พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เส้นทางเบื้องต้นจากภาษาโลก(ภาษาสื่อสาร) สู่ภาษาธรรม(พระพุทธวจนะ)

ระหว่างที่ผู้สนใจเริ่มศึกษาธรรมกำลังพยายามจดจำ “จิต เจตสิก รูป” อยู่นั้น มีอยู่เรื่องหนึ่งที่อยากเล่าให้ฟังก่อนเพื่อจะได้เห็นภาพเบื้องต้นว่าที่เรากำลังจะเดินทางกันจากภาษาโลก(ภาษาสื่อสาร) ไปสู่พระพุทธวจนะ(ภาษาธรรม) นั้นจะเป็นอย่างไร

คนเราไม่ว่าชาติไหนก็มีภาษาสื่อสารของชาติตนเองเช่น คนไทย ใช้ภาษาไทย คนลาวใช้ภาษาลาว คนอังกฤษใช้ภาษาอังกฤษ คนฝรั่งเศษใช้ภาษาฝรั่งเศษ คนอเมริกันใช้ภาษาอังกฤษ คนจีนใช้ภาษาจีน คนรัสเซียใช้ภาษารัสเซีย คนอินเดียใช้ภาษาฮินดี คนพม่าใช้ภาษาพม่า คนสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ กับภาษาจีน ฯลฯ ที่เหลือนึกเอาเองต่อนะ มีอีกตั้งหลายชาติ หลายภาษา เคยสงสัยไหมว่าแล้วจะใช้ภาษาไหนเป็นหลักในการศึกษาธรรมละ? แต่ละชาติก็อาจบอกว่าใช้ภาษาของชาติตัวเองซิ อย่างคนไทยก็พยายามแปลข้อธรรมทุกอย่างให้เป็นภาษาไทย คนจีนก็พยายามแปลข้อธรรมให้เป็นภาษาจีน ฯลฯ แล้วตกลงแต่ละชาติก็จะแปลข้อธรรมต่างๆเป็นภาษาตัวเองหมดเลยหรือ? อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อชาวพุทธชาติต่างๆมาเจอกัน จะคุยกันรู้เรื่องไหมนี่ เข่น โทสะ

ภาษาไทย แปลว่า โกรธ

ภาษาอังกฤษ แปลว่า Angry

ภาษาจีน แปลว่า  

ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า 怒って  

ภาษาฝรั่งเศษ แปลว่า colère

ภาษารัสเซีย แปลว่า сердитый

ภาษาฮินดี แปลว่า नाराज

ฯลฯ

แล้วแต่ละคนใช้ภาษาของชาติตัวเองเมื่อมาเจอกันจะรู้ไหมว่าพูดเรื่องเดียวกันอยู่ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสสำหรับกรณีภาษาที่ใช้ในการศึกษาธรรมใว้ว่าดังนี้ (ต่อไปนี้เป็นคำแปลที่ยังไม่สุขุมคัมภีระตามคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า)

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๙/ ๙๑ มหามกุฏราชวิทยาลัย จุลวรรค ทุติยภาค และอรรถกถา

[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ตถาคตอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม.

                ดังนั้นไม่ว่าแต่ละชาติ แต่ละภาษาจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาสื่อสาร ทุกชาติต้องแปลกลับมาที่ภาษามคธเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่พระพุทธพจน์(ภาษาธรรม) ซึ่งแสดงให้เห็นได้ดังภาพต่อไปนี้




ขั้นตอนเบื้องต้นของการเดินทางจากภาษาโลกเข้าสู่ภาษาธรรม

ขั้นที่ ๑. แปลจากภาษาสื่อสารของแต่ละชาติกลับเข้าสู่ภาษามคธ เช่น

ภาษาไทย โกรธ แปลเป็นภาษามคธว่า โทสะ(มคธอักษรไทย) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาอังกฤษ Angry แปลเป็นภาษามคธว่า Dosa (มคธอักษรอังกฤษ) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาจีน แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรจีน) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาญี่ปุ่น 怒ってแปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรญี่ปุ่น) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาฝรั่งเศษ colère แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรฝรั่งเศษ) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษารัสเซีย сердитый แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรรัสเซีย) ออกเสียงว่า โท-สะ

