การใส่เสื้อผ้ามาจาก “จิต” เรียกว่า “กายวิญญัติ” ก็คือ
๑. “พระพุทธองค์” มีผ้ากาสายะ “กาสายะ” คือ ผ้าไตรจีวร
และ ๒. บุคคลที่ก่อนจะบวช เรียกว่า ชุดนาค “นาค หรือ นาคะ” แปลว่า ประเสริฐ หรือเรียกว่า “ปัณฑระ” แปลว่า ชุดขาว “ชุดขาว” นี้เตรียมเป็น สามเณร สามเณรี สิกขมานา แล้วก็ภิกษุ(ภิกขุ) ภิกษุณี(ภิกขุณี) นี่จะพัฒนา เตรียมไปสู่ความเป็น สามเณร สามเณรี สิกขมานา ภิกขุ ภิกขุณี และท้ายที่สุดก็คือ อุปาสก อุปาสิกา ก็จะดำรงไว้
ส่วนมาก “ไปวัด” นี้ สมัยก่อนเรียกว่า เตรียมความพร้อมจากภายในสู่ภายนอกคือ “จิตสั่ง” “จิตสั่ง” ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงชี้ว่า “เป็นนาค” มีใครแต่งชุดดำไปบวชบ้าง เคยเห็นไหม มีชุดดำแล้วบวช แต่เนื่องจาก “จิต” ที่พระพุทธองค์ทรงชี้นี้ ต้องมาจากภายในของเราเองว่า “นี่ชุดขาว” แล้วก็พอถึงเวลา “เราใส่ชุดดำ” เคยเห็นไหมว่า “พระพุทธเจ้าบอก ทรงชุดดำเพื่อไปบวชเป็น สามเณร สามเณรี สิกขมานา” เคยเห็นไหมก็ไม่เคยเห็น เพราะคำสั่งทุกคำสั่งออกมาจาก “จิต” จาก “จิตของเรา” นี้ ที่เรา “แต่งชุดขาว” นี้แสดงว่า จิตที่เป็นกุสล “จิตเชื้อสายพระพุทธเจ้า” นี้ มีอยู่ใน “จิตเรา” จึงแต่งชุดขาว
ทีนี้ ถ้าเรา “แต่งชุดดำ” มันมีเชื้อสายพระพุทธองค์ไหม “ไม่มี” ฉะนั้นเราแต่งชุดดำได้ไหม ทำไมจะแต่งไม่ได้ เพราะ “ชุดดำ” สั่งมาจาก “จิต” ถ้าจาก “จิต” ต้อง “ชุดดำ” ชุดดำคือชุดแห่งความมืด แล้วเราชอบมืดไหม ก็ไม่ชอบ ความมืดคือความเศร้า
ฉะนั้น สิ่งที่เราจะทำอะไรขึ้นมานี้ มันจะออกมาจาก “จิตเรา”
ทีนี้เวลาไปงานศพถ้าไม่ทำตามนี้มันรู้สึกอย่างไรอยู่ เขาแต่งกันชุดดำ แล้วเรามาชุดขาว มันจะเป็นกาขาวหรือไง” ชุดขาวคือกาขาวไหม “ไม่” เพราะกาขาวคือ สัตว์เดรัจฉาน ถ้าเรานึกว่าเราแต่งชุดกาขาว ก็คือ ชุดสัตว์เดรัจฉาน ฉะนั้นเราไม่แต่ง “ชุดกาขาว” แต่เราใช้สีขาว เสื้อขาว “ปัณฑระ” นี้ออกมาจากความสว่างเบิกบานของเราที่บังเกิดขึ้น พอเราแต่งชุดขาว ในนั้นเขา ๑,๐๐๐ คน เขาแต่งดำหมด เหลือเรา ๑ คน อย่างน้อย ๑ คนของเรานี้มาจาก “ปัณฑระ”
