พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จิต ๑๒๑: กามาวจรจิต ๕๔: อเหตุกจิต ๑๘


จิต ๑๒๑ ประกอบด้วย กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐

กามาวจรจิต ๕๔ ประกอบด้วย อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔

อเหตุกจิต ๑๘ ประกอบด้วย อกุสลวิปากจิต ๗ อเหตุกกุสลวิปากจิต ๘ อเหตุกกิริยาจิต ๓

อกุสลวิปากจิต ๗
๑. อุเปกขาสะหะคะตัง จักขุวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๒. อุเปกขาสะหะคะตัง โสตะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๓. อุเปกขาสะหะคะตัง ฆานะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๔. อุเปกขาสะหะคะตัง ชิวหาวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๕. ทุกขะสะหะคะตัง กายะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง สัมปะฏิจฉะนะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ อกุสลวิปากจิต ๗

อเหตุกกุสลวิปากจิต ๘
๑. อุเปกขาสะหะคะตัง จักขุวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๒. อุเปกขาสะหะคะตัง โสตะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๓. อุเปกขาสะหะคะตัง ฆานะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๔. อุเปกขาสะหะคะตัง ชิวหาวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๕. สุขะสะหะคะตัง กายะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง สัมปะฏิจฉะนะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๘. โสมะนัสสะสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๑: อัญญสมานเจตสิก ๑๑ (เว้นวิริยะเจตสิก ฉันทะเจตสิก)

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ อเหตุกกุสลวิปากจิต ๘

อเหตุกกิริยาจิต ๓
๑. อุเปกขาสะหะคะตัง ปัญจะทะวาราวัชชะนะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๒. อุเปกขาสะหะคะตัง มะโนทะวาราวัชชะนะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๑๑: อัญญสมานเจตสิก ๑๑ (เว้น ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง หะสิตุปปาทะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๑๒: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ฉันทะเจตสิก)

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ อเหตุกกิริยาจิต ๓