พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ

การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

กรุงราชคฤห์ ที่นี่ยังบังเกิดคู่พระอัครสาวก คือ พระมหาสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะอุปสมบทแล้ว ๗ วัน บรรลุพระอรหัตตผลที่กัลป์วาลมุตตคาม ส่วนพระมหาสารีบุตรบรรลุพระอรหัตตผล ๑๕ วัน หลังจากอุปสมบทที่ถ้ำสุกรขาตา (อ่านว่า สุ-กะ-ระ-ขา-ตา) ภูเขาคิชกูฏ ในวันที่พระมหาสารีบุตรบรรลุอรหัตตผล คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ในบ่ายวันนั้นมีการประชุมสงฆ์ ณ เวฬุวนาราม ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ

๑. เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ อยู่ในมาฆฤกษ์

๒. พระภิกขุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

๓. พระภิกขุทุกรูปล้วนเป็นพระอรหันตขีณาสพ ได้อภิญญา ๖

๔. พระภิกขุทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา

พระโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นธัมมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงแสดงในที่ประชุมสงฆ์ ในวันมาฆปูรณมี วันเพ็ญเดือนสาม การประชุมเป็นการประชุมโดยจาตุรงคสันนิบาต ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราพระองค์นี้ ได้ทรงแสดงครั้งเดียว คือ หลังจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถานเวลาบ่าย แก่พระภิกขุ ๑,๒๕๐ รูป คือ บริวารของชฎิล ๑,๐๐๐ รูป และบริวารของพระมหาสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ ๒๕๐ รูป

โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ

(นำ) หันทะมะยัง โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาฐัง ภะนามะ เส
สัตตันนัง ภะคะวันตานัง สัมพุทธานัง มะเหสินัง
โอวาทะปาฏิโมกขัสสะ อุทเทสัตเตนะ ทัสสิตา
มะหาปะทานะสุตตันเต ติสโส คาถาติ โน สุตัง
ตีหิ สิกขาหิ สังขิตตัง ยาสุ พุทธานะ สาสะนัง
ตาสัมปะกาสะกัง ธัมมะ ปะริยายัง ภะณามะ เส.

เอวัมเม สุตตัง เอกังสะมะยัง อุททิฏฐัง โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ, โอวาทะปาฏิโมกขัง ตีหิ คาถาหิ.

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา, นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต.
สัพพะปาปัสสะ อะกะระนัง กุสะลัสสูปะสัมปะทา
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง เอตัง พุทธานัง สาสะนัง.
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
อะธิจิตเต จะ อาโยโค เอตัง พุทธานะ สาสะนันติ

อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา.

กะถัญจะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. เหฎฐิเมนะปิ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. กะถัญจะ เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. อิธะ อะริยะสาวะโก ปาณาติปาตา ปฏิวิระโต โหติ, อะทินนาทานา ปะฏิวิระโต โหติ, กาเมสุ มิจฉาจารา ปะฏิวิระโต โหติ, มุสาวาทา ปะฏิวิระโต โหติ, สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา ปะฏิวิระโต โหตีติ.

เอวัง โข เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา, กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. อิธะ ภิกขุ สีละวา โหติ, ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุโต วิหะระติ อาจาระโคจะระสัมปันโน, อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ สิกขะติ สิกขาปะเทสูติ. เอวัง โข อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา.

กะถัญจะ สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. เหฎฐิเมนะปิ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา, กะถัญจะ เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อิธะ อะริยะสาวะโก โวสสัคคารัมมะณัง กะริตวา, ละภะติ สะมาธิง ละภะติ จิตตัสเสกัคคะตันติ. เอวัง โข เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อิธะ ภิกขุ วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ, สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัมปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา, อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน, สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ, ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ, ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา, ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา, อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธัง, จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระตีติ. เอวัง โข อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา.

กะถัญจะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. เหฎฐิเมนะปิ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา กะถัญจะ เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. อิธะ อะริยะสาวะโก ปัญญะวา โหติ, อุทะยัตถะคามินิยา ปัญญายะ สะมันนาคะโต, อะริยายะ นิพเพธิกายะ สัมมา ทุกขักขะยะคามินิยาติ.

เอวัง โข เหฎฐิเมนะ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา อิธะ ภิกขุ อิทัง ทุกขันติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. อะยัง ทุกขะสะมุทะโยติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. อะยัง ทุกขะนิโรโธติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. อะยัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา ยะถาภูตัง ปะชานาตีติ. เอวัง โข อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ, ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา.

สีละปะริภาวิโต สะมาธิ มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา, ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจะติ. เสยยะถีทัง. กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา. ภาสิตา โข ปะนะ ภะคะวะตา ปะรินิพพานะสะมะเย อะยัง ปัจฉิมะวาจา, หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว, วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ. ภาสิตัญจิทัง ภะคะวะตา, เสยยะถาปิ ภิกขะเว ยานิ กานิจิ ชังคะลานัง ปาณานัง ปะทะชาตานิ, สัพพานิ ตานิ หัตถิปะเท สะโมธานัง คัจฉันติ หัตถิปะทัง เตสัง อัคคะมักขายะติ, ยะทิทัง มะหันตัตเตนะ. เอวะเมวะ โข ภิกขะเว เยเกจิ กุสะลา ธัมมา, สัพเพ เต อัปปะมาทะมูละกา อัปปาทะสะโมสะระณา, อัปปะมาโท เตสัง อัคคะมักขายะตีติ ตัสมาติหะเมหะหิ สิกขิตัพพัง, ติพพาเปกขา ภะวิสสามะ, อะธิสีละสิกขาสะมาทาเน, อะธิจิตตะสิกขาสามาทาเน, อะธิปัญญาสิกขาสะมาทาเน, อัปปะมาเทนะ สัมปาเทสสามาติ. เอวัญหิ โน สิกขิตัพพัง.

โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ นิฏฐิโต.

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จิต ๑๒๑: กามาวจรจิต ๕๔: กามาวจรโสภณจิต ๒๔


จิต ๑๒๑ ประกอบด้วย กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐

กามาวจรจิต ๕๔ ประกอบด้วย อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔

กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ประกอบด้วย กามาวจรมหากุสลจิต ๘ กามาวจรมหาวิปากจิต ๘ กามาวจรมหากิริยาจิต ๘

กามาวจรมหากุสลจิต ๘
๑. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
     เจตสิก ๓๘: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕
๒. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
     เจตสิก ๓๘: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕
๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
     เจตสิก ๓๗: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้น ปัญญาเจตสิก)
๔. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
     เจตสิก ๓๗: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้น ปัญญาเจตสิก)
๕. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
     เจตสิก ๓๗: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๕
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
     เจตสิก ๓๗: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๕
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
     เจตสิก ๓๖: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้น ปัญญาเจตสิก)
๘. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากุสะละจิตตัง
     เจตสิก ๓๖: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้น ปัญญาเจตสิก)

สรุปเจตสิกที่ทำงานร่วมกับ กามาวจรมหากุสลจิต ๘

กามาวจรมหาวิปากจิต ๘
๑. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหาวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๓๓: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑
๒. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหาวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๓๓: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑
๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหาวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๓๒: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
๔. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหาวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๓๒: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
๕. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหาวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๓๒: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหาวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๓๒: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหาวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๓๑: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
๘. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหาวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๓๑: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ กามาวจรมหาวิปากจิต ๘

