พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาษาโลก ภาษาธรรม ตัวอย่าง “อารมณ์”

ตัวอย่าง “ภาษาโลก ภาษาธรรม” พอสังเขปเพื่อประกอบความเข้าใจ

“อารมณ์”
ภาษาโลก = ภาษาบัญญัติ = ภาษาปุถุชน
(อปายภูมิ)

“อารมณ์” แปลว่า สิ่งที่เข้ามากระทบเช่น วันนี้อารมณ์ดี วันนี้อารมณ์ไม่ดี วันนี้อารมณ์หงุดหงิด วันนี้อารมณ์ไม่ค่อยพอใจ

ภาษาธรรม = พุทธพจน์
(เป็นผลให้ “ผู้รู้ตาม” บรรลุพระอรหันต์ได้)

“อารมณ์” (หรือ อารมณ หรือ อาลัมพน) อารมณ์ มี ๖ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์

อารมณ์ทำงานร่วมกับ จิต เจตสิก ฉะนั้นสิ่งทั้งหมด ทั้งที่เห็นด้วยตา และไม่เห็นด้วยตา เรียกว่า “อารมณ์” ทั้งสิ้น เช่น

เนื่องจากปากกาเป็นรูป เมื่อเรียกปากกา แม้เราไม่เห็นก็เป็น รูป + อารมณ์ = รูปารมณ์ นั่นคือ ปากกา ก็คือ รูปารมณ์ (เพราะ ปากกา เป็นรูป) เมื่อเอาชื่อของรูปนั้น (= ปากกา) ไปแทน “อารมณ์” ก็คือ ปากกา
อากาศ ก็คือ รูปารมณ์ (เพราะอากาศเป็นรูป) เมื่อเอาชื่อของรูปนั้น (= อากาศ) ไปแทน “อารมณ์” ก็คือ อากาศ

ผม ก็คือ รูปารมณ์ (เพราะ ผมเป็นรูป) เมื่อเอาชื่อของรูปนั้น (= ผม) ไปแทน “อารมณ์” ก็คือ ผม เป็นต้น
เช่นเดียวกัน “สัททารมณ์” เสียงใดใดก็ตาม ก็คือ สัททารมณ์ ฉะนั้น สัททารมณ์ ก็คือ เสียงม้า เสียงช้าง เสียงนก ฯลฯ

ถ้าเป็นการกระทบที่จิต เรียก “ธัมมารมณ์” ประกอบด้วย จิต ๑๒๑ เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุทรูป ๑๙ บัญญัติ ๑ นิพพาน ๑

ฉะนั้น ใครมาสอบอารมณ์ อารมณ์นั้นก็คือ “ธัมมารมณ์” นั่นเอง แสดงว่า ผู้นั้นรู้ทุกอารมณ์หมดแล้วในทั้งจิต ๑๒๑ คือรู้ อกุสลอารมณ์ ๑๒ อเหตุกอารมณ์ ๑๘ มหากุสลอารมณ์ ๘ มหาวิปากอารมณ์ ๘ มหากิริยาอารมณ์ ๘ รูปาวจรมหากุสลอารมณ์ ๕ รูปาวจรมหาวิปากอารมณ์ ๕ รูปาวจรมหากิริยาอารมณ์ ๕ อรูปาวจรมหากุสลอารมณ์ ๔ อรูปาวจรมหาวิปากอารมณ์ ๔ อรูปาวจรมหากิริยาอารมณ์ ๔ โลกุตรอารมณ์ ๔๐ แสดงว่าสอบอารมณ์ถึงพระอรหันต์ ถึงนิพพาน แสดงว่า ผู้สอบอารมณ์เป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นต้น
นอกจากธัมมารมณ์ที่กล่าวมาแล้วยังมี ปัญจารมณ์อีก ๕ เป็นต้น นั่นคือ อารมณ์ในภาษาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีอีกมากมาย แต่ที่นี้ยกมาพอเป็นตัวอย่างว่าไม่ใช่อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เอา “อารมณ์ในภาษาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” มาใช้เป็น “อารมณ์ในภาษาของปุถุชน” เราไปปฏิบัติด้วยเราก็กลายเป็น “ปุถุชน” เราก็เลยโชคร้าย

นั่นคือเราจะต้องสิกขาธรรมเพื่อพัฒนาจิตของเราต่อไป อารมณ์ที่เราสิกขา เช่น อารมณ์ ๖ ตามพุทธธรรมคำสอน ก็จะเข้าไปในจิตของเรา พระพุทธองค์ก็จะทรงสอนไปเรื่อยๆ ก็จะพัฒนาจิตของเราไปเรื่อยๆ (ถ้ารู้ถูกเข้าใจถูก)

ที่เรากำลังสิกขานี้ ต้องสิกขสถึง “อารมณ์” ที่เราเข้าใจ ซึ่งเป็น “อารมณ์ในภาษาปุถุชน” ทำอย่างไรจึงจะให้เป็น “อารมณ์ในภาษาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” เหมือนเดิม นั่นคืออารมณ์ที่เราเข้าใจผิดตามภาษาปุถุชนต้องนำกลับไปสู่ความเข้าใจถูกในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไป