พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

สัตว ๓๑ ภูมิ (สัตตะวะ ๓๑ ภูมิ)

   การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ 
   
   ลำดับขั้นสูง (อังกฤษ:Major Taxa) หมายถึง ลำดับขั้นที่พิจารณาได้จากลักษณะของสิ่งมีชีวิตโดยสังเขป สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นสูงเดียวกัน มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกันหรือมีลักษณะร่วมกันอย่างกว้างขวาง ลำดับดับขั้นสูงที่เล็กลงมาแสดงความคล้ายคลึงกัน หรือมีลักษณะร่วมกันแคบลงมาตามลำดับ ลำดับขั้นสูงทั้งหมดสามารถจัดเรียงลำดับ จากลำดับขั้นที่สูงที่สุดลงมาได้

   ลำดับขั้นต่ำ (อังกฤษ:Minor Taxa) หมายถึง ลำดับขั้นที่สิ่งมีชีวิตแสดงความคล้ายคลึงกันมากขึ้น หรือมีลักษณะร่วมกัน แคบลงมากกว่าลำดับขั้นสูง นับเป็นลำดับขั้นที่สำคัญมากและใช้สำหรับชื่อทั่วไปของสิ่งมีชีวิต นักจัดจำพวกจะทำงานกับลำดับขั้นต่ำมากกว่าลำดับขั้นสูง ลำดับขั้นต่ำทั้งหมดสามารถจัดเรียง ลำดับจากลำดับขั้นที่สูงที่สุดลงมาได้


   ซึ่งการจำแนกชั้นทางชีววิทยานั้นครอบคลุมเพียง "มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน" แต่ใน "พระพุทธศาสนา" นั้น แบ่งสัตว (อ่านว่า สัด-ตะ-วะ) ออกเป็น ๓๑ ภูมิ ตามการทำงานของ "จิต" ได้แก่

            กามภูมิ ๑๑ ประกอบด้วย
                 อบายภูมิ ๔ ได้แก่
                         - นรก
                         - สัตว์เดรัจฉาน
                         - เปรต
                         - อสุรกาย
                 กามสุคติภูมิ ๗ ได้แก่
                        มนุสสภูมิ ๑ ได้แก่
                                - มนุษย์
                        เทวภูมิ ๖ ได้แก่
                                - จาตุมมหาราชิกา
                                - ตาวะติงสา
                                - ยามา
                                - ตุสิตา
                                - นิมมานะระตี
                                - ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี

               รูปพรหมภูมิ ๑๖ ประกอบด้วย
                    ปฐมฌานภูมิ ๓ ได้แก่
                            - ปาริสัชชา
                            - ปะโรหิตา
                            - มหาพรหมมา
                    ทุติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่
                            - ปะริตตาภา
                            - อัปปะมาณาภา
                            - อาภัสรา
                    ตติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่ 
                            - ปะริตตะสุภา
                            - อัปปะมาณะสุภา
                            - สุภะกิณณะหะกา
                     จตุตถฌานภูมิ ๒ ได้แก่
                            - เวหัปผลา
                            - อสัญญสัตตา
                     สุทธาวาสภูมิ ๕ ได้แก่
                            - อวิหา
                            - อะตัปปา
                            - สุทัสสา
                            - สุทัสสี
                            - อะกะนิฏฐะกา

               อรูปพรหมภูมิ ๔ ประกอบด้วย
                            - อากาสานัญจายะตะนะ
                            - วิญญานัญจายะตะนะ
                            - อากิญจัญญายะตะนะ
                            - เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ

                           
   กลุ่มที่เป็น “อปายภูมิ ๔” นี้ ก็จะมี “อกุสลจิต ๑๒” อย่างเดียว เรียกกลุ่มนี้ว่า “ทุคติอเหตุกบุคคล”
           
   “มนุษย์ กับเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา” มี อกุสลจิต ๑๒ สันตีรณอเหตุกกุสลวิปากจิต ๑ (หมายถึง อุเปกขาสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง อยู่ใน อเหตุกกุสลวิปากจิต ๘) รวมแล้ว ๑๓ เรียกว่า “สุคติอเหตุกบุคคล”

   “เทวดาชั้นดาวติงสาจนถึงชั้นปรนิมมิตตวัสสวตี” จะมี โลภะจิต ๘ โทสะจิต ๒ ญาณวิปปยุตมหากุสลจิต ๔ นั่นก็คือเป็นเครื่องบ่งบอกว่า บุคคลที่เป็น “ชั้นตาวติงสา ถึงปรนิมมิตตวัสสวตี” มีจิตรวมแล้ว ๑๔ เรียกว่า “ทวิเหตุกบุคคล”

   ส่วน “พรหม ๑๕ ชั้น” (นี่คิดคร่าวๆ) มี ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ เรียกว่า “ติเหตุกบุคคล”

   “อรูปพรหม ๔” มี ญาณสัมปยุตมหากุสลจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๓๕ (เว้น โสตาปัตติมัคคจิต ๕) เป็น “ติเหตุกบุคคล”

   ส่วน “อสัญญสัตตาพรหม” มีแต่ “รูป” อย่างเดียว มี จิต เจตสิก แต่ไม่ทำงาน เรียก “อสัญญสัตตาพรหม” ว่า “สุคติอเหตุกบุคคล”
            
   ทั้งหมดนี้ เราจะจัดตัวเราได้ว่าเราอยู่ในกลุ่มไหน ส่วนมากเราจะไม่รู้ เราก็จัดบุคคลอยู่ในกลุ่มอย่างนี้ เราจะได้รู้ว่าเราอยู่กลุ่มไหน

   ถ้าเรายังไม่รู้จัก “ปฏิจจสมุปบาท” นี้ เรายังไม่รู้จัก “ธรรม ๘ ประการ” คือ

              - ยังไม่รู้จัก พระพุทธเจ้า
              - ยังไม่รู้จัก พระธรรม
              - ยังไม่รู้จัก พระสงฆ์
              - ยังไม่รู้จัก สีล สมาธิ ปัญญา
              - ยังไม่รู้จัก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในอดีต
              - ยังไม่รู้จัก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในอนาคต
              - ยังไม่รู้จัก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งอดีตและอนาคต
              - รวมทั้งยังไม่รู้จัก ปฏิจจสมุปบาท

   นี้ เราก็ยังอยู่ขั้น “สุคติอเหตุกบุคคล”

   คนที่อยู่ที่ “ทวิเหตุกบุคคล” จะเห็นว่าสามารถควบคุม “โมหะจิต” ได้ ส่วน “สุคติอเหตุกบุคคล” จะมี “อกุสลจิต ๑๒” ทั้ง โลภะจิต ๘ โทสะจิต ๒ และโมหะจิต ๒ ที่เรายังฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆยังฟุ้งซ่านไปเรื่องนั้น เรื่องนี้ มีความกระทบกระเทือนในเรื่องต่างๆ เราก็ยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย กลุ่มนี้แหละที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย คือกลุ่มที่เป็นมนุษย์ กับ เทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา

   ส่วนที่เป็น “เทวดาชั้นดาวดึงส์ถึง ปรนิมมิตตวัสสวตี” นี้ กลุ่มนี้รู้เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” แล้ว รู้เรื่อง “อวิชชา” แล้ว จึงสามารถควบคุม “โมหะ” ได้ จึงเหลือเป็นประเภท “ทวิเหตุกบุคคล”

   ส่วน “พรหม” นั้นจะมี ญาณสัมปยุตตมหากุสลจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ คือมี “อริยบุคคล” อยู่ในนี้

   จะเห็นว่า ไม่มี “อริยบุคคล” อยู่ใน มนุษย์ กับ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา นี้ไม่มีเป็น “สุคติอเหตุกบุคคล” เดี๋ยวจะมีคนถามว่า “อ้าว! แล้วพระพุทธเจ้าเกิดเป็นมนุษย์ อยู่ที่ไหน” เดี๋ยวจะบอก (ที่บอก) นี่ “มาตรฐานของบุคคล” อย่าง “มาตรฐานอยู่ชั้นดาวดึงส์” นี้ บางคนนึกว่าเราตายแล้วจะไปอยู่ชั้นดาวดึงส์ง่ายๆ เรานึกว่าเรานี้สามารถขึ้นชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต คนที่ยังน้อยใจ เสียใจ โกรธ เกลียด อาฆาต พยาบาท จองเวร ฯลฯ อย่างนี้อยู่ใน “กลุ่มอกุสลจิต ๑๒” นี้มีทั้ง “โมหะ(จิต)” เพราะยังไม่สามารถรู้ได้ว่าที่ทำนั้นเป็นอะไร

   ฉะนั้น มนุษย์ และเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา เป็น “สุคติอเหตุกบุคคล”

   ส่วน “เทวดา ชั้นตาวติงสา ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรตี ชั้นปรนิมมิตตวัสสวตี กลุ่มนี้ต้องกำจัด “โมหะจิต” ออกได้แล้ว แสดงว่ากลุ่มนี้สิกขาธรรมคำสอนพระพุทธองค์ จึงจะตัด “โมหะ(จิต)” ได้ ไม่ใช่วันดีคืนดีเราอยากจะตัด เรายังไม่รู้จัก “ปฏิจสมุปบาท” ทั้ง
            
             - ไม่รู้จัก อวิชชา
             - ไม่รู้จัก สังขาร
             - ไม่รู้จัก วิญญาณ
             - ไม่รู้จัก นามรูป
             - ไม่รู้จัก สฬายตนะ
             - ไม่รู้จัก ผัสสะ
             - ไม่รู้จัก เวทนา
             - ไม่รู้จัก ตัณหา
             - ไม่รู้จัก อุปาทาน
             - ไม่รู้จัก ภพ
             - ไม่รู้จัก ชาติ
             - ไม่รู้จัก ชรามรณะ โสกปริเทวะฯ

   ทั้งหมดนี้ รับรองเลยในโลกนี้ไม่มีใครรู้เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” เมื่อไม่รู้แล้วคนไม่รู้ก็คิดเอาเอง เดาเอาเอง โดยไม่สิกขา ทำความเข้าใจในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นกลุ่ม(พวก)นี้ก็อยู่ในกลุ่ม(สุคติอเหตุกบุคคล) นี้ แล้วเดี๋ยวจะพัฒนากลับไปสู่ “ทุคติอเหตุกบุคคล” คือ “อบายภูมิ” ใครก็ตามในโลกนี้ เราจะได้รู้ว่าตัวเราอยู่ในฐานะอะไร

บทความพื้นฐานที่ควรอ่าน
   - ภาษาโลก ภาษาธรรม
   - ทำไมต้องจดจำ และเข้าใจ จิต เจตสิก รูป และลักขณาทิจตุกกะ
   - จิต ๑๒๑


   "แม้ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"
  
๒๕๕๒๐๑๑๗๑๘๐๐๑๐๐๔:๒๕๕๓๐๑๓๐๓๑๒๔๑๒๔๑