ในต่างประเทศ ในยุโรปหรือที่ไหนๆ เขา “แต่งชุดดำ” ไปงานศพทั้งนั้น เพราะ เขาไม่รู้ธรรม แต่นี่เราเป็นชาวพุทธ เรื่องอะไรไปเลียนแบบเขา เราเลียนแบบต่างชาติ เพิ่งจะมี เมื่อก่อนไม่มี ฝรั่งต่างชาติเขาแต่งชุดดำ ก็เพราะมัน “สั่งจาก จิต” คือ “จิตสั่ง” ไม่ใช่ “เสื้อสั่ง” ทีนี้จิตสั่งว่า “เออ! คนนี้ต้องชุดดำ” สั่ง “ชุดดำ” บอก “ไว้ทุกข์” แสดงว่าคนไป “ทุกข์” คือว่าเพราะเขาไปทุกข์
คือ ในพระพุทธศาสนานี้ไม่บอกสีเลย สีอะไรก็ได้สำหรับงานศพ ฉะนั้น อย่างของ “พระภิกษุ” ทำไมถึงต้องสีเหลือง สีแก่นขนุน สีกลัก สีพระราชนิยม สีอะไรก็ตาม แต่สีไม่มาก แล้วก็เป็นสีตั้งแต่พุทธกาลมา ที่จริงเวลาพระมหาโพธิสัตว์อยู่ในมหานคร เครื่องทรงอลงกรณ์ เพชรนิลจินดา เต็มไปหมด เพราะว่าเครื่องทรงที่ออกมหาภิเนษกรมณ์ต้องแต่งครบเลย มีทั้งเพชรนิลจินดา เพราะ รวยไม่รู้จะรวยแบบไหนแล้ว
พระโพธิสัตว์พระมหาสิทธัตถะนี้ ประสูติมาพร้อมกับสมบัติ ๔ ทิศ ฉะนั้น รวยมหาศาล รวยยิ่งกว่ารวย การเสวยนี้ด้วยช้อนทองทั้งนั้น ถ้วยทอง อะไรทอง หมดเลย ในฐานะวงศ์กษัตริย์ แล้วในฐานะต้องติดเป็นจักรพรรดิ คำว่า “จักรพรรดิ์” คือ ต้องสมบูรณ์ที่สุดเลย มีทุกอย่างเลย เครื่องทรง เพชรนิลจินดา มีปราสาท ๓ ฤดู ปราสาททุกอย่าง อุปกรณ์พร้อมหมด เมื่อออกมหาภิเนษกรมณ์ไปอย่างนี้
ฉะนั้น เวลาคนบวชนาค จะเลียนแบบ ก็คือทำตามพระพุทธองค์ โดยผู้บวชจะแต่งเครื่องทรงหนักอึ้งไปหมด เรียกว่าเศรษฐีจริงๆ พอเข้าพิธีบวชจะสละหมดทีละอย่าง ทีละอย่าง
พระมหาโพธิสัตว์นี้ พอออกมหาภิเนษกรมณ์ไปถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ที่แต่งทั้งหมดค่อยๆเอาออก เอาออกหมดเลย ว่านี่คืออะไร พอเอาออกจากพระวรกายจะหมดแล้ว ท่านฆฏิการพรหมซึ่งเป็นพระอนาคามี สำเร็จในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ แสดงว่ามี “พระอริยะ” ก่อนที่จะตรัสรู้ มีชั้นสุทธาวาสอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อมีชั้นสุทธาวาสอยู่แล้วนี้ ท่านก็ลงมาพร้อม “ผ้ากาสายะ” แล้วก็ “บาตร” ทำไมไม่เอาชุดอื่นมาให้ ก็เพราะเป็นพุทธประเพณีของพระมหาโพธิสัตว์ เวลาจะออกมหาภิเนษกรมณ์ ต้อง “ท่านฆฏิการพรหม” ชาวบ้านจะมีใครรู้ไหมว่าต้องออก(มหาภิเนษกรมณ์)โดย “ผ้ากาสายะ” ฉะนั้นเวลาที่มา “ฆฏิการพรหม” นี้ท่านทราบ เพราะท่านรู้ว่าตอนที่ท่านจะสำเร็จนี้ ยังเป็น “พระโพธิสัตว์” ปรารถนาพุทธภูมิ แต่ท่านไปคอย ท่านเป็นสหายกับพระมหาสิทธัตถะ ท่านเป็นพระอนาคามีอยู่ข้างบน รู้เลยว่า วันนี้พระมหาโพธิสัตว์จะลงมา เพื่อประกาศความเป็นเอก(อ่านว่า เอ-กะ) เอกราช “เอก” คือเป็นหนึ่งเดียวในโลก
ฉะนั้น ท่านก็นำ “ผ้าไตรมาพร้อมบาตร” ไม่ได้นำผ้าไตรมาพร้อมกับอาหารใส่ถ้วยทองมา ทั้งหมดนั้น “สละแล้ว” “พระ” จึงจำเป็นต้อง “ฉันในบาตร” พอ “ฉันนอกบาตร” ปั๊บไปเลย ลงนรกหมกไหม้ ฉะนั้นเวลาฉันต้องฉันในบาตร ขนาดเป็น “พระโพธิสัตว์” ยัง “ฉันในบาตร” มีบาตรหนึ่งกับผ้ากาสายะ คือผ้าไตรจีวรนี้ เป็น “ผ้าไตรจีวร” แต่เรียกว่า “ผ้ากาสายะ”
เสร็จแล้วก็บำเพ็ญมาตั้งแต่นั้นถึง ๖ พรรษา ใน ๖ พรรษานั้น เดี๋ยวก็เป็น “เชน” อีก เพราะสมัยนั้นเชนอวดอ้างว่า “สละกิเลสแล้ว ไม่ต้องสวมใส่เสื้อผ้า” ไม่มีผ้าจีวร เพราะเชนไม่มีผ้าจีวร พระพุทธองค์ตอนบำเพ็ญนั้นก็ไม่สวมเสื้อผ้าเหมือนกัน แต่เอา “ผ้ากาสายะ” เก็บไว้เลย แล้วก็นุ่งลมห่มฟ้าเหมือนกับเชน แล้วทำได้ดีกว่าเชนอีก เชนบางทีนุ่งขาวบ้าง บางเวลานุ่งขาว บางเวลาก็ไม่นุ่ง บางเวลาก็เอาเสื่อคลุมเวลาหนาวขึ้นมา เพราะแถวนั้น สมัยพุทธกาล ที่พุทธคยามีหิมะตก แล้วพวกเชนเอาเสื่อลำแพนมาคลุมตัวป้องกันความหนาว แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็น “พระโพธิสัตว์” นี้ไม่มีอะไรเลย อยู่กลางแจ้งคือถ้าร้อนก็มาอยู่กลางแจ้ง ถ้าหนาวก็จะไปอยู่ในป่า ก็ต้องไปอยู่ในป่าให้มันหนาวถึงที่สุด คือทนทรมานอย่างนั้น
แล้วเสร็จแล้วก็เป็น “ผ้ากาสายะ” มา เวลาพระภิกษุมา ไม่ได้เอาผ้าอะไรมามีแต่ “ไตรจีวร”
นั่นแสดงว่า “สัญญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา” ก็คือ ๑. ผ้าไตรจีวร ๒. ผ้าสีขาว นี่แหละ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง “สั่งออกมาจากจิต” ฉะนั้นเวลาที่ “ห่มจีวร” ปุ๊บเป็น “พระอรหันต์” เลย จะเห็นว่า “พระอริยะ” พอท่านเอา “ผ้าจีวร” มาคลี่จะห่มเป็น “พระโสดาบัน” “เรา” ก็ใส่เสื้อดูแล้วดูอีกจะใส่อะไรประดับอีก ก็ “เหตุ” อย่างนี้ที่เรามาเกิดนี้ แล้วเราก็ไม่ทราบว่า “พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร”
ฉะนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ยึดถือในเรื่องเครื่องแต่งกาย แต่งกายอะไรก็ได้ แต่ว่านี่คือสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ต้อง “ทรงผ้ากาสายะ” “อุบาสก อุบาสิกา” ก็สีขาว เพราะ “เตรียมตัวจะบวช” ฉะนั้น เวลาที่ชฎิลตอนที่เป็นพระกุมาร เมื่อจะไปบวชรักษาสีล ๑๐ ไปวัด ท่านต้อง “สีขาว”
