พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาษาโลก ภาษาธรรม ตัวอย่าง “สมาธิ”

ตัวอย่าง “ภาษาโลก ภาษาธรรม” พอสังเขปเพื่อประกอบความเข้าใจ

“สมาธิ”



ภาษาโลก = ภาษาบัญญัติ = ภาษาปุถุชน
(อปายภูมิ)


คำว่า “สมาธิ” มีใช้กันทั่วไปตั้งแต่ก่อนเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และปุถุชนก็ยังใช้กันอยู่ถึงปัจจุบันนี้ เช่น ไปทำสมาธิ ไปนั่งสมาธิ ทำการงานใดใดต้องมีสมาธิ เล่นกีฬาต้องมีสมาธิ อ่านหนังสือต้องมีสมาธิ ฯลฯ

คำว่า “สมาธิ” มาจาก สํ (สัง, สัม, สัน = รับเข้ามาทั้ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต) + อธิ (= ยิ่งใหญ่ประมาณค่ามิได้) แปลว่า สงบ

ปัจจุบันเรายืมศัพท์ธรรมพระพุทธองค์มาใช้ในฐานะ “ปุถุชน” เราก็เข้าใจในฐานะ “ปุถุชน” โดยสอนให้ใช้ตาเพ่งใบไม้อ่อน ใบไม้เขียว ใบไม้เหลือง ฯลฯ หรือทางกายเช่น ให้นั่งเอาขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น ไม่ว่าจะนั่งตัวแข็งทื่อ หรือรู้สึกตัวเบาตัวลอย ตัวหายไปก็ตาม เป็นการสอนตามความคิดเห็นของตัวเอง ไม่ได้สอนตามคำสอนพระพุทธเจ้า

ภาษาธรรม = พุทธพจน์
(เป็นผลให้ “ผู้รู้ตาม” บรรลุพระอรหันต์ได้)

หลังจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ พระพุทธองค์ได้ทรงยืมคำว่า “สมาธิ” ภาษาปุถุชน มาใช้ในธรรม ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นธรรมที่จะนำไปสู่ ฌาน มัคค ผล และนิพพาน เท่านั้น

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า อะไรบ้างที่ทำ “สมาธิ” ไม่ได้ ดังนี้

๑. ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ย่อมไม่ได้ “ฌานังคะ” คือ ไม่ได้ “ฌาน” เนื่องจาก ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ก็คือ อเหตุกจิต ๑๐ (ในจำนวนอเหตุกจิต ๑๘) หมายความว่า อเหตุกจิต ๑๐ ที่ประกอบด้วย จักขุวิญญาณ ๒ โสตวิญญาณ ๒ ฆานวิญญาณ ๒ ชิวหาวิญญาณ ๒ กายวิญญาณ ๒ ทำกุสลก็ไม่ได้ ทำอกุสลก็ไม่ได้ เป็น อพยากฤต นั่งคือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีหน้าที่ทำหน้าที่ของเขาในปัจจุบันเท่านั้น

นั่นคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สามารถทำฌานได้ แต่เป็นเพียงทางผ่านที่จะไปสู่ ฌาน มัคค ผล และนิพพาน

เมื่ออเหตุกจิต ๑๐ ทำฌานไม่ได้ ก็คือ ทำสมาธิไม่ได้ เนื่องจากสมาธิก็มาจาก ฌาน เมื่อทำฌานไม่ได้ ก็คือได้ อฌาน ก็คือได้ อกุสล และเมื่อทำฌานไม่ได้ ย่อมไม่ได้มัคค ผล นิพพานด้วย


ฌานที่ท่านอาฬารดาบส ท่านอุทกดาบส ท่านกาลเทวินดาบส พระอัญญาโกณฑัญญะ รวมตลอดถึงท่านทั้งหลายที่ได้ฌานมาแต่อดีต เป็น “อดีตภพอภิญญา” ล้วนต้องเคยเป็นชาวพุทธมาก่อน จึงล้วนเป็นฌานพุทธทั้งสิ้น

เมื่อเรารู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจึงจะเข้าไปสู่การดำเนินวิถีของฌานได้

๒. อเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒ ที่ประกอบด้วย


๒.๒ “สัมมาสังกัปปะ” ที่เข้าใจในภาษาไทยว่า ดำริชอบ ในความหมายที่เป็นจริง ต้องระลึกถึงธรรมที่นำมาให้เกิด “มหากุสล” นั่นคือ “วิตก เจตสิก” ที่ทำงานใน กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ รวมเป็น ๓๕ จิต เท่านั้น จึงเรียกว่า “อริยสัจ” เป็นธรรมของพระอริยบุคคล
๒.๑ “สัมมาทิฏฐิ” ตรงกับภาษาไทยว่าเห็นชอบ แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เป็น “อริยสัจจธรรม” ที่มี “ปัญญาเจตสิก” เป็นประธาน ทำงานกับ ติเหตุกจิต ๗๙ (ประกอบด้วย กามาวจรโสภณสัมปยุตตจิต ๑๒ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐) จึงเป็นธรรมของพระอริยบุคคล
๒.๓ “สัมมาวาจา” ที่ตรงกับภาษาไทยว่า วาจาชอบ แต่ไม่ตรงกับภาษาธรรม ที่ต้องระลึกถึงพระพุทธพจน์ ที่เรียกว่า “สัมมาวาจาเจตสิก” ใน มหากุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๔๐ รวม ๔๘ จิต ที่เป็นธรรมของพระอริยบุคคล
๒.๔ “สัมมากัมมันตะ” ตรงกับภาษาไทยว่า การทำงานชอบ ซึ่งไม่ตรงกับภาษาธรรมที่ต้องระลึกถึงพระพุทธพจน์เป็นธรรมสำหรับบุคคลที่ได้ถึงพระอริยบุคคลแล้ว เพราะจะมี “สัมมากัมมันตเจตสิก” (พุทธพจน์) ในมหากุสลจิต ๘ และโลกุตรจิต ๔๐
๒.๕ “สัมมาอาชีวะ” ตรงกับภาษาไทยว่า การเลี้ยงชีพชอบ แต่ในความหมายของพระพุทธองค์ ต้องรู้เรื่องพุทธพจน์ที่เรียกว่า “สัมมาอาชีวเจตสิก” ในมหากุสลจิต ๘ และโลกุตตรจิต ๔๐ ซึ่งเป็นธรรมของพระอริยบุคคล
๒.๖ “สัมมาวายามะ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความเพียรชอบ แต่ไม่ตรงกับหลักธรรมคำสอน ต้องมีเหตุที่มาโดยเฉพาะ คือ “วิริยเจตสิก” ที่ประกอบด้วย “กุสล” ประการเดียว ประกอบด้วย กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ รวม ๙๑ จิต เป็นธรรมที่พระอริยบุคคลท่านได้ทำถึงแล้ว
๒.๗ “สัมมาสติ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความระลึกชอบ ซึ่งไม่ตรงกับหลักพุทธธรรมคำสอน เพราะผู้ที่ถึง “สัมมาสติ” ต้องเป็นการทำงานของ “สติเจตสิก” ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ รวม ๙๑ จิต เท่านั้น (บุคคลธรรมดาที่ไม่มีฌาน ไม่สามารถแยกกุสลออกจากอกุสลได้)
๒.๘ “สัมมาสมาธิ” ตรงกับภาษาไทยว่า การตั้งใจมั่นโดยชอบ ซึ่งไม่ตรงกับหลักพุทธรรมคำสอน ที่ต้องประกอบด้วย “เอกัคคตาเจตสิก” ซึ่งเป็นเจตสิกที่เข้าได้กับทั้งกุสลจิต และอกุสลจิต แต่เมื่อเป็น “สัมมาสมาธิ” แล้ว “เอกัคคตาเจตสิก” ต้องทำงานกับกุสลจิตฝ่ายเดียว ซึ่งไม่มีใครทำได้นอกจากพระอริยบุคคลเท่านั้น ที่ต้องทำงานโดยกุสลจิต ๙๑ ที่ประกอบด้วย กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ เท่านั้น
มัคค ๘ ข้างต้น เป็นธรรมของพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ ส่วนมัคคจิต ที่เหลืออีก ๔ เป็นต้นเหตุแห่ง “ทุคติ” คือรู้ผิด เข้าใจผิด กล่าวตู่คำสอนพระพุทธองค์ไม่ให้อ่านพระไตรปิฎก ตั้งกำมะถาน(ไม่ใช่กัมมัฏฐาน) เป็นดอกเห็ด เช่นในยุคปัจจุบัน เป็นทางนำไปสู่ ทุคติภูมิ เรียกว่า “มิจฉามัคค” ได้แก่
๒.๙ “มิจฉาทิฏฐิ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความเห็นผิด (ซึ่งไม่ตรงกับภาษาธรรม) ที่ได้แก่ ความรู้ผิด เข้าใจผิด คิดผิด ปฏิบัติผิด สอนผิด นอกพระธรรมคำสอน ดูเหมือนเข้าใจคำสอน เช่น ยกพระสูตรมาสอน อะไรที่เห้นด้วยก็บอกว่าใช่ อะไรไม่เห็นด้วยก็ปฏิเสธ อาทิ พระพุทธองค์ประสูติแล้ว ทรงพระดำเนินได้ ๗ ก้าวเลยไม่น่าเชื่อ, ยกพระสูตรเข้าข้างตนเอง เช่น เรื่องใบไม้ในกำมือ พระโปฐิละ, เชื่องมงาย เชื่อการสร้างโลก สร้างดวงอาทิตย์ สร้างมนุษย์ ดวงอาทิตย์ขึ้นเพราะมีผู้บันดาล, ยึดมั่นในเรื่องโลกๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีตัวทิฏฐิที่เรียกว่า “ทิฏฐิเจตสิก” เป็นตัวทำงานกับ “ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔” พาให้เกิดในอบายภูมิถึงอเวจีมหานรก