กามาวจรมหากิริยาจิต ๘
๑. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๓๕: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้น วิรตีเจตสิก ๓)
๒. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๓๕: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้น วิรตีเจตสิก ๓)
๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๓๔: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้น วิรตีเจตสิก ๓ ปัญญาเจตสิก ๑)
๔. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๓๔: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้น วิรตีเจตสิก ๓ ปัญญาเจตสิก ๑)
๕. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๓๔: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้น วิรตีเจตสิก ๓)
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๓๔: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้น วิรตีเจตสิก ๓)
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๓๓: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้น วิรตีเจตสิก ๓ ปัญญาเจตสิก ๑)
๘. อุเปกขาสะหะคะตัง ญาณะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ มะหากิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๓๓: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้น วิรตีเจตสิก ๓ ปัญญาเจตสิก ๑)

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ มหากิริยาจิต ๘

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จิต ๑๒๑: กามาวจรจิต ๕๔: อเหตุกจิต ๑๘


จิต ๑๒๑ ประกอบด้วย กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐

กามาวจรจิต ๕๔ ประกอบด้วย อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔

อเหตุกจิต ๑๘ ประกอบด้วย อกุสลวิปากจิต ๗ อเหตุกกุสลวิปากจิต ๘ อเหตุกกิริยาจิต ๓

อกุสลวิปากจิต ๗
๑. อุเปกขาสะหะคะตัง จักขุวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๒. อุเปกขาสะหะคะตัง โสตะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๓. อุเปกขาสะหะคะตัง ฆานะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๔. อุเปกขาสะหะคะตัง ชิวหาวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๕. ทุกขะสะหะคะตัง กายะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง สัมปะฏิจฉะนะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ อกุสลวิปากจิต ๗

อเหตุกกุสลวิปากจิต ๘
๑. อุเปกขาสะหะคะตัง จักขุวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๒. อุเปกขาสะหะคะตัง โสตะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๓. อุเปกขาสะหะคะตัง ฆานะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๔. อุเปกขาสะหะคะตัง ชิวหาวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๕. สุขะสะหะคะตัง กายะวิญญานัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๗: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง สัมปะฏิจฉะนะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๘. โสมะนัสสะสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกุสะละวิปากะจิตตัง
     เจตสิก ๑๑: อัญญสมานเจตสิก ๑๑ (เว้นวิริยะเจตสิก ฉันทะเจตสิก)

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ อเหตุกกุสลวิปากจิต ๘

อเหตุกกิริยาจิต ๓
๑. อุเปกขาสะหะคะตัง ปัญจะทะวาราวัชชะนะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๑๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๒. อุเปกขาสะหะคะตัง มะโนทะวาราวัชชะนะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๑๑: อัญญสมานเจตสิก ๑๑ (เว้น ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก)
๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง หะสิตุปปาทะจิตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะเหตุกะกิริยะจิตตัง
     เจตสิก ๑๒: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ฉันทะเจตสิก)

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ อเหตุกกิริยาจิต ๓

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จิต ๑๒๑: กามาวจรจิต ๕๔: อกุสลจิต ๑๒


จิต ๑๒๑ ประกอบด้วย กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐

กามาวจรจิต ๕๔ ประกอบด้วย อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔

อกุสลจิต ๑๒ ประกอบด้วย โลภะมูลจิต ๘ โทสะมูลจิต ๒ โมหะมูลจิต ๒

โลภมูลจิต ๘
๑. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๑๙: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โมจตุกะเจตสิก ๔ โลภะเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑
๒. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๒๑: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โมจตุกะเจตสิก ๔ โลภะเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ ถีทุกะเจตสิก ๒
๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๑๙: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โมจตุกะเจตสิก ๔ โลภะเจตสิก ๑ มานะเจตสิก ๑
๔. โสมะนัสสะสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๒๑: อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โมจตุกะเจตสิก ๔ โลภะเจตสิก ๑ มานะเจตสิก ๑ ถีทุกะเจตสิก ๒
๕. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๑๘: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกะเจตสิก ๔ โลภะเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑
๖. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๒๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกะเจตสิก ๔ โลภะเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ ถีทุกะเจตสิก ๒
๗. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๑๘: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกะเจตสิก ๔ โลภะเจตสิก ๑ มานะเจตสิก ๑
๘. อุเปกขาสะหะคะตัง ทิฏฐิคะตะวิปปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โลภะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๒๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกะเจตสิก ๔ โลภะเจตสิก ๑ มานะเจตสิก ๑ ถีทุกะเจตสิก ๒

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ โลภมูลจิต ๘

โทสะมูลจิต ๒
๑. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๒๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกะเจตสิก ๔ โทจตุกะเจตสิก ๔
๒. โทมะนัสสะสะหะคะตัง ปฏิฆะสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โทสะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๒๐: อัญญสมานเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกะเจตสิก ๔ โทจตุกะเจตสิก ๔ถีทุกะเจตสิก ๒

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ โทสะมูลจิต ๒


โมหะมูลจิต ๒
๑. อุเปกขาสะหะคะตัง วิจิกิจฉาสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โมหะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๑๕: อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์เจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก) โมจตุกะเจตสิก ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑
๒. อุเปกขาสะหะคะตัง อุทธัจจะสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง กามาวะจะระ อะกุสะละ โมหะมูละจิตตัง
     เจตสิก ๑๕: อัญญสมานเจตสิก ๑๑ (เว้น ปีติเจตสิก ฉันทะเจตสิก) โมจตุกะเจตสิก ๔

สรุปเจตสิกที่ทำงานกับ โมหะมูลจิต ๒

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทำไมจึงต้องจดจำ และเข้าใจ จิต เจตสิก รูป และลักขณาทิจตุกกะ

จิต ๑๒๑
เจตสิก ๕๒

รูป ๒๘

เกิดเมื่อใด ทุกข์เมื่อนั้น! การเกิดมาเป็นสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ อันประกอบด้วย อบายภูมิ ๔ (สัตว์นรก อสุรกาย เปรต สัตว์เดรัจฉาน) มนุษย์ ๑ เทวดา ๖ พรหม ๑๖ และอรูปพรหม ๔ ล้วนต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏอันยาวนานไม่มีที่สิ้นสุด ล้วนอยู่ในความทุกข์ทั้งสิ้น (ทุกข์ ๑๖๐ ประกอบด้วย โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะเจตสิก ๑) รูป ๒๘) เป็นวิปาก เป็นผลที่มองเห็นกันอยู่ แต่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ จนต้องรอคอยการอุบัติขึ้นของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้แล้วในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระพุทธองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปปาทธัมม ทรงค้นพบเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด ทรงประทานพุทธธัมมคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งในปัจจุบันคือ “พระไตรปิฎก” อันประกอบด้วย

พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็น ผล
พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็น ผล
พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็น
เหตุ

พระอภิธรรมซึ่งมี “ปรมัตถธัมม” อันประกอบด้วยเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ปรมัตถธัมม เป็นธัมมที่คัมภีระ มีความละเอียด ลึก ซึ้ง เป็นธัมมที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่มีผู้ใดสามารถรู้ได้เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสร้างพระปารมีมาตลอด ๒๐ อสงไขยกำไรแสนกัปป์ เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ออกจากสังสารวัฏฏ เหตุนั้นคือเรื่องของ “จิตปรมัตถะ เจตสิกปรมัตถะ และรูปปรมัตถะ พร้อมทั้งวิเสสลักษณะ หรือลักขณาทิจตุกกะ” การจะดับเหตุได้ต้องรู้ เรื่องเหตุ จึงจะไปดับรูปดับนาม เพราะ จิต และเจตสิก คือ นาม ส่วน รูป คือ รูป สัตวะทั้งหลาย มีรูป และมีนาม ล้วนทำให้เกิดทุกข์ (ทุกข์ ๑๖๐ ประกอบด้วย โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะเจตสิก ๑) รูป ๒๘) เมื่อดับรูป ดับนามได้ ก็ไม่ต้องมาเกิดมาทุกข์อีก คือ “นิพพาน”การเรียนทางโลกที่เราได้ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ทำมาหาเลี้ยงชีวิตได้ เพราะเราเริ่มเรียนตั้งแต่พื้นฐานอนุบาล คือ ก.ไก่ ข.ไข่ เป็นต้น เช่นเดียวกัน การสิกขาในทางธัมม การสิกขาในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ต้องเริ่มจากพื้นฐานเบื้องต้นแล้วทำความเข้าใจไปเป็นลำดับๆ จนกว่าจะเข้าใจธัมม รู้แจ้งธัมม บรรลุธัมม เป็นพระอริยบุคคล ก็ต้องสิกขาธัมมเบื้องต้น คือ จิต เจตสิก รูป และลักขณาทิจตุกกะ ซึ่งเป็นตัวทำงานของ จิต เจตสิก รูป ให้เกิด สามัญลักษณะ คือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ นั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยเริ่มรู้จัก จิตมีกี่ประเภท? มีการจำแนกอย่างไร? เจตสิกมีกี่ประเภท? มีการจำแนกอย่างไร? รูปมีกี่ประเภท? มีการจำแนกอย่างไร? มีการทำงานกันด้วยวิเสสลักษณะอย่างไร? เราก็จะมีธัมมของพระพุทธเจ้า เข้าไปอยู่ในจิตของเรา เป็นผังรองรับธัมมเบื้องสูงต่อไป ธัมมของพระพุทธเจ้าเป็นมหากุสล นำไปสู่ฌาน สมาธิ และปัญญา เข้าไปตัดกิเลส และถึงโลกุตตรในที่สุด

ปริยัติ คือ พระพุทธวจน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ปฏิปัตติ คือ ผลที่ได้เป็นพระอริยบุคคล ๘ ประเภทได้แก่ พระโสตาปัตติมัคคบุคคล พระโสตาปัตติผลบุคคล พระสกทาคามิมัคคบุคคล พระสกทาคามิผลบุคคล พระอนาคามิมัคคบุคคล พระอนาคามิผลบุคคล พระอรหัตตมัคคบุคคล พระอรหัตตผลบุคคล

ปฏิเวธ คือ พระนิพพาน

ตราบใดที่ยังมีผู้สิกขาธัมม ตราบนั้นไม่สิ้นพระอรหันต์

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาษาโลก ภาษาธรรม ตัวอย่าง “สมาธิ”

ตัวอย่าง “ภาษาโลก ภาษาธรรม” พอสังเขปเพื่อประกอบความเข้าใจ

“สมาธิ”



ภาษาโลก = ภาษาบัญญัติ = ภาษาปุถุชน
(อปายภูมิ)


คำว่า “สมาธิ” มีใช้กันทั่วไปตั้งแต่ก่อนเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และปุถุชนก็ยังใช้กันอยู่ถึงปัจจุบันนี้ เช่น ไปทำสมาธิ ไปนั่งสมาธิ ทำการงานใดใดต้องมีสมาธิ เล่นกีฬาต้องมีสมาธิ อ่านหนังสือต้องมีสมาธิ ฯลฯ

คำว่า “สมาธิ” มาจาก สํ (สัง, สัม, สัน = รับเข้ามาทั้ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต) + อธิ (= ยิ่งใหญ่ประมาณค่ามิได้) แปลว่า สงบ

ปัจจุบันเรายืมศัพท์ธรรมพระพุทธองค์มาใช้ในฐานะ “ปุถุชน” เราก็เข้าใจในฐานะ “ปุถุชน” โดยสอนให้ใช้ตาเพ่งใบไม้อ่อน ใบไม้เขียว ใบไม้เหลือง ฯลฯ หรือทางกายเช่น ให้นั่งเอาขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น ไม่ว่าจะนั่งตัวแข็งทื่อ หรือรู้สึกตัวเบาตัวลอย ตัวหายไปก็ตาม เป็นการสอนตามความคิดเห็นของตัวเอง ไม่ได้สอนตามคำสอนพระพุทธเจ้า

ภาษาธรรม = พุทธพจน์
(เป็นผลให้ “ผู้รู้ตาม” บรรลุพระอรหันต์ได้)

หลังจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ พระพุทธองค์ได้ทรงยืมคำว่า “สมาธิ” ภาษาปุถุชน มาใช้ในธรรม ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นธรรมที่จะนำไปสู่ ฌาน มัคค ผล และนิพพาน เท่านั้น

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า อะไรบ้างที่ทำ “สมาธิ” ไม่ได้ ดังนี้

๑. ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ย่อมไม่ได้ “ฌานังคะ” คือ ไม่ได้ “ฌาน” เนื่องจาก ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ก็คือ อเหตุกจิต ๑๐ (ในจำนวนอเหตุกจิต ๑๘) หมายความว่า อเหตุกจิต ๑๐ ที่ประกอบด้วย จักขุวิญญาณ ๒ โสตวิญญาณ ๒ ฆานวิญญาณ ๒ ชิวหาวิญญาณ ๒ กายวิญญาณ ๒ ทำกุสลก็ไม่ได้ ทำอกุสลก็ไม่ได้ เป็น อพยากฤต นั่งคือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีหน้าที่ทำหน้าที่ของเขาในปัจจุบันเท่านั้น

นั่นคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สามารถทำฌานได้ แต่เป็นเพียงทางผ่านที่จะไปสู่ ฌาน มัคค ผล และนิพพาน

เมื่ออเหตุกจิต ๑๐ ทำฌานไม่ได้ ก็คือ ทำสมาธิไม่ได้ เนื่องจากสมาธิก็มาจาก ฌาน เมื่อทำฌานไม่ได้ ก็คือได้ อฌาน ก็คือได้ อกุสล และเมื่อทำฌานไม่ได้ ย่อมไม่ได้มัคค ผล นิพพานด้วย


ฌานที่ท่านอาฬารดาบส ท่านอุทกดาบส ท่านกาลเทวินดาบส พระอัญญาโกณฑัญญะ รวมตลอดถึงท่านทั้งหลายที่ได้ฌานมาแต่อดีต เป็น “อดีตภพอภิญญา” ล้วนต้องเคยเป็นชาวพุทธมาก่อน จึงล้วนเป็นฌานพุทธทั้งสิ้น

เมื่อเรารู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจึงจะเข้าไปสู่การดำเนินวิถีของฌานได้

๒. อเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒ ที่ประกอบด้วย


๒.๒ “สัมมาสังกัปปะ” ที่เข้าใจในภาษาไทยว่า ดำริชอบ ในความหมายที่เป็นจริง ต้องระลึกถึงธรรมที่นำมาให้เกิด “มหากุสล” นั่นคือ “วิตก เจตสิก” ที่ทำงานใน กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ รวมเป็น ๓๕ จิต เท่านั้น จึงเรียกว่า “อริยสัจ” เป็นธรรมของพระอริยบุคคล
๒.๑ “สัมมาทิฏฐิ” ตรงกับภาษาไทยว่าเห็นชอบ แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เป็น “อริยสัจจธรรม” ที่มี “ปัญญาเจตสิก” เป็นประธาน ทำงานกับ ติเหตุกจิต ๗๙ (ประกอบด้วย กามาวจรโสภณสัมปยุตตจิต ๑๒ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐) จึงเป็นธรรมของพระอริยบุคคล
๒.๓ “สัมมาวาจา” ที่ตรงกับภาษาไทยว่า วาจาชอบ แต่ไม่ตรงกับภาษาธรรม ที่ต้องระลึกถึงพระพุทธพจน์ ที่เรียกว่า “สัมมาวาจาเจตสิก” ใน มหากุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๔๐ รวม ๔๘ จิต ที่เป็นธรรมของพระอริยบุคคล
๒.๔ “สัมมากัมมันตะ” ตรงกับภาษาไทยว่า การทำงานชอบ ซึ่งไม่ตรงกับภาษาธรรมที่ต้องระลึกถึงพระพุทธพจน์เป็นธรรมสำหรับบุคคลที่ได้ถึงพระอริยบุคคลแล้ว เพราะจะมี “สัมมากัมมันตเจตสิก” (พุทธพจน์) ในมหากุสลจิต ๘ และโลกุตรจิต ๔๐
๒.๕ “สัมมาอาชีวะ” ตรงกับภาษาไทยว่า การเลี้ยงชีพชอบ แต่ในความหมายของพระพุทธองค์ ต้องรู้เรื่องพุทธพจน์ที่เรียกว่า “สัมมาอาชีวเจตสิก” ในมหากุสลจิต ๘ และโลกุตตรจิต ๔๐ ซึ่งเป็นธรรมของพระอริยบุคคล
๒.๖ “สัมมาวายามะ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความเพียรชอบ แต่ไม่ตรงกับหลักธรรมคำสอน ต้องมีเหตุที่มาโดยเฉพาะ คือ “วิริยเจตสิก” ที่ประกอบด้วย “กุสล” ประการเดียว ประกอบด้วย กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ รวม ๙๑ จิต เป็นธรรมที่พระอริยบุคคลท่านได้ทำถึงแล้ว
๒.๗ “สัมมาสติ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความระลึกชอบ ซึ่งไม่ตรงกับหลักพุทธธรรมคำสอน เพราะผู้ที่ถึง “สัมมาสติ” ต้องเป็นการทำงานของ “สติเจตสิก” ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ รวม ๙๑ จิต เท่านั้น (บุคคลธรรมดาที่ไม่มีฌาน ไม่สามารถแยกกุสลออกจากอกุสลได้)
๒.๘ “สัมมาสมาธิ” ตรงกับภาษาไทยว่า การตั้งใจมั่นโดยชอบ ซึ่งไม่ตรงกับหลักพุทธรรมคำสอน ที่ต้องประกอบด้วย “เอกัคคตาเจตสิก” ซึ่งเป็นเจตสิกที่เข้าได้กับทั้งกุสลจิต และอกุสลจิต แต่เมื่อเป็น “สัมมาสมาธิ” แล้ว “เอกัคคตาเจตสิก” ต้องทำงานกับกุสลจิตฝ่ายเดียว ซึ่งไม่มีใครทำได้นอกจากพระอริยบุคคลเท่านั้น ที่ต้องทำงานโดยกุสลจิต ๙๑ ที่ประกอบด้วย กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ เท่านั้น
มัคค ๘ ข้างต้น เป็นธรรมของพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ ส่วนมัคคจิต ที่เหลืออีก ๔ เป็นต้นเหตุแห่ง “ทุคติ” คือรู้ผิด เข้าใจผิด กล่าวตู่คำสอนพระพุทธองค์ไม่ให้อ่านพระไตรปิฎก ตั้งกำมะถาน(ไม่ใช่กัมมัฏฐาน) เป็นดอกเห็ด เช่นในยุคปัจจุบัน เป็นทางนำไปสู่ ทุคติภูมิ เรียกว่า “มิจฉามัคค” ได้แก่
๒.๙ “มิจฉาทิฏฐิ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความเห็นผิด (ซึ่งไม่ตรงกับภาษาธรรม) ที่ได้แก่ ความรู้ผิด เข้าใจผิด คิดผิด ปฏิบัติผิด สอนผิด นอกพระธรรมคำสอน ดูเหมือนเข้าใจคำสอน เช่น ยกพระสูตรมาสอน อะไรที่เห้นด้วยก็บอกว่าใช่ อะไรไม่เห็นด้วยก็ปฏิเสธ อาทิ พระพุทธองค์ประสูติแล้ว ทรงพระดำเนินได้ ๗ ก้าวเลยไม่น่าเชื่อ, ยกพระสูตรเข้าข้างตนเอง เช่น เรื่องใบไม้ในกำมือ พระโปฐิละ, เชื่องมงาย เชื่อการสร้างโลก สร้างดวงอาทิตย์ สร้างมนุษย์ ดวงอาทิตย์ขึ้นเพราะมีผู้บันดาล, ยึดมั่นในเรื่องโลกๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีตัวทิฏฐิที่เรียกว่า “ทิฏฐิเจตสิก” เป็นตัวทำงานกับ “ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔” พาให้เกิดในอบายภูมิถึงอเวจีมหานรก
๒.๑๐ “มิจฉาสังกัปปะ” ตรงกับภาษาไทยว่า ดำริผิด ซึ่งไม่ตรงกับหลักธรรมที่หมายถึง เรื่องตรึกนึกคิด ทั้ง โลภะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ในจิต แล้วนำขึ้นมาคิดใหม่ ทำให้เกิดน้อยใจ เสียใจ ไม่พอใจ ทำให้คิดฟุ้งซ่าน แล้วออกทางกายกรรม วจีกรรม เช่น การพูดคุยทางโลกทุกเรื่อง การแสดงออกทางกายที่เป็นเรื่องทางโลกทุกชนิด ซึ่งมี “วิตกเจตสิก” ไปทำงานกับ “อกุสลจิต ๑๒” เป็นโทษที่บางทีก็ดีใจ บางทีก็เสียใจ บางทีโกรธ บางทีก็งมงาย บางทีก็เหมือนได้ฌาน ได้สมาธิ นิ่งสงบ
๒.๑๑ “มิจฉาวายามะ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความเพียรผิด ตามหลักธรรม ได้แก่ ขยันหมั่นพียร ที่ประกอบด้วย โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒ ที่เรียก กามสัญญา โคจรสัญญา มรณสัญญา ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีความเพียร แยกไม่ออกว่าเกิดเป็นคนแล้วต้องขยันทำมาหากิน ไม่ขี้เกียจ (แต่ต้องมี “ธรรมสัญญา” เป็นที่อาศัย) ที่รู้กันทั่วไปว่า “วิริยเจตสิก” เป็นตัวทำงาน ที่ประกอบกับ กาย วาจา ใจ เป็น อกุสล เป็นทางไปอบายภูมิ
๒.๑๒ “มิจฉาสมาธิ” ตรงกับภาษาไทยว่า ความตั้งมั่นที่ผิด โดยเข้าใจว่า การเล่นกีฬา ทำงาน เรียนหนังสือ ยิงนก ตกปลา มือปืนยิงคน เล่นกอล์ฟ ต้องมีสมาธิ ไปนั่งกำมะถานแล้วเกิดความสุข ความสงบ บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงชี้ว่า นี่คือการหลงทาง เพราะอาการที่เป็นเกิดจาก “เอกัคคตาเจตสิก” ซึ่งทำให้คนเข้าใจผิด เพราะอาจนั่งได้ ๒-๓ วัน เนื่องด้วยเจตสิกดวงนี้ ที่ไปทำงานกับ “อกุสลจิต ๑๑” (โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๑) จนนำมากล่าวกันเองว่าเป็นพระ “อรหันต์สุกขวิปัสสก” ไม่ต้องได้ฌาน ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติของ “เอกัคคตาเจตสิก” มี “อุปสม” ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเหมือนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และยังมีลักษณะเป็น “สุข” ที่เข้าใจว่าเป็น “สมาธิ” และหากทำ “วิปัสสนา” ก็จะกลายเป็น “สุกขวิปัสสก” หรือ “สุกขวิปัสสโก” แล้วสรุปเองว่า เป็นพระ “อรหันต์สุกขวิปัสสก” หรือ “สุกขวิปัสสโก” แล้วสรุปเองว่า เป็นพระ “อรหันต์สุกขวิปัสสก” ไม่ต้องได้ฌาน ซึ่งส่วนมากจะถูกหลอกกันตรงนี้ คือ “เอกัคคตาเจตสิก” ไปเข้ากับ โลภะ เพราะใน “โลภะ” มีทั้งโสมนัส และทิฏฐิคตสัมปยุต ถ้าเมื่อใด “เอกัคคตาเจตสิก” ไปเข้ากับ โทสะ ก็ทำให้เข้าใจผิดว่าต้องแผ่เมตตา
นั่นคือ ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น เป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉามัคค จนถึง มิจฉาวิมุตติ
๓. เอกัคคตาเจตสิกใน “อวิริยจิต ๑๖” ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธินทรีย์ และสมาธิพละ (สมาธิ = สมถะ = ฌาน) นั่นคือแสดงว่า อวิริยจิต ๑๖ อยู่ที่ อเหตุกจิต ๑๘ แต่มีวิริยะเจตสิกมาทำงานกับอเหตุกจิต ๒ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ จึงเหลือเป็น อวิริยจิต ๑๖ ฉะนั้นจิตที่เหลือจะเป็น อฌาน, ฌาน, โลกุตตร = ๑๒๑ – ๑๖ = ๑๐๕ จิต และเนื่องจาก “เอกัคคตาเจตสิก” ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิด “สมาธิ” เข้าได้กับจิตทั้ง ๑๒๑ จึงเข้าได้กับจิต ทั้ง ๑๐๕ นี้ แล้วสิ่งที่แม้เข้าได้อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถได้สมาธินทรีย์ และสมาธิพละก็จะถูกตัดไปเรื่อยๆ เช่น วิจิกิจฉา ไม่สามารถทำสมาธิได้ เป็นต้น (รายละเอียดจะอธิบายในโอกาสต่อไป)

