมด พอเป็น “นิมิต” ไปเพ่งอะไรทั้งหลายทั้งปวง พอเราเพ่งไปเพ่งมาก็ปรากฏว่าเราเป็น “นิมิต” เป็น “รูป” หมดเลย

   ฉะนั้นเวลาเรามาดูลมหายใจ “อัสสาสะ ปัสสาสะ” กลายว่าเป็น “บัญญัติธรรม” ฉะนั้น คนที่ทำ “กสิณ” ก็คือ “คนได้ฌานแล้ว” ได้ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจมฌานจึงจะทำ “บัญญัติ” ได้ ก็คือสิ่งที่เป็น “รูปาวจรจิต ๑๕” นี้ ฉะนั้นจะทำได้เมื่อ “ได้ฌานแล้ว” พอ “ได้ฌานแล้ว” จึงจะถึง “บัญญัติธรรม” นี่ก็พูดให้ฟังเพราะเดี๋ยวไปอ่านหนังสือจะเจอ “ฌานบัญญัติ” ขึ้นมา แล้วไปเจอ “ฌานบัญญัติ” ไม่รู้ว่า “อะไรบัญญัติ จะเป็นไปได้อย่างไร” ให้รู้ไว้เถอะว่าเมื่อเป็น “บัญญัติ” จะละทำลายแล้วซึ่ง “รูป” จะเห็นว่านี่ “บัญญัติ” ต้อง “ไม่มีรูป” แล้ว วิธีที่จะ “ละลายรูป” ได้ต้องมี “กสิณบัญญัติ” นี้ แล้วจึงจะถึง “นิพพาน” ส่วนมากเราก็ “อยู่ในรูป” ละยาก นี่ให้เห็น ฉะนั้นพอมาดู “บัญญัติธรรม” คุณสมบัติก็มี

   ทีนี้พูดถึง “ปรมัตถธรรม” “ปรมัตถธรรม” เป็น จิต เจตสิก รูป แล้วก็ “นิพพาน” ถ้า ไม่มี “จิต” ไม่มี “เจตสิก” ไม่มี “รูป” ไม่ถึง “นิพพาน” แล้วไม่ใช่ท่องแค่ “จิต” เฉยๆ นั่นคือ เบื้องต้น เบื้องต้น “จิต” ต้องมี “๑๒๑” ฉะนั้น “จิต ๑๒๑” ต้องจำ “เจตสิก ๕๒” ต้องจำ “รูป ๒๘” ก็ต้องจำ ต้องเริ่มรู้ คือเราก็ต้องจำหมดไม่มีใครไม่จำ เรียน ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูกใครไม่จำ เรียน A ถึง Z เรียนแล้วเรียนจำหมด รับ จำ คิด รู้ ต้องรับทุกอย่างรับมาก่อน รับแล้วเริ่มจำ เราเห็นดอกไม้เห็นอะไรก็ตามมีแต่จำทั้งนั้น แล้วบอกว่า “อย่าจำ” คนสอนว่า “อย่าจำ” ก็โกหกแล้ว “อย่าไปจำ อย่าไปติดสมมุติ” ทั้งที่ตัวเองก็ติดสมมุติอยู่ เขายังไม่รู้จัก “สมมุติ” เดี๋ยวจะรู้ “สมมุติ” ในโอกาสต่อไป

   ฉะนั้น “ต้องจำ” รู้แล้ว นี่รู้เบื้องต้น นั่นคือพื้นฐานของ “ปรมัตถธรรม” จะเห็นว่า “ปรมัตถธรรม” ทำให้เราบรรลุธรรมไปถึง “พระพุทธองค์” ถ้าเรามี จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็น “ปรมัตถธรรม” เป็น “ธรรม” เป็น “อภิธรรม” เป็น “ธรรมะ” เป็น “วินัย” เป็น “๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์” แล้วถึง “พระพุทธองค์” เราก็ต้องจำ ไม่จำคำสอนพระพุทธองค์แล้วไปจำอะไร อย่างอื่นเรายังจำ เราก็อย่าไปจำน้อยใจ เสียใจ ใครว่า อย่างนี้ไม่ควรจำแต่จำ พูดอะไรนี้โต้กันไปโต้กันมา จะเห็นว่า “จำ” ไปสร้างภพ เดี๋ยวจะรู้ว่าการพูดไปนี้เป็น “อติมหันตารมณ์” จะสร้าง “อบายภูมิ” ให้

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑
- เจตสิก ๕๒
- รูป ๒๘

   "แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

๒๕๕๑๑๐๒๕๒๖๐๑๖๐๑๙