ภาษาฮินดี नाराज แปลเป็นภาษามคธว่า (มคธอักษรฮินดี) ออกเสียงว่า โท-สะ

ฯลฯ

ขั้นที่ ๒. จากภาษามคธเดินทางเข้าสู่พระพุทธพจน์

                ภาษามคธที่ออกเสียงว่า “โท-สะ” (“โทสะ” มคธอักษรไทย) เบื้องต้นภาษาธรรมหมายถึง โทสะมูลจิต ๒ ประกอบด้วย

                ๑. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง

๒. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง

ดังนั้นเมื่อชาวพุทธทั้งโลกมาพบกันทุกท่านจะออกเสียง “โท-สะ” ซึ่งภาษาธรรมเบื้องต้นหมายถึง โทสะมูลจิต ๒ เหมือนกัน


วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ระยะเวลากว่าจะบรรลุธัมม กับการศึกษาทางโลก

ทำไมธัมมะถึงยาก?

หากเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดขึ้นของความรู้ต่างๆที่เรามีในทุกวันนี้กับการเกิดของพระพุทธเจ้าจะเห็นว่ามีระยะเวลาที่แตกต่างกันอย่างมากการกำเนิดของภาษาที่คนใช้ในการสื่อสารจนพัฒนามาเป็นภาษาทุกวันนี้ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ และวิทยาการของคนทั้งหมดก็ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ ปี แต่พระพุทธศาสนาใช้เวลานานกว่านั้นมากๆ อย่างพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าปัญญาธิกะใช้เวลา ๒๐ อสงไขย กับอีกแสนกัปป (วันหลังจะอธิบายให้ฟังเพิ่มว่า อสงไขย คืออะไร และ กัปป คืออะไร) ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก

ดังนั้นการที่เรารู้สึกว่าพระพุทธศาสนายากไม่ใช่เรื่องแปลกแต่เราจะทำความเข้าใจได้ นึกเหมือนกับว่าเราเรียนหนังสือแล้วกัน ตั้งแต่เริ่มเรียนจนจบปริญญาตรีเราใช้เวลา ๑๖ ปี ปริญญาโท-เอก อีก ๖ ปี รวม ๒๒ ปี ซึ่งนั่นเราเรียนวิทยาการที่มีอายุในการพัฒนามาเพียงไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ ปี นี้เท่านั้นเอง แต่พระพุทธศาสนานานกว่านั้นมากๆ

ฉะนั้นเราก็ค่อยๆศึกษาพระพุทธศาสนาไปแบบเดียวกันกับที่เราเรียนหนังสือ อย่าใจร้อนเราไม่ได้จบปริญญาตรีในวันเดียว เราไม่ได้เข้าใจทุกอย่างในนาทีแรกที่เห็น แต่ศึกษาไปอย่างต่อเนื่องในที่สุดทุกคนก็จะเข้าใจเหมือนกัน

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

ทำไมมีแต่ จำ จำ จำ แล้วก็ จำ...

ทำไมมีแต่บอกให้จำ จำ จำ แล้วก็จำ จะเข้าใจก่อนได้รึเปล่า?

     หลายคนคงจะมีคำถามอย่างนี้อยู่ในหัวอยู่เสมอๆ แต่อาจจะไม่ได้ลองคิดทบทวนให้ละเอียดว่าสิ่งที่บอกว่า ต้องเข้าใจก่อนแล้วค่อยจำนั้นเราหมายความอย่างนั้นจริงๆ หรือเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม เบื้องต้นเราก็คงจะต้องมาดูว่าความเข้าใจที่เราพูดๆกันนั้นหมายถึงอะไร