๔ เอกัคคตาเจตสิก ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่ง มิจฉาสมาธิ มัคคังคะ สมาธินทรีย์และสมาธิพละ (รายละเอียดจะอธิบายในโอกาสต่อไป) นั่นคือ เมื่อใดมี “วิจิกิจฉา” ฌานก็ไม่ได้ อฌานก็ไม่ได้ คือ แม้แต่มิจฉาก็ไม่ได้ และไม่ได้จนถึง มิจฉาวิมุตติ และมิจฉาวิมุตติญาณทัสสนะด้วย ฉะนั้น ถ้าคิดเอาเอง แบบคนไม่รู้ตามคำสอนพระพุทธองค์ ตัวอวิชชาที่เราเคยเป็นไปอย่างไร ก็เข้ามาทำงาน ฌานังคะ ย่อมาจาก ฌาน + อังคะ (หรือ องค์)

“ฌาน” เป็นชื่อของจิตชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และโลกุตตรจิต แยกออกเป็น รูปาวจรฌานจิต ๑๕ อรูปาวจรฌานจิต ๑๒ โลกุตตรฌานจิต ๔๐ รวม ฌานจิต ๖๗

จะเห็นว่าในจิต ๑๒๑ ของพระพุทธองค์ไม่มีคำ “สมาธิ” เลย แต่คำ “สมาธิ” อยู่ในพระสูตร หรือพระสุตตันตปิฎก นั่นคือ “สมาธิ” เป็นผลที่ได้
เมื่อเป็นปรมัตถธรรม สมาธิ ก็มาจาก “ฌานจิต ๒๗” (ได้แก่ รูปฌานจิต ๑๕ อรูปฌานจิต ๑๒) และ “โลกุตตรจิต ๔๐” ได้แก่ โลกุตตรฌานจิต ๔๐”
ฉะนั้นผู้ที่สอนสมาธิ ต้องได้อย่างน้อย ปฐมฌาน และเนื่องจากต้องอยู่ใน โลกุตตรจิต ๔๐ ด้วย ดังนั้นต้องเป็นปฐมฌานที่เป็นพระโสดาบันด้วย เป็นอย่างน้อย
ถ้าเราสอนเรื่องสมาธิอย่างน้อยในตัวเราต้องมี ฌาน โลกุตตร ถ้าผู้สอนไม่มีอะไรข้างต้นเลย ก็เท่ากับสอนด้วย “ทิฏฐิ” ของตนเอง คือ “ทิฏฐิ” ไปจับ “สมาธิ” ก็คือ “มิจฉาสมาธิ”

ในคำสอนของพระพุทธองค์ “ทำสมาธิ” ก็แสดงว่า

เมื่อได้ปฐมฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้ทุติยฌาน

เมื่อได้ทุติยฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้ตติยฌาน

เมื่อได้ตติยฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้จตุตถฌาน

เมื่อได้จตุตถฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้ปัญจมฌาน

เมื่อได้ปัญจมฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้อากาสานัญจายตนอรูปฌาน

เมื่อได้อากาสานัญจายตนอรูปฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้วิญญานัญจายตนอรูปฌาน

เมื่อได้วิญญานัญจายตนอรูปฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้ได้อากิญจัญญายตนอรูปฌาน

เมื่อได้อากิญจัญญายตนอรูปฌานอยู่แล้วก็ทำกัมมัฏฐานต่อเพื่อให้เนวสัญญานาสัญญายตนอรูปฌาน

พระพุทธองค์ให้ไปทำต่อ ไม่ใช่ให้มาเริ่มต้น “เพ่ง” อย่างที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้

นั่นคือ

ถ้าได้ พระโสตาปัตติมัคค ในปฐมฌานก็ทำต่อให้ได้ พระโสตาปัตติผล ในปฐมฌาน

ถ้าได้ พระสกทาคามิมัคค ในปฐมฌานก็ทำต่อให้ได้ พระสกทาคามิผล ในปฐมฌาน

ถ้าได้ พระอนาคามัคค ในปฐมฌานก็ทำต่อให้ได้ พระอนาคามิผล ในปฐมฌาน
ถ้าได้ พระอรหัตตมัคค ในปฐมฌานก็ทำต่อให้ได้ พระอรหัตตผล ในปฐมฌาน