“ไปงานศพ” นี่คือ “งานกุสล” ฉะนั้น เวลาที่เราไปนี้ดีที่สุด คือ “อเหตุก” นี้เขาสอนเราว่า “เป็นคนหรือเปล่า” คือไปดู “คน” ไม่ว่าจะเป็น คนตาย, คนเป็น คนอยู่, คนแขนขาขาด, คนตาบอด, คนหูหนวก, คนง่อยเปลี้ยเสียขา, ฯลฯ นี้ ถามว่า “เราจะเป็นแบบนี้ไหม แล้วเรานี้ยังเป็นคนอีกไหม เราอยากจะเป็นแบบนั้นไหม” (“คน” นี้ความหมายยังไม่ได้อธิบาย จะอธิบายในโอกาสต่อไป) ฉะนั้น เวลาที่พอมองไปปั๊บนี้เขาสอนเราว่า “เป็นคนหรือเปล่า” เพราะ ทุกอย่าง “สั่งจากจิต”
- เราใส่เสื้อผ้า ไม่ได้ใส่เสื้อเพราะ “กายต้องการ” แต่ “จิต” เขาต้องการ มิฉะนั้นเราไม่เลือกเสื้อผ้า ในตู้เสื้อผ้าเยอะๆ เปิดตู้มา จับมาวาง จับมาแขวน จับมาแขวน กว่าจะเลือกได้สักตัวหนึ่ง
- แล้วก็ใส่อัญญมณีทั้งหลาย ก็ไปเลือก เปิดกล่องมา “วันนี้จะใส่สีไหนดี” เลือกไปเลือกมาให้มันเข้ากับเสื้อ
- รองเท้าก็มากมายเลย เปิดมามีทุกสีเลย แล้วอยากจะใส่ชุดไหน รองเท้าคู่ไหนให้มันเข้ากัน
- หรือต้องไปซื้อชุดดำเตรียมสำหรับคนตาย ทั้งที่ยังไม่ตาย “สั่งตาย” แล้ว นั่นคือ เวลาที่เราไม่เคยรู้
เราไปงานศพ ไม่ต้องแต่ง “ชุดขาว” ก็ได้ ยกเว้น “สีดำ” เท่านั้นเอง เราก็เศร้าอยู่แล้ว ไม่ไปก็เศร้าอยู่แล้ว เพราะ “จิตทุกคน” มันดีที่ไหน ถามว่า “ที่ไปนั้น สัญลักษณ์เสื้อนี้ แล้วจะบ่งบอกว่าเสื้อนี่พาคนไปดีได้หรือ” แต่เราไม่เคยศึกษาว่า “การที่เราจะใส่อะไรขึ้นมานี้ สั่งมาจากจิต” แสดงว่า “จิตส่วนดีของเรา” มีแว็บๆๆเป็น “สีขาว” นี้ ก็เลยไปด้วย “ชุดสีขาว”
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ภาษาโลก ภาษาธรรม
- จิต ๑๒๑
"แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"
๒๕๕๑๐๑๑๙๒๐๐๕๑๐๕๘
"การได้เกิดเป็นมนุษย์ หาได้ยาก การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก พระสัทธัมม หาได้ยากยิ่ง การถึงพร้อมด้วยสัทธา หาได้ยาก การบวช หาได้ยาก การได้ฟังพระสัทธัมม หาได้ยากยิ่ง"
พระพุทธรำพึง
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้
อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”
อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”