๒.๑๐ “มิจฉาสังกัปปะ” ตรงกับภาษาไทยว่า ดำริผิด ซึ่งไม่ตรงกับหลักธรรมที่หมายถึง เรื่องตรึกนึกคิด ทั้ง โลภะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ในจิต แล้วนำขึ้นมาคิดใหม่ ทำให้เกิดน้อยใจ เสียใจ ไม่พอใจ ทำให้คิดฟุ้งซ่าน แล้วออกทางกายกรรม วจีกรรม เช่น การพูดคุยทางโลกทุกเรื่อง การแสดงออกทางกายที่เป็นเรื่องทางโลกทุกชนิด ซึ่งมี “วิตกเจตสิก” ไปทำงานกับ “อกุสลจิต ๑๒” เป็นโทษที่บางทีก็ดีใจ บางทีก็เสียใจ บางทีโกรธ บางทีก็งมงาย บางทีก็เหมือนได้ฌาน ได้สมาธิ นิ่งสงบ
๒.๑๑ “มิจฉาวายามะ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความเพียรผิด ตามหลักธรรม ได้แก่ ขยันหมั่นพียร ที่ประกอบด้วย โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒ ที่เรียก กามสัญญา โคจรสัญญา มรณสัญญา ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีความเพียร แยกไม่ออกว่าเกิดเป็นคนแล้วต้องขยันทำมาหากิน ไม่ขี้เกียจ (แต่ต้องมี “ธรรมสัญญา” เป็นที่อาศัย) ที่รู้กันทั่วไปว่า “วิริยเจตสิก” เป็นตัวทำงาน ที่ประกอบกับ กาย วาจา ใจ เป็น อกุสล เป็นทางไปอบายภูมิ
๒.๑๒ “มิจฉาสมาธิ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความตั้งมั่นที่ผิด โดยเข้าใจว่า การเล่นกีฬา ทำงาน เรียนหนังสือ ยิงนก ตกปลา มือปืนยิงคน เล่นกอล์ฟ ต้องมีสมาธิ ไปนั่งกำมะถานแล้วเกิดความสุข ความสงบ บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงชี้ว่า นี่คือการหลงทาง เพราะอาการที่เป็นเกิดจาก “เอกัคคตาเจตสิก” ซึ่งทำให้คนเข้าใจผิด เพราะอาจนั่งได้ ๒-๓ วัน เนื่องด้วยเจตสิกดวงนี้ ที่ไปทำงานกับ “อกุสลจิต ๑๑” (โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๑) จนนำมากล่าวกันเองว่าเป็นพระ “อรหันต์สุกขวิปัสสก” ไม่ต้องได้ฌาน ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติของ “เอกัคคตาเจตสิก” มี “อุปสม” ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเหมือนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และยังมีลักษณะเป็น “สุข” ที่เข้าใจว่าเป็น “สมาธิ” และหากทำ “วิปัสสนา” ก็จะกลายเป็น “สุกขวิปัสสก” หรือ “สุกขวิปัสสโก” แล้วสรุปเองว่า เป็นพระ “อรหันต์สุกขวิปัสสก” หรือ “สุกขวิปัสสโก” แล้วสรุปเองว่า เป็นพระ “อรหันต์สุกขวิปัสสก” ไม่ต้องได้ฌาน ซึ่งส่วนมากจะถูกหลอกกันตรงนี้ คือ “เอกัคคตาเจตสิก” ไปเข้ากับ โลภะ เพราะใน “โลภะ” มีทั้งโสมนัส และทิฏฐิคตสัมปยุต ถ้าเมื่อใด “เอกัคคตาเจตสิก” ไปเข้ากับ โทสะ ก็ทำให้เข้าใจผิดว่าต้องแผ่เมตตา
นั่นคือ ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น เป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉามัคค จนถึง มิจฉาวิมุตติ
๓. เอกัคคตาเจตสิกใน “อวิริยจิต ๑๖” ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธินทรีย์ และสมาธิพละ (สมาธิ = สมถะ = ฌาน) นั่นคือแสดงว่า อวิริยจิต ๑๖ อยู่ที่ อเหตุกจิต ๑๘ แต่มีวิริยะเจตสิกมาทำงานกับอเหตุกจิต ๒ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ จึงเหลือเป็น อวิริยจิต ๑๖ ฉะนั้นจิตที่เหลือจะเป็น อฌาน, ฌาน, โลกุตตร = ๑๒๑ – ๑๖ = ๑๐๕ จิต และเนื่องจาก “เอกัคคตาเจตสิก” ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิด “สมาธิ” เข้าได้กับจิตทั้ง ๑๒๑ จึงเข้าได้กับจิต ทั้ง ๑๐๕ นี้ แล้วสิ่งที่แม้เข้าได้อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถได้สมาธินทรีย์ และสมาธิพละก็จะถูกตัดไปเรื่อยๆ เช่น วิจิกิจฉา ไม่สามารถทำสมาธิได้ เป็นต้น (รายละเอียดจะอธิบายในโอกาสต่อไป)