     ความเข้าใจ คือกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคคลสามารถครุ่นคิดถึงสิ่งนั้น และสามารถใช้มโนทัศน์ (Concept) เพื่อจัดกับกับสิ่งนั้นได้อย่างเพียงพอ (th.wikipedia.org) ซึ่งจากคำอธิบายดังกล่าวจะเห็นว่าคนจะเข้าใจในเรื่องใดได้ก็ต่อเมื่อมีมโนทัศน์(Concept)ในเรื่องนั้นเพียงพอ เมื่อมาสู่การศึกษาธรรมะ เราแยกความแตกต่างระหว่างภาษาโลก-ภาษาธรรมไม่ออกเราจึงใช้มโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารที่เรามีมาทำความเข้าใจในภาษาธรรม ผลที่เกิดขึ้นจึงเหมือนจะเข้าใจ แต่เป็นความเข้าใจที่ใช้มโนทัศน์(Concept)ที่ผิด ไม่สามารถเข้าสู่ภาษาธรรมได้

     ดังนั้นการทำความเข้าใจธรรมะจะต้องเริ่มจากการแยกมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารออกจากการศึกษาธรรมะ และหามโนทัศน์(Concept)ที่ถูกต้องในการทำความเข้าใจธรรมะ ซึ่งในที่สุดเราก็จะพบว่าเราไม่มีอยู่เลย จึงเป็นที่มาว่าเรายังไม่สามารถทำความเข้าใจในธรรมะได้ แต่เราต้องเริ่มจากการจดจำเพื่อสร้างมโนทัศน์(Concept)ขึ้น และนำไปสู่การเข้าใจธรรมะในอนาคต

     ตัวอย่างเช่น โลภะเมื่อกล่าวถึงโลภะเราจะนึกได้ทันทีว่าความโลภ อยากได้ของคนอื่น ซึ่งเรารู้ไหมว่าทำไมเราถึงเข้าใจอย่างนั้น เราเข้าใจอย่างนั้นเพราะเมื่อเราเห็นคำว่า โลภะเราก็นำมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารมาใช้ ซึ่งเรารู้ในทันทีว่าโลภะแปลว่าความโลภ อยากได้ของคนอื่น ซึ่งเป็นการใช้มโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสาร ไม่ใช่ภาษาธรรม แล้วเมื่อเราถามตัวเองว่าแล้วภาษาธรรมหมายถึงอะไรละ? เราก็จะไม่ได้คำตอบ หรือไม่เราก็ได้คำตอบเดิมคือความโลภ อยากได้ของคนอื่น เพราะเรามีมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารเท่านั้น เราไม่มีมากกว่านั้น

     แล้วถ้าเราอยากมีมโนทัศน์(Concept)เพื่อเข้าใจในภาษาธรรมจะทำอย่างไร วิธีการง่ายมากคือ จำ จำ จำ แล้วก็จำ จนถึงวันหนึ่งจำได้มากพอก็จะเข้าใจได้เอง ซึ่งจากตัวอย่าง โลภะภาษาธรรมเบื้องต้นก็ต้องเข้าใจว่าคือ โลภะมูลจิต ๘ จิต ประกอบด้วย

     ๑. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๒. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๔. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๕. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๖. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๗. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     ๘. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง

     อีกตัวอย่างหนึ่งเช่น โทสะเมื่อกล่าวถึงโทสะเราจะนึกได้ทันทีว่าความโกรธ ซึ่งเรารู้ไหมว่าทำไมเราถึงเข้าใจอย่างนั้น เราเข้าใจอย่างนั้นเพราะเมื่อเราเห็นคำว่า โทสะเราก็นำมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารมาใช้ ซึ่งเรารู้ในทันทีว่าโทสะแปลว่าโกรธ ซึ่งเป็นการใช้มโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสาร ไม่ใช่ภาษาธรรม แล้วเมื่อเราถามตัวเองว่าแล้วภาษาธรรมหมายถึงอะไรละ? เราก็จะไม่ได้คำตอบเหมือนเช่นเดิม หรือไม่เราก็ได้คำตอบเดิมคือความโกรธ เพราะเรามีมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสารเท่านั้น เราไม่มีมากกว่านั้น

