ภาษาโลก-ภาษาธรรมสำคัญขนาดไหนทำไมถึงต้องเน้นย้ำกันอยู่ตลอดถึงคำๆนี้?
ในอดีตตั้งแต่ก่อนการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีการใช้ภาษามคธ ภาษาสันสกฤต ฯลฯ ในการสื่อสาร แต่เมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ตรัสสั่งสอนเวไนยสัตว์ด้วยข้อธรรมต่างๆ ซึ่งภาษาที่พระพุทธองค์ใช้เป็นพระพุทธพจน์มีลักษณะเหมือนกับภาษามคธ แต่แตกต่างกับภาษามคธอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากพระพุทธพจน์(ภาษาธรรม)นั้นเป็นเหตุเพื่อนำพาเวไนยสัตว์ไปสู่การสิ้นสุดวัตตะ สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด
ดังนั้นหากเราผู้ศึกษาธรรมไม่สามารถมองความแตกต่างระหว่างภาษาโลก-ภาษาธรรมออกเราก็จะทำได้เพียงการแปลภาษามคธ ภาษาสันสกฤต ฯลฯ ซึ่งเป็นภาษาสื่อสารจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง โดยมิได้เข้าสู่ภาษาธรรม(พระพุทธพจน์)เพื่อไปสู่การสิ้นสุดวัตตะ สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดแต่อย่างใด
ตัวอย่างเบื้องต้นเพื่อประกอบการทำความเข้าใจภาษาโลก-ภาษาธรรม
ภาษาโลก
“จิต” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีความหมายว่า [จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).
“จิต” พจนานุกรม ไทย-ไทย โดย อ.เปลื้อง ณ นคร มีความหมายว่า (มค. จิตฺต) น. ใจ.
“จิต” แปลภาษา ไทย-อังกฤษ โดย NECTEC's Lexitron Dictionary มีความหมายว่า [n.] mind [syn.] ใจ,จิตใจ,ความคิด
ซึ่งคำว่า “จิต” ที่กล่าวมาด้านบนทั้งหมดนั้นล้วนเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เป็นการแปลภาษาสื่อสารจากภาษาหนึ่ง ไปสู่ภาษาสื่อสารอีกภาษาหนึ่ง มิใช่พระพุทธพจน์ที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภาษาธรรม