พระพุทธรำพึง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงพุทธรำพึง ว่า “ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่ง ตรรก คือคิดเอาเองไม่ได้ หรือ ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้



อนึ่งเล่า สัตว์ทั้งหลายส่วนมาก ยินดีในความอาลัย คือ กามคุณ สัตว์ผู้เห็นปานนั้น ยากนักที่จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท และ พระนิพพาน ซึ่งมีสภาพ บอกคืนกิเลสทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรม หรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้ว คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่าเลย อย่าประกาศธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้ อันบุคคล ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดี พอใจให้กิเลสย้อมจิต ถูกความมืด คือกิเลสหุ้มห่อแล้ว จะไม่สามารถเห็นได้ ซึ่งธรรมที่ทวนกระแสจิต อันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้”



วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

รูป ๒๘: มหาภูตรูป ๔

รูป ๒๘ ประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔

มหาภูตรูป ๔ ประกอบด้วย ปฐวีมหาภูตรูป ๒๐ อาโปมหาภูตรูป ๑๒ เตโชมหาภูตรูป ๔ วาโยมหาภูตรูป ๖

ปฐวีมหาภูตรูป ๒๐
๑. เกสา
๒. โลมา
๓. นะขา
๔. ทันตา
๕. ตะโจ
๖. มังสัง
๗. นะหารู
๘. อัฏฐิ
๙. อัฏฐิมิญชัง
๑๐. วักกัง
๑๑. หะทะยัง
๑๒. ยะกะนัง
๑๓. กิโลมะกัง
๑๔. ปิหะกัง
๑๕. ปับผาสัง
๑๖. อันตัง
๑๗. อันตะคุนัง
๑๘. อุทะริยัง
๑๙. กะรีสัง
๒๐. มัตถะเกมัตถะลุงคัง

อาโปมหาภูตรูป ๑๒
๑. ปิตตัง
๒. เสมหัง
๓. ปุพโพ
๔. โลหิตตัง
๕. เสโท
๖. เมโท
๗. อัสสุ
๘. วะสา
๙. เขโฬ
๑๐. สิงฆาณิกา
๑๑. ละสิกา
๑๒. มุตตัง

เตโชมหาภูตรูป ๔
๑. สันดับอัคคิ
๒. ชะระอัคคิ
๓. ปะระทัยอัคคิ
๔. ปะรินาอัคคิ

วาโยมหาภูตรูป ๖
๑. อุทธังคะมาวาตา
๒. อะโธคะมาวาตา
๓. กุจฉิสะยาวาตา
๔. โกฏฐาสะยาวาตา
๕. อังคะมังคานุสาริโนวาตา
๖. อัสสาสะ ปัสสาโสวาตา