เมื่อพูดถึงคำว่า "วิปัสสนา" หากเราเข้าใจว่าหมายถึง ความเห็นแจ้ง, การรู้แจ้ง นั่นเป็นความเข้าใจคำว่า "วิปัสสนา" ในภาษาโลก มิใช่ภาษาธรรม มิใช่คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในภาษาธรรมนั้น เบื้องต้นสามารถอธิบายได้ดังนี้
วิปัสสนา แบ่งออกเป็น ๒ คือ วิปัสสนาภูมิ และวิปัสสนาธรรม
วิปัสสนาภูมิ ประกอบด้วย
- ขันธ์ ๕ (รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์)
- อายตนะ ๑๒ (จักขวายตนะ, โสตายตนะ, ฆานายตนะ, ชิวหายตนะ, กายายตนะ, มนายตนะ, รูปายตนะ, สัททายตนะ, ฆานายตนะ, รสายตนะ, โผฏฐัพพายตนะ, ธัมมายตนะ)
- ธาตุ ๑๘ (จักขุธาตุ, โสตธาตุ, ฆานธาตุ, ชิวหาธาตุ, กายธาตุ, มโนธาตุ, รูปธาตุ, สัททธาตุ, คันธธาตุ, รสธาตุ, โผฏฐัพพธาตุ, ธัมมธาตุ, จักขุวิญญาณธาตุ, โสตวิญญาณธาตุ, ฆานวิญญาณธาตุ, ชิวหาวิญญาณธาตุ, กายวิญญาณธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ)
- อินทรีย์ ๒๒ (จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์, มนินทรีย์, อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, สุขินทรีย์, ทุกขินทรีย์, โสมนัสสินทรีย์, โทมนัสสินทรีย์, อุเปกขินทรีย์, สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สตินทรีย์, สมาธินทรีย์, ปัญญินทรีย์, อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์, อัญญินทรีย์, อัญญตาวินทรีย์)
- ปฏิจจสมุปปาท ๑๒ (อวิชชา, สังขาร, วิญญาณ, นามรูป, สฬายตนะ, ผัสสะ, เวทนา, ตัณหา, อุปาทาน, ภพ, ชาติ, ชรามรณะ(โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ))
- อริยสัจ ๔ (ทุกขอริยสัจจ์, ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์, ทุกขนิโรธอริยสัจจ์, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์)
วิปัสสนาธรรม ประกอบด้วย
- วิสุทธิ ๗ (สีลวิสุทธิ, จิตตวิสุทธิ, ทิฏฐิวิสุทธิ, กังขาวิตรณวิสุทธิ, มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ, ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ, ญาณทัสสนวิสุทธิ)
- สามัญลักษณะ ๓ (อนิจจลักษณะ, ทุกขลักษณะ, อนัตตลักษณะ)
- อนุปัสสนา ๓ (อนิจจานุปัสสนา, ทุกขานุปัสสนา, อนัตตานุปัสสนา)
- วิปัสสนาญาณ ๑๐ (สัมมสนญาณ, อุทยัพพยญาณ, ภังคญาณ, ภยญาณ, อาทีนวญาณ, นิพพิทาญาณ, มุญจิตุกัมยตาญาณ, ปฏิสังขาญาณ, สังขารุเปกขาญาณ, อนุโลมญาณ)
- วิโมกข์ ๓ (สุญญตวิโมกข์, อนิมิตตวิโมกข์, อัปปณิหิตวิโมกข์)
- อนุปัสสนาวิโมกข์ ๓ (สุญญตานุปัสสนา, อนิมิตตานุปัสสนา, อัปปณิหิตานุปัสสนา)
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"
๒๕๕๐๐๖๒๓๒๔๐๑๘๐๑๘
"การได้เกิดเป็นมนุษย์ หาได้ยาก การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก พระสัทธัมม หาได้ยากยิ่ง การถึงพร้อมด้วยสัทธา หาได้ยาก การบวช หาได้ยาก การได้ฟังพระสัทธัมม หาได้ยากยิ่ง"
พระพุทธรำพึง
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้
อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”
อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”