พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ

การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

กรุงราชคฤห์ ที่นี่ยังบังเกิดคู่พระอัครสาวก คือ พระมหาสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะอุปสมบทแล้ว ๗ วัน บรรลุพระอรหัตตผลที่กัลป์วาลมุตตคาม ส่วนพระมหาสารีบุตรบรรลุพระอรหัตตผล ๑๕ วัน หลังจากอุปสมบทที่ถ้ำสุกรขาตา (อ่านว่า สุ-กะ-ระ-ขา-ตา) ภูเขาคิชกูฏ ในวันที่พระมหาสารีบุตรบรรลุอรหัตตผล คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ในบ่ายวันนั้นมีการประชุมสงฆ์ ณ เวฬุวนาราม ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ

๑. เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ อยู่ในมาฆฤกษ์

๒. พระภิกขุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

๓. พระภิกขุทุกรูปล้วนเป็นพระอรหันตขีณาสพ ได้อภิญญา ๖

๔. พระภิกขุทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา

พระโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นธัมมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงแสดงในที่ประชุมสงฆ์ ในวันมาฆปูรณมี วันเพ็ญเดือนสาม การประชุมเป็นการประชุมโดยจาตุรงคสันนิบาต ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราพระองค์นี้ ได้ทรงแสดงครั้งเดียว คือ หลังจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถานเวลาบ่าย แก่พระภิกขุ ๑,๒๕๐ รูป คือ บริวารของชฎิล ๑,๐๐๐ รูป และบริวารของพระมหาสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ ๒๕๐ รูป

โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ

(นำ) หันทะมะยัง โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาฐัง ภะนามะ เส
สัตตันนัง ภะคะวันตานัง สัมพุทธานัง มะเหสินัง
โอวาทะปาฏิโมกขัสสะ อุทเทสัตเตนะ ทัสสิตา
มะหาปะทานะสุตตันเต ติสโส คาถาติ โน สุตัง
ตีหิ สิกขาหิ สังขิตตัง ยาสุ พุทธานะ สาสะนัง
ตาสัมปะกาสะกัง ธัมมะ ปะริยายัง ภะณามะ เส.

เอวัมเม สุตตัง เอกังสะมะยัง อุททิฏฐัง โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ, โอวาทะปาฏิโมกขัง ตีหิ คาถาหิ.

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา, นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต.
สัพพะปาปัสสะ อะกะระนัง กุสะลัสสูปะสัมปะทา
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง เอตัง พุทธานัง สาสะนัง.
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
อะธิจิตเต จะ อาโยโค เอตัง พุทธานะ สาสะนันติ

อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา.

กะถัญจะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. เหฎฐิเมนะปิ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. กะถัญจะ เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. อิธะ อะริยะสาวะโก ปาณาติปาตา ปฏิวิระโต โหติ, อะทินนาทานา ปะฏิวิระโต โหติ, กาเมสุ มิจฉาจารา ปะฏิวิระโต โหติ, มุสาวาทา ปะฏิวิระโต โหติ, สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา ปะฏิวิระโต โหตีติ.

เอวัง โข เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา, กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. อิธะ ภิกขุ สีละวา โหติ, ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุโต วิหะระติ อาจาระโคจะระสัมปันโน, อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ สิกขะติ สิกขาปะเทสูติ. เอวัง โข อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา.

กะถัญจะ สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. เหฎฐิเมนะปิ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา, กะถัญจะ เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อิธะ อะริยะสาวะโก โวสสัคคารัมมะณัง กะริตวา, ละภะติ สะมาธิง ละภะติ จิตตัสเสกัคคะตันติ. เอวัง โข เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อิธะ ภิกขุ วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ, สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัมปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา, อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน, สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ, ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ, ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา, ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา, อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธัง, จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระตีติ. เอวัง โข อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา.

กะถัญจะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. เหฎฐิเมนะปิ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา กะถัญจะ เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. อิธะ อะริยะสาวะโก ปัญญะวา โหติ, อุทะยัตถะคามินิยา ปัญญายะ สะมันนาคะโต, อะริยายะ นิพเพธิกายะ สัมมา ทุกขักขะยะคามินิยาติ.

เอวัง โข เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา อิธะ ภิกขุ อิทัง ทุกขันติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. อะยัง ทุกขะสะมุทะโยติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. อะยัง ทุกขะนิโรโธติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. อะยัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา ยะถาภูตัง ปะชานาตีติ. เอวัง โข อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา.

สีละปะริภาวิโต สะมาธิ มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา, ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจะติ. เสยยะถีทัง. กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา. ภาสิตา โข ปะนะ ภะคะวะตา ปะรินิพพานะสะมะเย อะยัง ปัจฉิมะวาจา, หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว, วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ. ภาสิตัญจิทัง ภะคะวะตา, เสยยะถาปิ ภิกขะเว ยานิ กานิจิ ชังคะลานัง ปาณานัง ปะทะชาตานิ, สัพพานิ ตานิ หัตถิปะเท สะโมธานัง คัจฉันติ หัตถิปะทัง เตสัง อัคคะมักขายะติ, ยะทิทัง มะหันตัตเตนะ. เอวะเมวะ โข ภิกขะเว เยเกจิ กุสะลา ธัมมา, สัพเพ เต อัปปะมาทะมูละกา อัปปาทะสะโมสะระณา, อัปปะมาโท เตสัง อัคคะมักขายะตีติ ตัสมาติหะเมหะหิ สิกขิตัพพัง, ติพพาเปกขา ภะวิสสามะ, อะธิสีละสิกขาสะมาทาเน, อะธิจิตตะสิกขาสามาทาเน, อะธิปัญญาสิกขาสะมาทาเน, อัปปะมาเทนะ สัมปาเทสสามาติ. เอวัญหิ โน สิกขิตัพพัง.

โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ นิฏฐิโต.