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาษาโลก ภาษาธรรม ตัวอย่าง “อารมณ์”

ตัวอย่าง “ภาษาโลก ภาษาธรรม” พอสังเขปเพื่อประกอบความเข้าใจ

“อารมณ์”
ภาษาโลก = ภาษาบัญญัติ = ภาษาปุถุชน
(อปายภูมิ)

“อารมณ์” แปลว่า สิ่งที่เข้ามากระทบเช่น วันนี้อารมณ์ดี วันนี้อารมณ์ไม่ดี วันนี้อารมณ์หงุดหงิด วันนี้อารมณ์ไม่ค่อยพอใจ

ภาษาธรรม = พุทธพจน์
(เป็นผลให้ “ผู้รู้ตาม” บรรลุพระอรหันต์ได้)

“อารมณ์” (หรือ อารมณ หรือ อาลัมพน) อารมณ์ มี ๖ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์

อารมณ์ทำงานร่วมกับ จิต เจตสิก ฉะนั้นสิ่งทั้งหมด ทั้งที่เห็นด้วยตา และไม่เห็นด้วยตา เรียกว่า “อารมณ์” ทั้งสิ้น เช่น

เนื่องจากปากกาเป็นรูป เมื่อเรียกปากกา แม้เราไม่เห็นก็เป็น รูป + อารมณ์ = รูปารมณ์ นั่นคือ ปากกา ก็คือ รูปารมณ์ (เพราะ ปากกา เป็นรูป) เมื่อเอาชื่อของรูปนั้น (= ปากกา) ไปแทน “อารมณ์” ก็คือ ปากกา
อากาศ ก็คือ รูปารมณ์ (เพราะอากาศเป็นรูป) เมื่อเอาชื่อของรูปนั้น (= อากาศ) ไปแทน “อารมณ์” ก็คือ อากาศ

ผม ก็คือ รูปารมณ์ (เพราะ ผมเป็นรูป) เมื่อเอาชื่อของรูปนั้น (= ผม) ไปแทน “อารมณ์” ก็คือ ผม เป็นต้น
เช่นเดียวกัน “สัททารมณ์” เสียงใดใดก็ตาม ก็คือ สัททารมณ์ ฉะนั้น สัททารมณ์ ก็คือ เสียงม้า เสียงช้าง เสียงนก ฯลฯ

ถ้าเป็นการกระทบที่จิต เรียก “ธัมมารมณ์” ประกอบด้วย จิต ๑๒๑ เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุทรูป ๑๙ บัญญัติ ๑ นิพพาน ๑

ฉะนั้น ใครมาสอบอารมณ์ อารมณ์นั้นก็คือ “ธัมมารมณ์” นั่นเอง แสดงว่า ผู้นั้นรู้ทุกอารมณ์หมดแล้วในทั้งจิต ๑๒๑ คือรู้ อกุสลอารมณ์ ๑๒ อเหตุกอารมณ์ ๑๘ มหากุสลอารมณ์ ๘ มหาวิปากอารมณ์ ๘ มหากิริยาอารมณ์ ๘ รูปาวจรมหากุสลอารมณ์ ๕ รูปาวจรมหาวิปากอารมณ์ ๕ รูปาวจรมหากิริยาอารมณ์ ๕ อรูปาวจรมหากุสลอารมณ์ ๔ อรูปาวจรมหาวิปากอารมณ์ ๔ อรูปาวจรมหากิริยาอารมณ์ ๔ โลกุตรอารมณ์ ๔๐ แสดงว่าสอบอารมณ์ถึงพระอรหันต์ ถึงนิพพาน แสดงว่า ผู้สอบอารมณ์เป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นต้น
นอกจากธัมมารมณ์ที่กล่าวมาแล้วยังมี ปัญจารมณ์อีก ๕ เป็นต้น นั่นคือ อารมณ์ในภาษาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีอีกมากมาย แต่ที่นี้ยกมาพอเป็นตัวอย่างว่าไม่ใช่อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เอา “อารมณ์ในภาษาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” มาใช้เป็น “อารมณ์ในภาษาของปุถุชน” เราไปปฏิบัติด้วยเราก็กลายเป็น “ปุถุชน” เราก็เลยโชคร้าย

นั่นคือเราจะต้องสิกขาธรรมเพื่อพัฒนาจิตของเราต่อไป อารมณ์ที่เราสิกขา เช่น อารมณ์ ๖ ตามพุทธธรรมคำสอน ก็จะเข้าไปในจิตของเรา พระพุทธองค์ก็จะทรงสอนไปเรื่อยๆ ก็จะพัฒนาจิตของเราไปเรื่อยๆ (ถ้ารู้ถูกเข้าใจถูก)

ที่เรากำลังสิกขานี้ ต้องสิกขสถึง “อารมณ์” ที่เราเข้าใจ ซึ่งเป็น “อารมณ์ในภาษาปุถุชน” ทำอย่างไรจึงจะให้เป็น “อารมณ์ในภาษาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” เหมือนเดิม นั่นคืออารมณ์ที่เราเข้าใจผิดตามภาษาปุถุชนต้องนำกลับไปสู่ความเข้าใจถูกในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไป

ภาษาโลก ภาษาธรรม ตัวอย่าง “สติ”

ตัวอย่าง “ภาษาโลก ภาษาธรรม” พอสังเขปเพื่อประกอบความเข้าใจ

“สติ”
ภาษาโลก = ภาษาบัญญัติ = ภาษาปุถุชน
(อปายภูมิ)

“สติ” แปลว่า ระลึก, ระลึกได้, ระลึกชอบ แม้ในพจนานุกรมฉบับพุทธศาสน์ ก็แปลทำนองนี้ ดังนั้น ถ้ารู้เพียงคำแปลก็อยู่ได้แค่ “ปุถุชน” เช่น เรียนหนังสือต้องมี“สติ” นั่งต้องมี“สติ” เดินต้องมี“สติ” กินต้องมี“สติ” เล่นกีฬาต้องมี“สติ” เล่นไพ่ต้องมี“สติ” เป็นต้น

ภาษาธรรม = พุทธพจน์
(เป็นผลให้ “ผู้รู้ตาม” บรรลุพระอรหันต์ได้)

“สติ” เป็น เจตสิก (เจตสิก มี ๕๒ ประกอบด้วย อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุสลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕)
โสภณเจตสิก ๒๕ ทำงานร่วมกับจิตที่เป็นกุสลอย่างเดียว (ไม่สามารถทำงานร่วมกับ อกุสลจิตได้) ประกอบด้วย โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ วิรตีเจตสิก ๓ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ปัญญินทรียเจตสิก ๑