     โทสะ ในภาษาธรรมเบื้องต้นก็ต้องเข้าใจว่าคือ โทสะมูลจิต ๒ ประกอบด้วย

     ๑. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง
     ๒. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง

     หากที่สุดแล้วท่านยืนยันจะไม่จดจำ จะต้องเข้าใจก่อนจึงจะจดจำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือท่านจะมีความรู้สึกเหมือนเข้าใจแต่เป็นความเข้าใจที่เกิดจากมโนทัศน์(Concept)ของภาษาสื่อสาร จะไม่สามารถไปสู่การสิ้นสุดวัตต สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ และไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

     แต่หากท่านเริ่มจดจำข้อธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเวนัยสัตว์เพื่อสร้างมโนทัศน์(Concept)ที่ถูกต้องในการศึกษาธรรมแล้ว ท่านก็จะสามารถเข้าสู่การทำความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธองค์เพื่อไปสู่การสิ้นสุดวัตต สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ และนี่คือจุดต่างสำคัญที่จะทำให้เรื่องราวที่จะอธิบายต่อไปแตกต่างจากที่เรารู้อยู่เดิมอย่างสิ้นเชิง...

ภาษาโลก-ภาษาธรรม (มหาพุทธชยันตี ๒๖๐๐)

ภาษาโลก-ภาษาธรรมสำคัญขนาดไหนทำไมถึงต้องเน้นย้ำกันอยู่ตลอดถึงคำๆนี้?

ในอดีตตั้งแต่ก่อนการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีการใช้ภาษามคธ ภาษาสันสกฤต ฯลฯ ในการสื่อสาร แต่เมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ตรัสสั่งสอนเวไนยสัตว์ด้วยข้อธรรมต่างๆ ซึ่งภาษาที่พระพุทธองค์ใช้เป็นพระพุทธพจน์มีลักษณะเหมือนกับภาษามคธ แต่แตกต่างกับภาษามคธอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากพระพุทธพจน์(ภาษาธรรม)นั้นเป็นเหตุเพื่อนำพาเวไนยสัตว์ไปสู่การสิ้นสุดวัตตะ สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด 

ดังนั้นหากเราผู้ศึกษาธรรมไม่สามารถมองความแตกต่างระหว่างภาษาโลก-ภาษาธรรมออกเราก็จะทำได้เพียงการแปลภาษามคธ ภาษาสันสกฤต ฯลฯ ซึ่งเป็นภาษาสื่อสารจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง โดยมิได้เข้าสู่ภาษาธรรม(พระพุทธพจน์)เพื่อไปสู่การสิ้นสุดวัตตะ สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดแต่อย่างใด

ตัวอย่างเบื้องต้นเพื่อประกอบการทำความเข้าใจภาษาโลก-ภาษาธรรม

ภาษาโลก

จิตพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีความหมายว่า [จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).

จิตพจนานุกรม ไทย-ไทย โดย อ.เปลื้อง ณ นคร มีความหมายว่า (มค. จิตฺต) น. ใจ.

จิตแปลภาษา ไทย-อังกฤษ โดย NECTEC's Lexitron Dictionary มีความหมายว่า [n.] mind [syn.] ใจ,จิตใจ,ความคิด

ซึ่งคำว่า จิตที่กล่าวมาด้านบนทั้งหมดนั้นล้วนเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เป็นการแปลภาษาสื่อสารจากภาษาหนึ่ง ไปสู่ภาษาสื่อสารอีกภาษาหนึ่ง มิใช่พระพุทธพจน์ที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ภาษาธรรม

                หากเป็นพระพุทธพจน์(ภาษาธรรม)เบื้องต้น จิตจะหมายถึง จิต ๑๒๑ ประกอบด้วย กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ โดยมีองค์ประกอบเบื้องต้นดังรูปต่อไปนี้