๔ เอกัคคตาเจตสิก ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่ง มิจฉาสมาธิ มัคคังคะ สมาธินทรีย์และสมาธิพละ (รายละเอียดจะอธิบายในโอกาสต่อไป) นั่นคือ เมื่อใดมี “วิจิกิจฉา” ฌานก็ไม่ได้ อฌานก็ไม่ได้ คือ แม้แต่มิจฉาก็ไม่ได้ และไม่ได้จนถึง มิจฉาวิมุตติ และมิจฉาวิมุตติญาณทัสสนะด้วย ฉะนั้น ถ้าคิดเอาเอง แบบคนไม่รู้ตามคำสอนพระพุทธองค์ ตัวอวิชชาที่เราเคยเป็นไปอย่างไร ก็เข้ามาทำงาน ฌานังคะ ย่อมาจาก ฌาน + อังคะ (หรือ องค์)

“ฌาน” เป็นชื่อของจิตชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และโลกุตตรจิต แยกออกเป็น รูปาวจรฌานจิต ๑๕ อรูปาวจรฌานจิต ๑๒ โลกุตตรฌานจิต ๔๐ รวม ฌานจิต ๖๗

จะเห็นว่าในจิต ๑๒๑ ของพระพุทธองค์ไม่มีคำ “สมาธิ” เลย แต่คำ “สมาธิ” อยู่ในพระสูตร หรือพระสุตตันตปิฎก นั่นคือ “สมาธิ” เป็นผลที่ได้
เมื่อเป็นปรมัตถธรรม สมาธิ ก็มาจาก “ฌานจิต ๒๗” (ได้แก่ รูปฌานจิต ๑๕ อรูปฌานจิต ๑๒) และ “โลกุตตรจิต ๔๐” ได้แก่ โลกุตตรฌานจิต ๔๐”
ฉะนั้นผู้ที่สอนสมาธิ ต้องได้อย่างน้อย ปฐมฌาน และเนื่องจากต้องอยู่ใน โลกุตตรจิต ๔๐ ด้วย ดังนั้นต้องเป็นปฐมฌานที่เป็นพระโสดาบันด้วย เป็นอย่างน้อย
ถ้าเราสอนเรื่องสมาธิอย่างน้อยในตัวเราต้องมี ฌาน โลกุตตร ถ้าผู้สอนไม่มีอะไรข้างต้นเลย ก็เท่ากับสอนด้วย “ทิฏฐิ” ของตนเอง คือ “ทิฏฐิ” ไปจับ “สมาธิ” ก็คือ “มิจฉาสมาธิ”

ในคำสอนของพระพุทธองค์ “ทำสมาธิ” ก็แสดงว่า

เมื่อได้ปฐมฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้ทุติยฌาน

เมื่อได้ทุติยฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้ตติยฌาน

เมื่อได้ตติยฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้จตุตถฌาน

เมื่อได้จตุตถฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้ปัญจมฌาน

เมื่อได้ปัญจมฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้อากาสานัญจายตนอรูปฌาน

เมื่อได้อากาสานัญจายตนอรูปฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้วิญญานัญจายตนอรูปฌาน

เมื่อได้วิญญานัญจายตนอรูปฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้อากิญจัญญายตนอรูปฌาน

เมื่อได้อากิญจัญญายตนอรูปฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้เนวสัญญานาสัญญายตนอรูปฌาน

พระพุทธองค์ให้ไปทำต่อ ไม่ใช่ให้มาเริ่มต้น “เพ่ง” อย่างที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้

นั่นคือ

ถ้าได้ พระโสตาปัตติมัคค ในปฐมฌานก็ทำต่อให้ได้ พระโสตาปัตติผล ในปฐมฌาน

ถ้าได้ พระสกทาคามิมัคค ในปฐมฌานก็ทำต่อให้ได้ พระสกทาคามิผล ในปฐมฌาน

ถ้าได้ พระอนาคามัคค ในปฐมฌานก็ทำต่อให้ได้ พระอนาคามิผล ในปฐมฌาน
ถ้าได้ พระอรหัตตมัคค ในปฐมฌานก็ทำต่อให้ได้ พระอรหัตตผล ในปฐมฌาน