“สติ” เป็นเจตสิก อยู่ในลำดับที่ ๒ ของโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ซึ่งประกอบด้วย (สัทธาเจตสิก สติเจตสิก หิริเจตสิก โอตตัปปเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ตัตตรมัชฌัตตาเจตสิก กายปัสสัทธิเจตสิก จิตตปัสสัทธิเจตสิก กายลหุตาเจตสิก จิตตลหุตาเจตสิก กายมุทุตาเจตสิก จิตตมุทุตาเจตสิก กายกัมมัญญตาเจตสิก จิตตกัมมัญญตาเจตสิก กายปาคุญญตาเจตสิก จิตตปาคุญญตาเจตสิก กายุชุกตาเจตสิก จิตตุชุกตาเจตสิก)
“สติเจตสิก” เข้าได้กับกุสลจิต ๙๑ ได้แก่ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจึงไปดูความหมายของ “สติเจตสิก” ว่า “สติ” ภาษาโลก หรือภาษาปุถุชน แปลว่าอะไร แล้วจากนี้ไม่ต้องแปลแล้ว คือแปลเพื่อมาเป็นบรรทัดฐานที่เป็นภาษาไทย เพื่อกลับไปสู่ภาษาที่ใช้มาก่อน จากนั้นจึง “ดึงภาษาที่ใช้มาก่อนไปเป็นภาษาธรรม”

จะเห็นว่า “สติเป็นภาษาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” เข้าได้กับมหากุสล ฌาน จนถึงพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ เท่านั้น

ดังนั้น ถ้าเอามาใช้ว่า “เดินต้องมีสติ” แล้วบอกว่านี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า นั่นคือบอกว่า “สติ” นั้นเป็น “สติในภาษาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” แสดงว่า

๑. ผู้เดินต้องอยู่ในมหากุสลจิตอย่างเดียวแล้ว ไม่มีการฟุ้งซ่าน เพราะฟุ้งซ่าน คือ อุทธัจจเจตสิก ทำงาน ซึ่งอุทธัจจเจตสิก จะทำงานกับ อกุสลจิต เท่านั้น (เข้ากับมหากุสลจิตไม่ได้) ถ้าผู้สอนเป็นพระภิกษุก็เป็นการเริ่มอวดอุตตริมนุสสธัมม

๒. ผู้เดินต้องได้อย่างน้อยปฐมฌานแล้ว

๓. ผู้เดินนั้นได้อรูปฌานแล้ว

๔. ผู้เดินนั้นบรรลุเป็นพระอริยบุคคลแล้ว

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาษาโลก/ ภาษาธรรม


การใช้ภาษาโลก(ภาษาสื่อสาร)ในการแปลข้อธัมมทำให้ไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนา

การใช้ภาษาธัมม(พระพุทธพจน์)ในการทำความเข้าใจในพระพุทธศาสนา และอธิบายความรู้ทางโลก เพื่อไปสู่มัคค ผล นิพพาน

ในการสิกขาในพระพุทธศาสนา ต้องอาศัยความอดทน ไม่เฉพาะชาตินี้ แต่ต้องทนไปตลอด ไม่เหมือนการเรียนทางโลก ไม่กี่ปีก็จบ มีอาชีพการงาน แต่การสิกขาพระพุทธศาสนา อาจต้องใช้เวลาแสนล้านชาติจึงจะบรรลุธรรม เนื่องจากการจะรู้เรื่องพระพุทธศาสนาทำได้ยากเพราะปัจจุบันนี้มีสิ่งชวนเชื่อมากมาย ซึ่งเป็นอันตรายกับเราท่านอย่างยิ่ง ทำให้เราไม่สามารถจะเข้าใจหลักพระพุทธศาสนาได้ โดยเฉพาะต้องรู้จัก “ภาษาโลก ภาษาธรรม” เนื่องจากนำมาใช้จนใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะคนไทย โชคร้ายที่บังเอิญภาษาโลกหลายคำที่นำมาใช้ เป็นคำที่ใช้อยู่ในพระไตรปิฎก ดังนั้น การสิกขาพระพุทธศาสนาต้องคำนึงถึง “ภาษาโลก และภาษาธรรม” ดังต่อไปนี้ อยู่ตลอดเวลา

ภาษาโลก = ภาษาบัญญัติ = ภาษาปุถุชน
(อปายภูมิ)

ภาษาโลก หรือ ภาษาบัญญัติ หรือ ภาษาปุถุชน คือภาษาที่ใช้กันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ แม้ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านก็ใช้ภาษาโลก หรือภาษาปุถุชน

ทุกภาษาในโลก รวมทั้งภาษามคธ ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาปุถุชนทั้งสิ้น เป็นภาษาที่ใช้เป็นความเข้าใจเฉพาะปุถุชน ไม่สามารถนำไปสู่ความลุ่มลึกได้ ทุกภาษาถ้าเป็นเพียง “บัญญัติ” ไม่พาไปอปายภูมิ แต่เนื่องจากใน “บัญญัติ” มี “ปรมัตถ” อยู่ด้วย เช่น เมื่อได้ยินเสียงด่าเรา เสียงที่ได้ยินเป็น “สัทท” และ “อัตถ” ที่เป็น “ปรมัตถ” อยู่ด้วย เราจึงโกรธ โดยแสดงออกทางจิต แล้วออกมาทางกาย จึงพาไป อปายภูมินั่นคือ ถ้าเกิดกระบวนการทำงานของ (อกุสล)จิต (อกุสล)เจตสิก รูป ขึ้นมาเมื่อใด เมื่อนั้นจึงพาไป อปายภูมิ

เมื่อเราได้ยินเสียงเรียกชื่อ “ดอกมะลิ” ไม่เป็นกุสล ไม่เป็น อกุสล แต่ตัวของเขาที่อยู่ที่เราเป็นดอกมะลิ เป็น “อัตถ” ที่เป็น “ปรมัตถ” หรือเมื่อได้ยินเรียกว่า “ปากกา” เสียงที่ได้ยิน ก็ไม่เป็นกุสล ไม่เป็นอกุสล แต่ตัวของเขาที่เป็นปากกา เป็น “อัตถ” ที่เป็น “ปรมัตถ” เป็นต้น

“ภาษาคน” ก็คือ ภาษาที่ใช้ใน ๒๖ ภูมิ (เว้น อสัญญสัตตาพรหม ๑ และอรูปพรหม ๔) ก็คือ “ภาษาปุถุชน” เพราะคนมาจาก บุคคล บุคคล มาจาก สัตต (=สัตว) จะเห็นว่า วัวชนิดเดียวกัน ในประเทศใดใด ก็มีเสียงร้องเหมือนกัน เพราะเป็นวัวชนิดเดียวกัน และนั่นเป็นภาษาของเขา จิ้งหรีดชนิดเดียวกัน ในประเทศใดใด ก็ร้องเสียงเหมือนกันเพราะเป็นจิ้งหรีดชนิดเดียวกัน และนั่นเป็นภาษาของเขา เป็นต้น

ภาษาธรรม = พุทธพจน์
(เป็นผลให้ “ผู้รู้ตาม” บรรลุพระอรหันต์ได้)

ภาษาธรรม หรือ พุทธพจน์ คือ ภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงดำรัส ทรงตรัส หรือทรงเทสนา นับตั้งแต่ ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นธรรมกัณฑ์แรก และเป็นธรรมที่จะทำให้เป็นพระอรหันต์
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ได้ทรงยืมภาษาโลกที่เป็นภาษาปุถุชน ที่ใช้อยู่ในยุคนั้นนำมาใช้ในพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ฉะนั้น ปุถุชน จะตามพระพุทธองค์ได้ ต้องตามตั้งแต่หลักธรรมบัญญัติ โดยตามตั้งแต่ภาษาธรรม นั่นคือ ไม่ใช่หน้าที่เรา แต่เป็นเรื่องของพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เข้าไปในจิตเราเท่านั้น จึงจะพัฒนาจิตเราไปตามหลักธรรมคำสอนได้

ปัจจุบันเราถูกปกปิดหลักธรรมคำสอน โดยกลุ่มที่นำภาษาพุทธพจน์มาเป็นภาษาโลก เราจึงหาทางบรรลุหลุดพ้นไม่ได้ จะเห็นว่าถ้าเราไม่สามารถแยกภาษาโลก ภาษาธรรมได้ การสิกขาพระพุทธศาสนาก็คือความล้มเหลว และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาจิตของเราไม่ก้าวหน้า

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ว่าจะตั้งหัวข้อหนึ่งหัวข้อใดขึ้นมา ต้องเข้าใจว่าในปัจจุบันได้มีการนำหลักพระพุทธศาสนา หรือนำคำสอนของพระพุทธศาสนามาบางส่วน แล้วใส่ความคิดของตนเองเข้าไปแทนฉะนั้นเราจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เช่น จากการอ่านหนังสือก็ดี เราจะต้องทำความเข้าใจ ต้องตรึกให้คัมภีระลึกซึ้งอย่างไรจึงจะเข้าสู่ภาษาธรรม(พุทธพจน์) ได้

ตัวอย่างภาษาโลก ภาษาธรรมเบื้องต้น
        - สติ
        - สมาธิ
        - อารมณ์

บทความที่เกี่ยวข้อง
        - ภาษาที่ใช้ในการสิกขาธรรม

"แม้ ธรรมบทใดๆก็ตามหากยึดคำแปลอยู่เช่นนั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ลงนรกขุม ๗ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ต้องศึกษาให้ลุ่มลึกตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป เรื่อยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล หากการขยายข้อธรรมใดขัดแย้งต่อ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ให้ยึด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นหลักเท่านั้น"

แผนภูมิการตรัสรู้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

ปุถุชนคนธรรมดาจะสร้างบุญกุสล ให้ “ได้บุญกุสล”จริงๆ นั้นจะต้องมาจากการทำมหากุสลที่เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ” หรือ ๓๐ ประการ เมื่อการกระทำนั้นเป็นไปครบถ้วนทั้งกายกัมม วจีกัมม และมโนกัมม บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ได้แก่

๑. ทานมัย ได้บุญกุสลด้วยการบริจาคทานที่ถูกต้องตามพระธัมมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

๒. สีลมัย ได้บุญกุสลด้วยการรู้จักและปฏิบัติในสีลตามพระธัมมวินัย ๒๑,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

๓. ภาวนามัย ได้บุญกุสลด้วยการนำพระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธัมมขันธ์ และพระสูตรต่างๆ มาเจริญธัมมภาวนา

๔. อปจายนมัย ได้บุญกุสลด้วยการที่จิตอ่อนน้อม เพื่อปฏิบัติตามคำสอนในพระวินัย ๒๑,๐๐๐ พระธัมมขันธ์ และตามพระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

๕. เวยยาวัจจมัย ได้บุญกุสลด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูล อนุเคราะห์ สร้างคุณประโยชน์ตามพระวินัย ๒๑,๐๐๐ พระธัมมขันธ์ และพระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

๖. ปัตติทานมัย ได้บุญกุสลด้วยการบำเพ็ญกุสลตามพระธัมมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์ อยู่เนืองๆ และแจ้งบุญกุสลให้ทราบโดยทั่วไปเพื่อให้ผู้มีจิตกุสลมาร่วมทำบุญ

๗. ปัตตานุโมทนามัย ได้บุญกุสลด้วยการรู้จักอนุโมทนาการทำบุญกุสล ของผู้อื่นปลื้มปิติยินดีในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ตามพระธัมมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

๘. ธัมมัสสวนมัย ได้บุญกุสลด้วยการไม่ว่างเว้นการฟังธัมม การสนทนาธัมมการเจริญธัมมตามพระธัมมวินัย๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

๙. ธัมมเทสนามัย ได้บุญกุสลด้วยการสิกขาธัมมตามพระธัมมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์ อย่างต่อเนื่องไม่เสื่อมคลาย

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ได้บุญกุสลด้วยการสิกขาและปฏิบัติธัมมให้ตรงตามหลักธัมมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทเจ้าอย่างละเอียดลุ่มลึก สุขุมคัมภีรภาพ ในพระธัมมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์ รู้จักว่าอะไรเป็นภาษาโลก(ภาษาปุถุชน) อะไรเป็นภาษาธัมม (ภาษาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) อะไรทำแล้วได้บุญกุสลอะไรทำแล้วเป็นบาปเป็นกุสล ไม่ควรทำ เป็นต้น

ข้อ ๔- ๕ จัดอยู่ใน บุญกิริยาวัตถุ ประเภท สีล
ข้อ ๖ – ๗ จัดอยู่ใน บุญกิริยาวัตถุ ประเภท ทาน
ข้อ ๘ – ๙ จัดอยู่ใน บุญกิริยาวัตถุ ประเภท ภาวนา
ข้อ ๑๐ จัดอยู่ใน บุญกิริยาวัตถุ ประเภท ทาน สีล ภาวนา (กายกัมม ๑๐ วจีกัมม ๑๐ มโนกัมม ๑๐ รวมเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓๐ ประการ)

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หน้าที่พุทธบริษัท ๔

พระยาปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราช ทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จพระปรินิพพาน ครั้งเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาลนิโครธ ในสัปดาห์ที่ ๕ หลังตรัสรู้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า “ดูก่อนมารผู้มีบาป บริษัททั้ง ๔ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) ผู้เป็นสาวกของตถาคต จักยังไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนำ ยังไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน จักบอก จักแสดงธรรม มีปาติหาริย์ (คำสอนที่เห็นผลได้จริง) ข่มขี่ปรับปวาท (คำโต้แย้งของลัทธิอื่น) ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรม (ความเห็นตรงกัน) ไม่ได้ เพียงใด ดูก่อนมารผู้มีบาป ตถาคตจักยัง ไม่ปรินิพพานเพียงนั้น”
พระพุทธองค์ทรงประกาศให้ทราบว่า ในพระพุทธศาสนาต้องประกอบไปด้วยพุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกขุบริษัท ภิกขุณีบริษัท อุบาสกบริษัท และอุบาสิกาบริษัท จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดมิได้
หน้าที่พุทธบริษัท ๔ พึงกระทำคือ
๑. พุทธบริษัท ๔ ต้องเป็นผู้รู้ เข้าใจ และสามารถปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง ตามพระพุทธธรรมคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (พระพุทธพจน์, พระไตรปิฎก)
๒. พุทธบริษัท ๔ ต้องสามารถ แนะนำ สั่งสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย
๓. เมื่อมีผู้กล่าว ติเตียน จ้วงจาบ แสดงคำสอน ผิด พลาด พุทธบริษัท ๔ ต้องสามารถ ชี้แจง แก้ไข ให้ถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

พระพุทธดำรัส

พระภิกขุทั้งหลาย มหาสมุทรย่อมลึกลงไปตามลำดับ ลาดลงตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนภูเขาขาดฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีการศึกษาตามลำดับ การปฏิบัติตามลำดับ การบรรลุธรรมตามลำดับ ลุ่มลึกลงตามลำดับ